-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ซุนวู บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์  (อ่าน 536 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mormor1973

  • บุคคลทั่วไป
ซุนวู บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์
« เมื่อ: 15 ตุลาคม 2008, 11:26:05 »

บรรพที่ ๗  การดำเนินกลยุทธ์

ซุนจู้กล่าวว่า?
      ไม่มีอะไรยากไปกว่า ศิลปะในการดำเนินกลยุทธ์ ความยากลำบากของการดำเนินกลยุทธ์อยู่ที่การทำให้เส้นทางคดเคี้ยวเลี้ยวลด กลายเป็นทางตรงที่สุด  กลับโชคร้ายให้กลายเป็นความได้เปรียบ
      ด้วยเหตุนี้ จงเดินทัพโดยทางอ้อม แล้วเปลี่ยนทิศทางของข้าศึกด้วยการวางเหยื่อล่อให้ข้าศึกเกิดความสนใจ ด้วยวิธีดังกล่าว ท่านอาจเคลื่อนขบวนข้าศึกทีหลัง แต่ถึงที่หมายก่อนข้าศึก
     ผู้ที่สามารถปฏิบัติเช่นนี้ได้ ย่อมเข้าใจ "ยุทธวิธีแบบทางตรง และทางอ้อม"
 ทั้งความได้เปรียบ และอันตราย เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้กลยุทธ์
     ผู้ที่เคลื่อนทัพขบวน เพื่อหาความได้เปรียบ จะไม่มีวันรับความได้เปรียบ
     ถ้าเขาทิ้งค่าย เพื่อแสวงหาความได้เปรียบ  สัมภาระจะเกิดความเสียหาย
     สิ่งที่ตามมา คือ เมื่อเก็บเกราะ แล้วเดินทางด้วยความรีบเร่งเกินไป  ผลที่ตามมา กองทัพจะขาดอาวุธยุทโธปกรณ์หนัก เสบียงอาหาร และสัมภาระอื่นๆจะสูญเสีย
     ผู้ที่ไม่รู้จักสภาพป่า ที่รกอันเต็มไปด้วยอันตราย พื้นที่ชื้นแฉะ และพื้นที่ของป่าชายเลน จะไม่สามารถนำทัพเดินทางได้
     ผู้ที่ไม่รู้จักมัคคุเทศก์พื้นเมือง จะไม่อาจแสวงหาความได้เปรียบได้จากพื้นที่
รากฐานของการทำสงคราม คือ กลอุบาย
 เคลื่อนที่เมื่อมีทางได้เปรียบ  แล้วสร้างสถานการณ์ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยแยกกำลัง และรวมกำลัง
 เมื่อลงมือเข้าตี ต้องรวดเร็วราวลมพัด      เมื่อเดินทัพ ให้มีความสง่าดังป่าไม้
 เมื่อบุกทะลวง ก็ให้เหมือนดังไฟไหม้        เมื่อหยุดยืน ก็ให้มั่นคงดังขุนเขา
มิให้ผู้ใดหยั่งเชิงได้ดั่งเมฆ
เมื่อเคลื่อนที่ ก็รวดเร็วดังสายฟ้าฟาด    เมื่อรุกเข้าไปในชนบท แบ่งกำลังออก เมื่อยึดดินแดนได้ให้แบ่งปันผลกำไร
ชั่งน้ำหนักของสถานการณ์เสียก่อน แล้วจึงเคลื่อนทัพ
กองทัพอาจถูกทำให้เสียขวัญได้ และแม่ทัพก็อาจหมดมานะได้
    เมื่อทำศึกเป็นเวลานาน เปรียบเทียบได้ว่า เช้าตรู่ จิตใจทหารแจ่มใส     ระหว่างเวลากลางวัน ทหารเกิดความอิดโรย พอตกเย็นก็คิดถึงบ้าน
    ด้วยเหตุนี้ ผู้ชำนาญการศึก จึงหลีกเลี่ยงข้าศึกเมื่อเวลาที่ข้าศึกมีจิตใจฮึกเหิม เข้าตีเมื่อเวลาที่ข้าศึกอิดโรย ทหารพากัน คิดถึงบ้าน นี่คือ เรื่องของการควบคุมภาวะของอารมณ์ เมื่อกองทัพที่อยู่ในระเบียบ ตั้งคอยตีทัพข้าศึกที่ขาดระเบียบ ในความสงบเงียบนั้น คือจิตใจที่กระหายจะสู้รบ นี่คือ การควบคุมภาวะจิตใจ


ศิลปะของการใช้กำลังทหาร
อยู่ที่ ไม่เผชิญหน้ากับข้าศึกที่อยู่บนที่ดอนและเมื่อข้าศึกยึดได้เนินเขา ยันด้านหลังของกองทัพอยู่ ก็อย่าเข้าทำการรบด้วย   เมื่อข้าศึกแสร้งทำแตกหนี อย่าติดตาม อย่าเข้าตีกองทหารทะลวงฟันของข้าศึก  อย่ากลืนเหยื่อที่ข้าศึกเสนอให้   อย่าขัดขวางข้าศึกที่กำลังเดินทางกลับบ้านเมือง เมื่อล้อมข้าศึกไว้ได้ ท่านจงเปิดทางหนี (ให้ข้าศึก) ไว้ อย่ารังแกข้าศึกจนมุม
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

pass07

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2008, 11:48:24 »

 hgjhg  เยี่ยม ครับ  เก็บ เป้น ความรู้

3p

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2008, 17:03:09 »

อุ ๆ เก็บอีกบรรพ   ;khhg

cmman573

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2008, 01:35:55 »

ตำรา การปิดล้อมข้าศึกนี่ได้ข้อคิดดีเจงๆๆ

Sylar

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๗ การดำเนินกลยุทธ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2008, 01:36:10 »

สร้างสรรค์ครับ เยี่ยม