-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ซุนวู บรรพที่ ๑๑ พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง  (อ่าน 589 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mormor1973

  • บุคคลทั่วไป

บรรพที่ ๑๑  พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง

ซุนจู้กล่าวว่า....
    ในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ขบวนศึกนั้น ให้พิจารณาแบ่งลักษณะของพื้นที่ออกต่างๆกันดังนี้:- กระจัดกระจาย, หน้าด่าน, กุญแจ, คมนาคม, ใจกลาง, เคร่งเครียด, ยากลำบาก, ปิดล้อม และ ตาย
    - เมื่อเจ้านครต้องทำศึกในเขตแคว้นของตนเอง เขาอยู่ใน "พื้นที่กระจัดกระจาย" (ทหารอยากกลับบ้าน)
    - เมื่อแม่ทัพนำทัพแทรกเป็นแนวแคบเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เขาอยู่ใน "พื้นที่หน้าด่าน"
    - พื้นที่ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีความได้เปรียบ ถือเป็น "พื้นที่กุญแจ" (พื้นที่มีความสำคัญทางยุทธ์ศาสตร์)
    - พื้นที่ซึ่งออกไปได้ทั้งทัพของข้าศึก และของข้าพเจ้า ถือเป็น "พื้นที่คมนาคม" (ใครจะไปมาก็ได้)
    - เมืองใดก็ตาม ถูกล้อมอยู่ด้วยเมืองอื่นๆอีกสามเมือง เมืองเช่นนี้ถือเป็น "พื้นที่ใจกลาง" ผู้ที่เข้าควบคุมได้ก่อน จะได้รับความสนับสนุนจากทุกอย่างที่อยู่ใต้ฟ้า (อาณาจักร)
    - เมื่อกองทัพเจาะลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก ทิ้งเมืองเล็กเมืองน้อยไว้เบื้องหลังหลายเมือง พื้นที่เจาะลึกเข้าไปถือเป็น "พื้นที่เคร่งเครียด"  พื้นที่เช่นนี้ยากจะถอนตัวกลับ
    - เมื่อกองทัพเดินทางข้ามเขา ผ่านป่า พื้นที่สูงชัน หรือเดินทางผ่านที่รกชัฏ ที่เปียกชื้น หนองน้ำ หรือ พื้นที่ใดก็ตามผ่านได้ด้วยความยากลำบาก ถือเป็น "พื้นที่ยากลำบาก"
    - พื้นที่ใดทางเข้าจำกัด ทางออกก็ยาก และกองทหารขนาดเล็กของข้าศึกสามารถเข้าตีกำลังขนาดใหญ่กว่าได้ เช่นนี้ถือเป็น "พื้นที่ปิดล้อม"  (ง่ายต่อการซุ่มโจมตี ผู้ตกอยู่ในพื้นที่เช่นนี้อาจพ่ายแพ้ยับเยินได้)
    - พื้นที่ซึ่งกองทัพจะเอาตัวรอดได้ทางเดียว คือต้องต่อสู้ด้วยความมานะและสุดกำลัง เช่นนี้ถือเป็น "พื้นที่ตาย"
    ฉะนั้น จงอย่าทำการสู้รบใน "พื้นที่กระจัดกระจาย"    อย่าหยุดยิง ณ "พื้นที่หน้าด่าน"ชายแดน
    อย่าโจมตีข้าศึกผู้ยึดครอง "พื้นที่กุญแจ"        ใน "พื้นที่คมนาคม" อย่าให้ขบวนทัพของท่านแตกแยกกัน
    ใน "พื้นที่ใจกลาง" ผูกมิตรกับเมืองข้างเคียง        ใน "พื้นที่ลึก" ต้องหักหาญ
    ใน "พื้นที่ยากลำบาก" ต้องบากบั่น        ใน "พื้นที่ปิดล้อม" ให้คิดหายุทธวิธี        ใน "พื้นที่ตาย" ให้สู้
    ใน "พื้นที่กระจัดกระจาย"  ข้าพเจ้าจะรวบรวมความตั้งใจมั่นของกองทัพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    "พื้นที่หน้าด่าน" ข้าพเจ้าจะคอยระวังให้กำลังทหารของข้าพเจ้าต่อเชื่อมใกล้ชิดกัน
    "พื้นที่กุญแจ"  ข้าพเจ้าจะเร่งความเร็วของกำลังส่วนหลัง
    "พื้นที่คมนาคม"  ข้าพเจ้าจะเอาใจใส่กับการป้องกันตนเอง
    "พื้นที่ใจกลาง"  ข้าพเจ้าจะส่งเสริมไมตรีกับพันธมิตร
    "พื้นที่เคร่งเครียด"  ข้าพเจ้าต้องจัดการให้แน่นอนว่า เสบียงส่งได้ต่อเนื่องไม่ขาดมือ
    "พื้นที่ยากลำบาก"  ข้าพเจ้าจะเร่งรีบเดินทาง
    "พื้นที่ปิดล้อม"  ข้าพเจ้าจะปิดทางเข้าและทางออก
    "พื้นที่ตาย"  ข้าพเจ้าสามารถแสดงด้วยประจักษ์พยานว่า ไม่มีทางเอาตัวรอดได้เลย  โดยธรรมชาติของทหารนั้น จะต้านทานเมื่อถูกล้อม จะสู้จนตายเมื่อไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น  เมื่อสิ้นหนทาง ทหารจะปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
  ต้องเลือกยุทธวิธีต่างๆกัน ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ทั้ง ๙ ชนิด   ความได้เปรียบ เสียเปรียบของการรวมและการกระจายกำลัง และหลักธรรมชาติของมนุษย์  สิ่งต่างๆเหล่านี้ แม่ทัพจะต้องพิจารณา ด้วยความระมัดระวังมากที่สุดหากมีผู้ถามว่า "ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรกับกองทัพข้าศึกที่ขบวนทัพเป็นระเบียบดี และกำลังจะเข้าตีข้าพเจ้า"
ข้าพเจ้าตอบว่า "เข้ายึดอะไรสักอย่างหนึ่งที่ข้าศึกหวงแหน แล้วข้าศึกจะยินยอมน้อมตามปรารถนาของท่าน"
   สรุปธรรมชาติอันสำคัญของการทำสงคราม และเป็นหลักสำคัญสูงสุดที่แม่ทัพต้องยึดถือ :-
        ความเร็ว เป็นสิ่งสำคัญในการทำสงคราม  ถือเอาความได้เปรียบจากการไม่ได้เตรียมตัวของข้าศึก เดินทางด้วย เส้นทางที่ข้าศึกคาดไม่ถึง   แล้วเข้าโจมตีตรงจุดที่ข้าศึกมิได้มีความระมัดระวัง
   หลักการโดยทั่วไปของกองทัพที่รุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก
        กองทัพของท่านต้องรวมตัวกันแน่นแฟ้นเมื่อรุกเข้าไปในเขตของข้าศึก ฝ่ายป้องกันจะไม่สามารถเอาชนะท่านได้ การจะสร้างความกล้าหาญให้มีระดับสม่ำเสมอ คือ จุดมุ่งหมายในการบริหารงานทางการทหาร และก็ด้วยการจัดใช้พื้นที่ด้วยความเหมาะสม ประกอบทั้งการใช้กองทหารทะลวงฟันและกองทหารที่ปรับตัวได้ จึงจะ ได้เปรียบมากที่สุด   เป็น "กิจของแม่ทัพ" ที่ต้องมีความสงบระงับ และไม่หวั่นไหว  ไม่ลำเอียง และสามารถควบคุมสติตัวเองได้ดี  แม่ทัพเปลี่ยนวิธีการ และพลิกแพลงแผนการณ์เพื่อมิให้ผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่   การรวมกำลัง และทุ่มเทลงไปในภาวะที่ดูเหมือนหมดหนทางเป็น "ภารกิจของแม่ทัพ"
   หลักมูลฐานของการปฏิบัติการทางทหารอยู่ที่ความสามารถปรับตนเองให้สอดคล้องไปกับแผนของข้าศึก
   กฎของสงครามอยู่ที่การติดตามสถานการณ์ทางด้านข้าศึก เพื่อการตัดสินใจเข้าทำการรบ


cmman573

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๑๑ พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2008, 14:22:35 »

ข้อคิดของ ซุนวู นี่มันโดนจัย และทำให้เราได้ข้อคิดเจงๆๆๆ

pass07

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๑๑ พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2008, 09:03:25 »

 hgjhg  เยี่ยม จริงๆ หลักการณ์ และเหตุผล

3p

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๑๑ พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2008, 14:37:30 »

เก็บไว้ๆ

ขอบคุณครับ  ;khhg

Sylar

  • บุคคลทั่วไป
Re: ซุนวู บรรพที่ ๑๑ พื้นที่ต่างกัน ๙ อย่าง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2008, 17:29:10 »

ตามมาอ่านต่อครับ