-->

ผู้เขียน หัวข้อ: คนรุ่นใหม่-ต่อยอด-การให้-อย่างไม่รู้จบ  (อ่าน 551 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

generacity1

  • คณะสำรวจ
  • *
  • กระทู้: 680
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด



คนรุ่นใหม่ ต่อยอด การให้ อย่างไม่รู้จบ

ของเก่า ที่ดูไร้ค่า สามารถช่วยพลิกชีวิตของคนในสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ ด้วย องค์ความรู้ และพลังของ คนรุ่นใหม่ ที่มีจิตอาสา การโคจรมาพบกันของเรื่องราวดีๆ ก่อให้เกิด การสร้างสรรค์ อันยิ่งใหญ่ นำมาซึ่ง การเปลี่ยนแปลงและยกระดับสังคม ไปในทางที่ดีขึ้น กับกิจกรรม แซมโซไนท์ เทรด อิน D.I.Y เวิร์คช็อป

คุณลิดา เจษฎาถาวรวงษ์ Commercial Head บริษัท แซมโซไนท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า สำหรับความพิเศษของกิจกรรมในปีนี้ นอกจากการนำกระเป๋าใบเก่าแลกใหม่แล้ว ยังได้ต่อยอดโดยการนำกระเป๋ามายกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มคนในโครงการ อาสามาเยี่ยม และ ผู้ป่วยข้างถนน ของมูลนิธิกระจกเงา และต่อยอดด้วยการเพิ่ม คุณค่าและมูลค่า ให้มากยิ่งขึ้น กับการสร้างต้นแบบ การให้อย่างยั่งยืน สร้างสรรค์และประยุกต์ใช้ในรูปแบบ D.I.Y กระเป๋าใบเก่าให้เกิดเป็นอาชีพ และ รายได้ ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณภัทรพล จันทร์คำ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ Eco Design และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุที่ใช้ในการออกแบบประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาสร้างสรรค์ผลงาน D.I.Y ต้นแบบ ภายใต้กิจกรรม แซมโซไนท์ เทรด อิน D.I.Y เวิร์คช็อป Samsonite Trade-In: D.I.Y Workshop การถ่ายทอดและส่งต่อ องค์ความรู้ ในการสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบให้แก่เจ้าหน้าที่และน้องๆ จิตอาสาประจำมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังสำคัญในการนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปต่อยอดให้กับผู้ด้อยโอกาส เพื่อนำไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ในอนาคต ซึ่งแต่ละชิ้นงานที่คุณภัทรพลสร้างสรรค์ขึ้นล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจ และสามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

นายวนา การุญวงค์ หรือน้องโค้ดนักศึกษา ปวช. ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ รู้สึกประทับใจในแนวคิดการออกแบบผลงานต้นแบบเป็นอย่างมาก เพราะทุกชิ้นเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งยังห่วงใยธรรมชาติ ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ที่สามารถหาได้ทั่วไปตามครัวเรือน มาออกแบบด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านงานช่าง อย่างเช่นผลงาน Lounge Chair เป็นผลงานที่ชื่นชอบมากที่สุดเพราะสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชั่น และน่าจะสามารถนำไปใช้งานจริงได้ในการลงพื้นที่ของอาสาสมัครมูลนิธิฯ หรือเป็นมุมอ่านหนังสือในห้องสมุดของน้องเยาวชนในชุมชนต่างๆ ที่ขาดแคลนความช่วยเหลือ

น.ส.ฟะอีซะร์ แม หรือน้องไป๋ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จ.ปัตตานี ได้กล่าวถึงมุมมองในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ในช่วงแรกที่ฝึกงานกับมูลนิธิกระจกเงาได้มีโอกาสร่วมลงพื้นที่ในโครงการอาสามาเยี่ยม ทำให้เห็นว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการจัดเก็บสิ่งของที่ได้รับบริจาคและยารักษาโรค เพราะพื้นที่ซึ่งไม่เพียงพอโดยส่วนตัวคิดว่าผลงาน Cabinet น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเหล่านี้ เพราะนอกจากทางมูลนิธิฯ จะใช้ใส่ของมามอบให้แล้ว ตัวกระเป๋าดังกล่าวยังสามารถใช้เก็บของได้อย่างเป็นหมวดหมู่และใช้พื้นที่ไม่มากเพราะสามารถแขวนไว้กับผนังบ้านได้ ทั้งยังใช้วัสดุที่หาง่ายราคาประหยัด ซึ่งน่าจะตอบโจทย์กับวิถีชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีทุนทรัพย์ค่อนข้างจำกัด ที่สำคัญเป็นการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นประโยชน์

นายพงษ์เทพ นคร หรือน้องพงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ผมชื่นชอบผลงานกระเป๋าเป้ Backpack และ Hanging Storage เป็นพิเศษเพราะเป็นผลงานที่ทำได้ง่าย สามารถนำมาต่อยอดในรูปแบบของการประกอบอาชีพให้แก่ผู้ด้วยโอกาสในการนำไปจำหน่ายได้จริง รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้งานได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสะพายไหล่ กระเป๋าเป้ Backpack หรือที่เก็บของแบบแขวนที่สามารถพกพาได้สะดวก หรือแม้แต่กระทั่งนำไปให้เด็กๆ ในชุมชนที่ขาดแคลนใช้เป็นกระเป๋าเป้ใส่ของไปโรงเรียน ผมคิดว่าหากมีการออกแบบดีไซน์ตัวกระเป๋าให้สวยงามยิ่งขึ้นน่าจะเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างไม่ยากเย็น

จากเพียงแค่ ของเก่า ที่ดูไร้ค่า กลับกลายเป็น ของใหม่ที่ทรงคุณค่า ในสายตาของผู้ที่เดือดร้อนและขาดแคลน BAG OF HOPE ทั้ง 4,500 ใบนี้ จะเป็นสัญลักษณ์ของคนไทยที่ครั้งหนึ่งเราเคยร่วมกัน ให้ กลับคืนสู่สังคมไทยอย่างไม่รู้จบ