-->

ผู้เขียน หัวข้อ: แพนรก (Le Radeau de la Méduse)  (อ่าน 1381 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
แพนรก (Le Radeau de la Méduse)
« เมื่อ: 08 เมษายน 2016, 11:55:24 »

แพนรก (Le Radeau de la Méduse)



Le Radeau de la Méduse (1819) หรือ La Méduse หรือชื่ออังกฤษว่า The Raft of the Medusa แปลตรงตัวก็
แพของ(เรือ)เมดูซ่า วาดโดยทีโอเดอร์ เกอริโก้ (Théodore Géricault 1791 ~ 1824) ศิลปินชาวฝรั่งเศส มีผลงาน
ที่มีชื่อเสียงอยู่ไม่น้อยเช่นกัน


ในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูปหรือวีดีโอ เมื่อจะมีการถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆจึงจะกระทำโดยการวาดภาพเป็นส่วนใหญ่
เกอริโก้ได้แรงบัลดาลใจจากเหตุการณ์อันสะเทือนขวัญโลกนี้และใช้เวลากว่า 3 ปีในการวาด เกอริโก้สัมภาษณ์ผู้รอดชีวิต
สร้างแพจำลอง ร่างภาพผู้ป่วยในโรงพยาบาล กระทั่งศึกษาศพในห้องเก็บศพเพื่อจะวาดภาพให้สมบูรณ์ที่สุด

ภาพบนผืนผ้าใบขนาดมหึมา (4.71 x 7.16 เมตร) ซึ่งถูกประกาศออกสู่ซาลอนนั้น ตกเป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
ในแง่การเมืองมากกว่าด้านศิลปะ เกอริโก้จึงนำภาพนี้ไปโชว์ในอังกฤษและได้รับเสียงตอบรับเป็นจำนวนมาก

และแรงบรรดาใจจากภาพนี้มาจากโศกนาฏกรรมที่เป็นเรื่องจริงครับ

               

โศกนาฏกรรมที่เป็นเรื่องจริง



เหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งความหายนะทางทะเลครั้งนั้น ได้ชักนำให้ Theodore Gericault วาดภาพแพนรก (The Raft of the Medusa)
ในปี 2362 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์ Bourbons กำลังครองฝรั่งเศส และมีความต้องการงานศิลปะใหม่เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่อลังการ
ของประเทศ จิตรกรส่วนใหญ่ได้วาดภาพของกษัตริย์ พระนักบวช และแม่ทัพผู้เคยมีบทบาทในการทำให้ฝรั่งเศสเป็นชาติมหาอำนาจ
แต่ Gericault กลับวาดภาพปุถุชนคนธรรมดาที่กำลังเผชิญภัยมรณะ ซึ่งไม่ได้ทำให้ประชาชนฝรั่งเศสส่วนใหญ่รู้สึกภาคภูมิใจเลยแม้แต่น้อย
ภาพนี้จึงถูกรัฐบาลฝรั่งเศสสั่งห้ามนำออกแสดง แต่เมื่อ Gericault นำภาพแพนรกของเขาออกแสดงที่อังกฤษ คนอังกฤษกลับชื่นชมโสมนัส
ในความหมาย ความสำคัญ ความยิ่งใหญ่ของภาพมาก จนได้ยกย่องให้ภาพแพนรกของ Gericault นี้เป็นภาพวาดที่สำคัญที่สุดภาพหนึ่งของโลก


ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2359 เรือรบ Medusa ได้ออกเดินทางจากฝรั่งเศสเพื่อไปยังเมืองหลวง Saint-Louis
ของ Senagal ในแอฟริกาตะวันตก บุคคลหนึ่งในบรรดาผู้โดยสารของเรือลำนี้คือ ผู้สำเร็จราชการประจำ Senagal ชื่อ Julien Schmaltz
และผู้โดยสารคนอื่นๆ อีกประมาณ 400 คน ซึ่งมีอาชีพเป็นทหารและนักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ




ความผิดพลาดได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกของการเดินทาง เพราะแทนที่เรือ Medusa จะเดินทางพร้อมกับเรือคุ้มกันภัยอีก 3 ลำ เรือได้เดินทาง
ไปแต่เพียงลำพัง โดยมี Hugues Du Roy de Chaumareys เป็นกัปตันเรือผู้ไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินเรือหรือการบริหารจัดการ
ความหยิ่งยโสที่ไม่ยอมฟังความคิดเห็นใครของกัปตัน ได้นำเรือเกยหินโสโครกและอับปางลงในวันที่ 2 สิงหาคม ในทะเลระหว่างเกาะ Canaries
และ Cap Verde กัปตันจึงได้ออกคำสั่งทิ้งเรือ การมีเรือชูชีพเล็กๆ เพียง 6 ลำ ได้ทำให้ผู้โดยสารหลายคนไม่พอใจ จึงเกิดการต่อสู้แย่งชิง
ที่นั่งบนเรือชูชีพกัน บรรยากาศการเห็นแก่ตัวทำให้เกิดวิสามัญฆาตกรรมบนเรืออย่างดุเดือด

จนในที่สุด ผู้โดยสารชาย 149 คน และหญิงเพียงคนเดียวก็ถูกบังคับให้ขึ้นแพที่ถูกสร้างขึ้นอย่างกะทันหัน กัปตันเรือได้ให้สัญญาสุภาพบุรุษ
กับคนบนแพว่า เรือชูชีพของเขาจะลากจูงแพ จนกระทั่งทุกคนถึงฝั่งอย่างปลอดภัย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 2 ชั่วโมง เชือกที่ใช้โยง
ระหว่างเรือชูชีพกับแพก็ถูกตัด และเรือก็ได้ลอยห่างออกไปๆ ท่ามกลางเสียงสาปแช่งของคนบนแพ ซึ่งมี 150 คนที่ตกค้าง ที่ต้องต่อสู้กับมัจจุราช
และต่อสู้กันเองเพื่อการอยู่รอดเมื่อน้ำจืดที่เป็นเสบียงบนแพหมดลงในวันแรก และเพราะเหตุว่าแพมีขนาด 8x15 เมตร ซึ่งนับว่าใหญ่เพียงพอ
สำหรับคนโดยสาร 150 คน แต่บริเวณขอบแพนั้นติดน้ำ ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นอันตรายสำหรับการยืน นั่ง คนเหล่านี้จึงได้พยายามขยับ
เลื่อนเข้าสู่บริเวณกลางแพ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด แต่นั่นเป็นที่ของแพทย์ประจำแพชื่อ Henri Savigny และผู้เชี่ยวชาญด้านแผน
ที่ชื่อ Alexandre Correard ซึ่งมีหน้าที่รักษาคนป่วย และช่วยดูทิศการเดินทางตามลำดับ การมีปืนเป็นอาวุธคู่กายของคนทั้งสอง
ในขณะที่คนอื่นๆ ไม่มีอาวุธใดๆ ทำให้ความพยายามในการยึดตำแหน่งกลางของแพใดๆ ไร้ผล และในที่สุดคนโดยสารที่นั่งอยู่บริเวณ
ขอบแพ 20 คน ก็ได้จมน้ำตายในคืนแรกนั้นเอง



ในวันต่อมา เหตุการณ์แย่งที่ยืนบนแพก็ได้อุบัติอีก เมื่อคนที่เมาเหล้าองุ่นหลายคนกลัวตาย ได้ขู่จะทำลายแพ แต่ก็ถูก Savigny
และ Correard ใช้ปืนปลิดชีพอีก 65 คน


การกำจัดผู้โดยสารไปได้ร่วมร้อยคน ทำให้แพมีที่ว่างสำหรับทุกคนมากขึ้น และมีอาหารสำหรับการบริโภคมากขึ้น เมื่อวันเวลาผ่านไป
ความทารุณโหดร้ายของทะเลได้ทำให้ผู้โดยสารหลายคนเสียชีวิตลงอีก และเมื่อเวลาผ่านไป1 สัปดาห์ ผู้โดยสารแพก็มีเหลืออยู่
เพียง 28 คน กระนั้น คนบางคนบนแพก็คิดว่า จำนวนคนยังมากเกินไป ดังนั้น จึงคิดหาวิธีกำจัดอีก เพราะ 13 คนใน 28 คนเหล่านั้น
บาดเจ็บและมีบาดแผลตามตัว ดังนั้น คน 15 คนที่เหลือ ซึ่งมีสุขภาพกายดี จึงได้ตัดสินใจอย่างเป็น "ธรรม" ผลักคน 13 คน
บาดเจ็บลงทะเลอย่างเลือดเย็น


สำหรับเรื่องการบำบัดภาวะกระหายน้ำนั้น ชาวแพได้ใช้วิธีดื่มน้ำปัสสาวะแทน และสำหรับการแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารการกิน
มนุษย์เดนตายเหล่านั้นได้ใช้วิธีบริโภคซากศพเป็นการประทังความหิว ทั้งๆ ที่ในตอนแรก คนหลายคนปฏิเสธวิธีการที่ป่าเถื่อนนี้
แต่เมื่อการมีชีวิตอยู่ต่อไปเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าคุณธรรมและประเพณีใดๆ คนที่จะมีชีวิตอยู่ต่อ จึงต้องกินเนื้อคนที่เสียชีวิต
เป็นอาหาร Savigny ในฐานะที่เป็นแพทย์ประจำแพได้เสนอแนะให้ตัดเนื้อคนตายออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อนำไปตากแห้งฆ่า
เชื้อโรคก่อนบริโภค เพราะว่าการกินซากศพเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคมยุโรปยุคนั้น Gericault จึงวาดภาพแสดงเหตุการณ์
ดังกล่าวนี้เป็นภาพของชายชราที่มีเด็กหนุ่มเปลือยกายตายในตักแทน



เมื่อเวลาผ่านไป 13 วัน ชาวแพที่ยังรอดชีวิตได้เห็นเรือลำเล็กๆ ปรากฏเป็นจุดที่ขอบฟ้า แต่เพราะตัวแพสูงพ้นน้ำไม่มาก ดังนั้น
โอกาสที่คนบนเรือจะเห็นแพจึงมีน้อย ผู้คนบนแพจึงได้นำถังเหล้าองุ่นมาสุมสูงกลางแพ แล้วเอาผ้าเช็ดหน้าผูกติดที่ปลายเสาสูง
เพื่อให้เป็นที่สังเกตเห็น


Gericault ก็ได้วาดภาพเหตุการณ์นี้ โดยให้คนนิโกรผิวดำชื่อ Jean Charles ผู้มีหน้าที่โยนศพคนตายลงทะเล
ยืนโบกผ้าเช็ดหน้า ณ ตำแหน่งสูงสุดของแพ เมื่อกัปตันเรือ Argus เห็นมนุษย์เดนตายเหล่านี้ จึงได้รับทุกคนขึ้นเรือ
นำสู่ฝั่งที่เมือง St. Louis ใน Senagal อย่างปลอดภัย แต่ความทุกข์ทรมานในทะเลก็ได้สังหารคนอีก 5 คน
จนในที่สุดเหลือคนที่รอดชีวิตเพียง 10 คน และ 2 คน ในที่สุด



กลุ่มนั้นคือ Savigny และ Correard



ก่อนจะลงมือวาดภาพคลาสสิกนี้ Gericault ได้วิเคราะห์เนื้อเรื่องที่เขาจะวาดโดยได้เดินทางไปสัมภาษณ์ทั้ง Savigny
และ Correard ได้สร้างแพจำลองขึ้น เพื่อช่วยให้เขาได้ภาพที่สมจริง เพราะเหตุว่าภาพมีขนาดใหญ่มากคือ 4.91x7.16 เมตร
ความมโหฬารเช่นนี้ทำให้เขาต้องหาห้องวาดใหม่ที่กว้างใหญ่กว่าธรรมดา และเขาได้ห้องที่ต้องการซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาล
ที่มีศพคนตายและคนบาดเจ็บให้ดูมากมาย ซึ่งเขาก็ได้นำศพคนเหล่านั้นกลับห้องวาดเพื่อศึกษาดูศพขณะเน่า และใช้ข้อมูล
ที่ได้ในการวาดภาพให้ดูสมจริง

ถึงแม้รายงานของ Correard และ Savigny ได้กล่าวว่า ผิวหนังของผู้คนบนแพเป็นผื่นแดงเพราะถูกแดดแผดเผา และเนื้อตัว
มีรอยแผลแตกเพราะถูกโบยด้วยแซ่ แต่ Gericault มิได้แสดงบาดแผลเหล่านี้ในภาพที่เขาวาดเลย และถึงแม้รายงานจะกล่าวว่า
ผมเผ้าของผู้โดยสารบนเรือรุงรังเพราะปราศจากการดูแล แต่ผมของคนในภาพดูเรียบร้อย ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ
วันที่ชาวแพเห็นเรือ Augus นั้น เป็นวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2359 ซึ่งเป็นวันฟ้าใสและทะเลสงบ แต่ภาพของ Gericault
กลับแสดงฟ้าที่มีเมฆหนาแน่น และทะเลกำลังมีคลื่นแรง ทั้งนี้ก็เพราะ Gericault ต้องการสร้างบรรยากาศของภาพ
ให้ดูระทึกใจและน่ากลัวนั่นเอง



ประเด็นที่น่าสังเกตอีกประเด็นหนึ่งของภาพนี้ก็คือ พื้นที่ภาพส่วนใหญ่แสดงแพและผู้คน หาได้แสดงภาพของทะเลที่กำลังบ้าคลั่งไม่
ภาพนี้จึงแตกต่างจากภาพของจิตรกรคนอื่นๆ ที่เวลาวาดทะเลก็มักอุทิศพื้นที่ส่วนใหญ่ให้กับน้ำ ส่วนภาพของคนและแพนั้น
ก็มักให้พื้นที่แสดงน้อย การวาดแพและคนเกือบเต็มรูปของ Gericault จึงทำให้คนดูภาพมีความรู้สึกเหมือนกับสามารถก้าวย่าง
ขึ้นยืนบนแพได้เลย หากต้องการการจัดตำแหน่งยืนของคนบนแพก็น่าสนใจ เพราะ Gericault ได้วางตัวคนในลักษณะของพีระมิด


เมื่อภาพแพนรกถูกนำออกแสดงในกรุงปารีสเป็นครั้งแรก คำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้เข้าชมได้ทำให้ Gericault วาดศพเพิ่มขึ้นอีกสองศพ

คือ ที่บริเวณล่างซ้ายและล่างขวาของภาพ ภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์นี้ได้รับการกล่าวขวัญมาก ทั้งในทางบวกและทางลบ คนหลายคนคิดว่า
ภาพนี้เน้นการทำลายสถาบันทหารและชาติ หลายคนคิดว่า Gericault ต้องการประณามกระบวนการฉ้อราษฎร์บังหลวงของฝรั่งเศส
ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงนี้ แต่นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นรู้ดีว่า ในช่วงเวลาที่ Gericault วาดภาพแพนรกนั้น ชีวิตของเขาปั่นป่วนมาก
เพราะสตรีที่เขามีความสัมพันธ์ด้วยเป็นภรรยาของลุงเขา และเมื่อสตรีตั้งครรภ์ลูกที่คลอดได้ถูกมอบให้บุคคลอื่นเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
เพราะ Gericault ในวัย 27 ปี มิสามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ อีกทั้งมีความรู้สึกทนทุกข์ทรมานกับการละเมิดศีลข้อสาม
เขาจึงพยายามหลบหนีความว้าวุ่นด้วยการวาดภาพ The Raft of the Medusa อย่างเงียบๆ โดยทอดทิ้งภรรยานอกกฎหมายให้สู้โลก
ตามยถากรรม เช่นเดียวกับที่กัปตันเรือ Medusa ทอดทิ้งลูกเรือตน

การวาดภาพที่ใช้เวลานาน 18 เดือน ได้ทำให้เขาคลุ้มคลั่ง เมื่องานวาดภาพเสร็จสิ้น เขาได้พยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง โดยขี่ม้า
เล่นด้วยความเร็วสูง และได้ตกม้าตายในปี 2367 ขณะมีอายุเพียง 32 ปีเท่านั้นเอง





ในวารสาร History Today ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 C. Riding ได้รายงานว่า เมื่อสังคมฝรั่งเศสต่อต้าน Gericault ได้นำภาพ
ไปแสดงในอังกฤษที่ Egyptian Hall บริเวณ Pica dilly ในปี 2363 บรรดาคนอังกฤษแทบทุกคนที่เข้ามาชมภาพ มิได้เห็นแม้แต่น้อยว่า
ภาพแพนรกมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองใดๆ คนหลายคนคิดว่า มันเป็นภาพวาดที่ยิ่งใหญ่ภาพหนึ่งของโลกด้วยซ้ำไป


ทั้งนี้ เพราะภาพแพนรกแสดงเหตุการณ์ ขณะคนบนแพเห็นเรือ Augus ที่ขอบฟ้า ในขณะที่แพของตนกำลังจะแตกสลาย ภาพจึงแสดง
ความหวัง ความทุกข์ การเห็นแก่ตัว และความพยายามที่จะต่อสู้เอาตัวรอด โดยไร้จริยธรรมใดๆ ของมนุษย์พร้อมกัน

ความจริงเหตุการณ์อับปางของเรือ Medusa มิได้เป็นความหายนะระดับธรรมดา เพราะเมื่อ Savigny เดินทางกลับถึงฝรั่งเศส
รายงานการเดินทางของเขาได้ทำให้การอับปางของเรือเป็นเรื่องน่าอับอายอัปยศแห่งชาติ ผู้คนในวงการรัฐบาลได้พยายามระงับข่าวอื้อฉาว
โดยได้จำคุกกัปตันเรือ de Chaumareys ที่ทอดทิ้ง ผู้คนในแพ ข่าวการสังหารคนและกินคน ก็เป็นเรื่องที่อุบาทว์ชั่วช้ามาก
เพราะแสดงความป่าเถื่อนและโหดเหี้ยม การได้ยินได้ฟังจากรายงานเท่านั้นยังไม่พอ การได้เห็นภาพเสริมทับลงไปอีก
จึงมีผลทำให้เหตุการณ์นี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดในฝรั่งเศสในสมัยนั้น




ส่วนชาวอังกฤษเองมีความภูมิใจในราชนาวีของตน ที่ได้พิชิต Napoleon ที่ Waterloo การได้เห็นการไร้สมรรถภาพของกัปตันเรือ Medusa
การเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ของคนฝรั่งเศส (บนแพ) ได้ทำให้คนอังกฤษรู้ว่านี่คือ การตกต่ำของชาติฝรั่งเศสอย่างที่สุด และการที่ Gericault
วาดภาพทาสผิวดำอยู่กลางภาพ ในขณะที่ทหารและคนธรรมดาผิวขาวอยู่รายรอบ แสดงให้เห็นการต่อต้านการค้าทาสของ Gericault
ซึ่งสอดคล้องกับการห้ามค้าทาสของอังกฤษในสมัยนั้นพอดี

ภาพแพนรกจึงได้ทำให้มวลชนอังกฤษหันมาสนใจและสงสารเพื่อนมนุษย์ที่เดินทางในทะเลมากขึ้น และทำให้ทุกคนรู้ว่าการเดินทาง
ในทะเลนั้นมีอันตราย รายงานของ Savigny และ Correard ได้ปลุกใจให้คนอังกฤษรักชาติของตนมากยิ่งขึ้น และได้แสดงให้
คนอังกฤษเห็นการไร้วินัยของคนชาติอื่น




Riding ยังได้รายงานอีกว่า ในเวลาเดียวกับที่ Medusa อับปางลงนั้น เรือ Alceste ของอังกฤษ ก็ได้อับปางลงเช่นกันที่เกาะ Bangka
ในอินโดนีเซีย แต่ทูตอังกฤษและข้าราชการอังกฤษบนเรือได้ต่อแพลำเลียงทุกคนจนถึงฝั่งอย่างปลอดภัย ทั้งๆ ที่ถูกสลัดมลายูโจมตีหลายครั้ง
ทั้งนี้เพราะคนอังกฤษมีวินัย มีความกล้าหาญและเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ คนฝรั่งเศสไม่มี ดังนั้น
ถึงแม้คนบนแพจะหิว แต่ทุกคนก็ยอมตายมากกว่าที่จะฆ่าเพื่อน และกินศพเพื่อน และถ้าที่สุดถึงที่สุด การจมน้ำตายอย่างรวดเร็ว
ก็ดีกว่าการนอนตายอย่างช้าๆ ในแพ

คำถามจึงมีว่า ถ้ามีคนอังกฤษบนเรือ Medusa ลำนั้น เหตุการณ์อัปรีย์ทั้งหลายแหล่จะเกิดขึ้นหรือไม่


 
credit :: cammy@dek-d.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤษภาคม 2016, 15:20:08 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

thuynaja

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 369
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: แพนรก (Le Radeau de la Méduse)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2017, 22:21:27 »

 pongz pongz
ขอบคุณคับสำหรับข้อมูล