-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ฟื้น'กาดมิ่งเมือง'ตลาดเก่าแก่เชียงใหม่  (อ่าน 1134 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

ฟื้น'กาดมิ่งเมือง'ตลาดเก่าแก่เชียงใหม่

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเครือข่าย 12 ชุมชนหนึ่งชมรม ได้จัดโครงการ “พื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่”
เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของเชียงใหม่ โดยนำร่อง "กาดมิ่งเมือง" ตลาดที่เป็นอาคารไม้
เก่าแก่อายุกว่า 70 ปี แห่งสุดท้ายของเมืองเชียงใหม่ พร้อมจัดกิจกรรมกาดหมั้วทุกเช้าวันอาทิตย์เพื่อยกระดับเป็นตลาด
โบราณในเขตเวียงเก่าให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง


"สามารถ สุวรัตน์" นักวิจัยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการ “พื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่”
ร่วมกับเครือข่าย 12 ชุมชน และ 1 ชมรม เขตเวียงเก่าเชียงใหม่ คือ ชุมชนวัดล่ามช้าง ชุมชนวัดเชียงมั่น ชุมชนวัดพวกแต้ม
ชุมชนวัดป้านปิง ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ชุมชนวัดพันอ้น ชุมชนวัดผ้าขาว ชุมชนวัดทรายมูลเมือง ชุมชนวัดหมื่นตูม
ชุมชนวัดช่างแต้ม ชุมชน 5 ธันวา ชุมชนทิพย์เนตร ชมรมคนจ๊างม่อยฮักเจียงใหม่ รวมถึงหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ สถาบันสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายเขียว สวย หอม กลุ่ม คน.ใจ.บ้าน
โครงการโนโฟม (กลุ่มเมือง เมือง) กลุ่มรักษ์ล้านนา กลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ นิตยสาร Compass จัดโครง
การกาดหมั้ว กาดเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของ
เมืองเชียงใหม่ และให้คนในชุมชนได้มีรายได้เสริม

โครงการกาดหมั้ว กาดเมือง ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่เพิ่มรายได้ให้ชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้าในชุมชนเพียงอย่างเดียว
แต่มุ่งหวังให้กิจกรรมนี้เป็นพื้นที่กลางที่ชาวบ้านเวียงเก่าจะได้รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม มีโอกาสมาพบปะพูดคุย
แลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมทำงานที่มุ่งเน้นการฟื้นฟู อนุรักษ์ รักษาของเก่า ของดี ภูมิปัญญาด้านอาหาร งานฝีมือ
ศิลปะการแสดง และมรดกทางวัฒนธรรมในด้านวิถีชีวิตของชุมชน อาศัยกิจกรรมกาดหมั้ว กาดเมือง กาดวัฒนธรรม
ที่ดูแลและจัดการด้วยชุมชนเพื่อประโยชน์ของชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ให้วิถีชีวิตเก่าๆเหล่านั้นเลือนหายไป
กิจกรรม "กาดหมั้ว กาดเมือง” ยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี


ทั้งนี้ โครงการกาดหมั้ว กาดเมือง เริ่มนำร่องแห่งแรกที่กาดมิ่งเมือง คนเชียงใหม่เรียกกันติดปากว่า “กาดสมเพชร”
เป็นกาดโถงไม้โบราณขนาดใหญ่อายุรวมของกลุ่มอาคารอยู่ที่ 60-70 ปี จัดเป็นความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม
ที่เหลือให้ชมเพียงแห่งเดียวและแห่งสุดท้ายในเวียงเก่าเมืองเชียงใหม่

"สามารถ สุวรัตน์" กล่าวอีกว่า โครงการกาดหมั้ว กาดเมือง กำหนดจัดเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ช่วงครึ่งวันเช้า
ตั้งแต่เวลา 06.00-12.00 น. เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้า ตัวแทนชุมชนในเขตเวียงเก่าเมืองเชียงใหม่แต่ละชุมชน
นำสินค้าของดีของชุมชนมาจัดวางขาย ให้แต่งกายพื้นเมือง ใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ย่อยสลายได้ง่าย

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประวัติตลาด ประวัติชุมชนในเขตเวียงเก่า เรื่องราวการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง
ของภาคประชาชนในการฟื้นฟู อนุรักษ์วิถีชีวิตและมรดกทางวัฒนธรรมของคนเมือง กิจกรรมเหล่านี้ได้สอดคล้อง
กับดำริของเจ้าของตลาดมิ่งเมือง ที่ต้องการจะอนุรักษ์ตลาดมิ่งเมืองให้เป็นตลาดโบราณ ตลาดวัฒนธรรมคนเมือง
คู่เมืองเชียงใหม่สืบไป


ขณะที่ "กรวรรณ สังขกร" นักวิจัย (ชำนาญการพิเศษ) สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูกาดเก่านั้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน
อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้ โดยได้มีการสำรวจความพร้อมของคนในชุมชนย่านเวียงเชียงใหม่เก็บข้อมูล
ของคนในชุมชนเพี่อวางแผนให้โครงการกาดหมั้ว กาดเมือง อยู่อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ยังสนับสนุนงบประมาณ
เจ้าหน้าที่และการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงได้สร้างหน้าเพจ
“กาดหมั้ว กาดเมือง" บนเครือข่ายโซเชียลมีเดียเฟซบุ๊ก โดยจะมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรม 
ถ่ายภาพกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นมาผ่านทางหน้าเพจอีกด้วย

"สถาบันยังได้จัดกิจรรมพิเศษขึ้นในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ในช่วงที่ตรงกับฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนั้น ก็จะได้ข้าวใหม่
จึงมีการจัดกิจกรรมให้คนในชุมชนทำข้าวหลามออกมาวางขาย กิจกรรมพิเศษนี้จะจัดขึ้นทุกๆ เทศกาลสำคัญ
ซึ่งในแต่เทศกาลจะมีการทำอาหารคาวหวาน ขนมพื้นบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป"

นางกรวรรณ กล่าว

ด้าน "มลหทัย เหลือโกศล" เจ้าของตลาดมิ่งเมือง กล่าวว่า ตลาดมิ่งเมืองเป็นตลาดไม้เก่าแก่ที่ตกทอดกันมา
จากรุ่นสู่รุ่น จึงอยากอนุรักษ์เอาไว้ไม่คิดจะรื้อหรือเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน แต่จะใช้วิธีซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด
และทำความสะอาดเท่านั้น สำหรับโครงการกาดหมั้ว กาดเมือง ที่จัดขึ้น ได้จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นๆ

"โครงการกาดหมั้ว กาดเมือง ได้รับการตอบรับดีมาก ชาวบ้านให้ความสนใจและเห็นด้วยกับโครงการ ทำให้การ
ดำเนินงานเป็นไปด้วยดี นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมตลาดและเลือก
ซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมากอีกด้วย"

มลหทัย กล่าว

ส่วน "รัตนา ชูเกษ" แม่ค้าอาหารพื้นเมือง กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มกาดหมั้วมา บรรยากาศดี ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
เมื่อเกิดกิจกรรมกาดหมั้วขึ้นของที่ทำมาขายไม่ได้ทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้านะ ทำด้วยฝีมือ มีทั้งอาหารพื้นเมืองที่อนุรักษ์ไว้
ที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรเพื่อสุขภาพและรสชาติอร่อย อยากเชิญชวนให้มาแวะเวียนซื้ออาหารที่ตลาดมิ่งเมือง
เพราะอาหารของตลาดแห่งนี้อร่อยและราคาไม่แพง

"สุพิศ ทองคำ" แม่ค้าขายลาบ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมกาดหมั้ว กาดเมือง ถือเป็นเรื่องที่ดี รู้สึกยินดีและเห็นด้วย
อย่างยิ่ง ทำให้ชาวบ้านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากปกติเป็นแม่บ้านอยู่บ้านเฉยๆ เมื่อมีการจัดกิจกรรม
กาดหมั้ว ทำให้มีรายได้พิเศษจากการทำอาหารพื้นเมือง (ลาบหมู) มาขายที่กาดหมั้วทุกๆช่วงเช้าของวันอาทิตย์


credit ::  ปิยวัฒน์ แก้วมา@komchadluek.net
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

Barball

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 457
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
Re: ฟื้น'กาดมิ่งเมือง'ตลาดเก่าแก่เชียงใหม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2013, 11:59:26 »

น่าสนใจดีครับ คราวหน้าเวลามีใครมาเที่ยวเชียงใหม่จะได้พาไปแอ่วกาดนี้  pongz