-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ทางออกในภาวะวิกฤต 3 ทางเลี่ยงวิกฤต  (อ่าน 479 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
ทางออกในภาวะวิกฤต 3 ทางเลี่ยงวิกฤต
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 04:48:20 »

วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาดูจะลุกลามบานปลายไปอีกมาก จากอเมริกา ไปยุโรป และเอเชียบ้านเราก็ดูจะหนีไม่พ้น เพราะหลายๆประเทศในแถบนี้ล้วนพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก แถมยังเป็นการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคที่อ่อนไหวกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นบริการหรือธุรกรรมการเงิน


เมื่ออเมริกามีปัญหาเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลให้การบริโภคในประเทศลดลง และลุกลามไปถึงในยุโรป และจีนก็ย่อมถูกผลกระทบ เพราะบทบาทของจีนในวันนี้ที่เป็นเหมือนโรงงานของโลก จึงอาจได้รับผลกระทบบ้างแม้จะมีพลังการบริโภคภายในประเทศอยู่มากก็ตาม
 
ดูตัวอย่างจากญี่ปุ่นก็น่าจะใกล้เคียงกันเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่กินเวลายาวนานนับ

สิบปีของเขานั้นก็มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาคการส่งออกที่ส่งผลกระทบไปถึงทุกส่วน จนทำให้เศรษฐกิจโดยรวมมีปัญหา
 
สำหรับบ้านเรา ก็ถือว่ามีบทเรียนมาบ้างจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่แล้ว ซึ่งการปรับตัวของเราให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ก็น่าจะต้องดูจากนโยบายของสถาบันการเงินที่น่าจะเข้มงวดกับธุรกิจต่อไปนี้มากขึ้น
 
อย่างแรกคือ บริษัทที่ไม่มีความสามารถในการทำกำไร เพราะผมเชื่อว่าสถาบันการเงินคงแบกรับความเสี่ยงต่อไปไม่ไหว และภาวะที่มีความผันผวนสูงมากเช่นในขณะนี้ย่อมทำให้คาดเดาทิศทางธุรกิจได้ยากมาก การลงทุนกับบริษัทที่ทำกำไรได้แน่นอนจึงน่าจะคุ้มค่ามากกว่า
 
อย่างที่สอง คือบริษัทที่มีอัตราส่วนทุนต่อหนี้ หรือ Debt to Equity Ratio สูงเกินไป เพราะ D/E Ratio เป็นตัวสะท้อนความเสี่ยงของบริษัทได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรื่องนี้ดูตัวอย่างจากฝั่งอเมริกาน่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
 
โดยธนาคารในอเมริกา ในสมัยก่อน มี 2 ประเภท คือ  Commercial Bank ให้บริการเงินฝากและเงินกู้ กับ Investment Bank ที่ทำหน้าที่หลักในการออกพันธบัตร และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ

ที่จะระดมทุน
 
ดูตามนี้เราก็พอจะเห็นได้ว่า  Investment Bank มีความเสี่ยงสูงกว่า Commercial Bank มาก และการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบถึง 700,000 ล้านเหรียญ ก็น่าจะช่วยได้เฉพาะบริษัทที่มี

ศักยภาพและเลือกตัดบริษัทที่มีทุนต่อหนี้สูงออกไปเป็นลำดับแรก
 
อย่างสุดท้ายคือบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงมากเกินไป เพราะภายใต้สภาพ

แวดล้อมปัจจุบันที่มีโอกาสถูกกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกา และยุโรป ทำให้ธุรกิจส่งออกบางส่วนขาดเงินทุนหมุนเวียนจนเดินหน้าต่อไปไม่ได้
 
นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ธนาคารคิดว่ามีความเสี่ยงสูงเกินไป เช่นธุรกิจท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรมหากอัตราการเข้าพักไม่ถึง 30-40% ของห้องพักทั้งหมดก็จะอยู่ไม่ได้ ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวมักจะเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้วหากมีวิกฤตเกิดขึ้น
 
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ นอกเหนือจากที่คนทั่วโลกไม่มาท่องเที่ยวด้วยปัญหาจากการตกงานของตนเองแล้ว แต่ในบ้านเราเองก็ยังมีปัญหา คือวิกฤตการเมือง ซึ่งคาดว่ายังไม่น่าจะจบลงง่ายๆ ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวถูกยกเลิกคิดเป็นมูลค่ามหาศาล
 
บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีจำนวน 700,000 บริษัท ซึ่งใน 700,000 บริษัทนี้มีเพียง 300,000 บริษัทเท่านั้นที่ดำเนินธุรกิจจริง เพราะอีก 400,000 บริษัทที่คิดว่าจะทำธุรกิจ แต่เปิดแล้วทำไป 2 ปี 3 ปี ก็ไปไม่รอด
 
ในขณะเดียวกันถ้าจะปิดบริษัทก็ต้องมีค่าใช้จ่ายอีกมาก ทุกคนจึงยังคงไม่ปิดบริษัท ทำให้มีอีก 400,000 บริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเลย ซึ่งยิ่งเวลาผ่านไป บริษัทที่ยังอยู่ยงคงกระพันมาได้ก็น่าจะเอาตัวรอดต่อไปได้อีก แต่กรณีเลห์แมน บราเธอร์ส ที่มีอายุถึง 169 ปีก็ทำให้เราเห็นว่าไม่แน่เสมอไป
 
แม้สถานการณ์จะเป็นอย่างไร จะเลวร้ายแค่ไหนก็แล้วแต่ แต่ทุกคนต้องมีความพร้อม เหมือนการรู้จักสึนามิและเรียนรู้ว่าสึนามิมาแล้วต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะไม่เหมือนกับในอดีตที่เรายังไม่รู้จักจนต้องบาดเจ็บล้มตายมากมาย ซึ่งความพร้อมเท่านั้นที่จะทำให้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเบาบางที่สุด
 ujn