cmxseed สังคมราตรี

หมวดหมู่ทั่วไป => Clinic สุด Seed => ข้อความที่เริ่มโดย: etatae333 ที่ 20 ตุลาคม 2017, 16:02:39

หัวข้อ: ลิม่า ซินโดรม โรคประจำตัวพระเอกนิยายตบจูบ!
เริ่มหัวข้อโดย: etatae333 ที่ 20 ตุลาคม 2017, 16:02:39
ลิม่า ซินโดรม โรคประจำตัวพระเอกนิยายตบจูบ!
credit :: พี่น้ำผึ้ง@dek-d.com

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1508571163-3611.jpeg)

เมื่อครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘สต็อกโฮล์ม ซินโดรม โรคประจำตัวนางเอกตบจูบ’ ที่นางเอก (ในที่นี้คือตัวประกัน)
ตกหลุมรักพระเอก (ในที่นี้คือคนร้าย) วันนี้ได้ฤกษ์มารู้จักโรคประจำตัวพระเอกนิยายตบจูบกันซะที (เกือบลืม)

เราคงคุ้นเคยนิยายละครไทยแนวพระเอกทำร้ายร่างกายนางเอก แล้วอยู่ๆ พระเอกก็ดันตกหลุมรักนางเอกซะงั้น
ซึงจริงๆ แล้ว อาการนี้เข้าข่ายลิม่า ซินโดรมเลยหละ ซึ่งเป็นโรคที่มีลักษณะตรงข้ามกับสต็อกโฮล์ม ซินโดรม
ที่นำเสนอไปเมื่อครั้งก่อน
 
โรคลิม่า ซินโดรมคือโรคที่ผู้ลักพาตัวตกหลุมรักตัวประกัน (จริงๆ ก็ไม่เชิงตกหลุมรักซะทีเดียวค่ะ แต่ออกแนวเห็นอกเห็นใจตัวประกันมากกว่า)
ฟังแล้วคุ้นๆ เนอะ เหมือนพล็อตนิยายไทยเลย ที่อยู่ๆ ก็ลักพาตัวนางเอกมา ใช้งานเยี่ยงทาส ด่าทอสารพัด แล้ววันดีคืนดี
ก็เกิดเห็นอกเห็นใจขึ้นมาซะงั้น ชัดเลยค่ะ นี่คือลักษณะหนึ่งของโรคลิม่า ซินโดรมนั่นเอง
 

กำเนิดลิม่า ซินโดรม

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1508571385-5713.jpeg)

วันหนึ่งในปี ค.ศ. 1996 ณ เมืองลิม่า ประเทศเปรู กลุ่มปฏิวัติ MRTA ได้บุกเข้าโจมตีสถานทูตญี่ปุ่นและจับทุกคนเอาไว้หมด
แต่หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง กลุ่มปฏิวัติก็ปล่อยตัวประกันเกือบทั้งหมดออกมา ซึ่งเป็นผู้หญิง เด็กและคนแก่ราวๆ 259 คน
รวมทั้งบุคคลสำคัญอันดับหนึ่งในสถานทูตด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเหลือตัวประกันอีก 72 คนที่ไม่ถูกปล่อยตัวออกมา

 
ความจริงแล้วที่ทางกลุ่มปฏิวัติทำอย่างนี้ก็เพราะต้องการให้ปล่อยตัวแกนนำกลุ่มเขาที่ถูกจับกุมตัวออกมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ทางรัฐบาลเปรูก็ได้ปฏิเสธไม่ทำตามในสิ่งที่คนร้ายร้องขอ เลยเป็นเหตุให้การจับกุมตัวประกันยาวนานถึงสี่เดือน จนกระทั่ง
ทหารตัดสินใจเข้าจู่โจมคนร้ายเพื่อช่วยเหลือตัวประกันออกมา ซึ่งทำให้หัวหน้ากลุ่มปฏิวัติเสียชีวิตลง

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เป็นที่มาของชื่อ ลิม่า ซินโดรมขึ้นมา มีการกล่าวถึงสาเหตุของการปล่อยตัวประกันร่วมสองร้อยชีวิต
ว่า อาจเป็นเพราะวาทศิลป์ในการพูดของนักการทูต
 
(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1508571163-3321.jpeg)

ลักษณะของลิม่า ซินโดรม

คนร้ายจะเริ่มมีความรู้สึกผิดกับเหยื่อ ไม่กล้าลงมือทำร้ายเหยื่ออย่างจริงจัง รวมทั้งรู้สึกสงสารและเห็นใจเหยื่อ
อาจเป็นเพราะเหยื่อเป็นเด็ก เป็นคนท้อง เป็นผู้หญิงหรือเป็นคนแก่ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม หากคนร้ายเริ่ม
สงสารเห็นใจก็เลยทำให้ปล่อยตัวประกันออกมา
 
สาเหตุของลิม่า ซินโดรม

สาเหตุของโรคนี้ไม่แน่ชัด แต่ก็มีนักจิตวิทยาบางท่านได้แจกแจงสาเหตุคร่าวๆ ไว้ 5 ข้อดังนี้

ไม่ต้องการทำร้ายผู้บริสุทธิ์
นับว่าเป็นโชคดีของเหยื่อเหลือเกินที่อยู่ๆ คนร้ายก็มีความรู้สึกผิด มีคุณธรรมถึงได้นึกเห็นใจตัวประกันขึ้นมา
หรืออาจเป็นเพราะว่าคนร้ายยังเป็นมือใหม่ด้วยค่ะ ก็เลยทำให้ไม่ต้องการทำร้ายเหยื่อนั่นเอง

คอยดูแลตัวประกัน
แนวๆ นี้จะมาแบบอยู่ด้วยกันกับตัวประกันสองต่อสอง ความใกล้ชิดสนิทสนมและได้ดูแลเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็น
หาข้าวหาน้ำให้เหยื่อ ทำแผลให้เหยื่อเป็นสาเหตุหนึ่งของความเห็นอกเห็นใจที่เกิดขึ้นในใจคนร้าย
มาแนวละครไทยเลย ยิ่งใกล้กันยิ่งหวั่นไหว งั้นขอไม่ทำร้ายตัวประกันดีกว่า

เหยื่อสวย!
ข้อนี้พีคจริงอะไจริง แต่เหตุผลนี้ไม่ได้มาเล่นๆนะ ยิ่งถ้าคนร้ายเป็นผู้ชาย แล้วตัวประกันเป็นผู้หญิง (และสวย)
แล้วล่ะก็ โอกาสที่อยู่ๆ คนร้ายจะเห็นอกเห็นใจตัวประกันก็เพิ่มขึ้นด้วย (หน้าตาดีมีโอกาสรอดกตายสูงสินะ)

วาทศิลป์ของตัวประกัน
ตัวประกันอาจจะพูดโน้มน้าวจิตใจหรือพูดอะไรบางอย่างที่สะกิดต่อมคุณธรรมของคนร้าย คนร้ายก็เลยเห็นใจ
และปล่อยตัวมาในที่สุด

หนึ่งในทีมคนร้ายไม่เห็นด้วย
ข้อนี้เห็นจะเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว โดยเฉพาะกับคนร้ายที่มากันเป็นทีม หากมีใครสักคนไม่เห็นด้วยกับแผนการ
ที่วางไว้ ก็มีความเป็นไปได้มากที่จะเกิดการโต้เถียงหรือโน้มน้าวให้ยกเลิกแผนกัน

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1508571163-35.jpeg)

ผลกระทบจากลิม่า ซินโดรม

เขาจะเริ่มสงสารเหยื่อ
ไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ กับข้อนี้ เพราะเขาจะเริ่มคิดว่าเหยื่อเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาทำอยู่เลย
น่าสงสารชะมัด อะไรประมาณนี้

ตัวประกันไม่ใช่ศัตรู
ปกติคนร้ายมักจะมองตัวประกันเป็นศัตรูและพร้อมจะทำร้ายพวกเขาได้ทุกเมื่อ (ตามสเต็ปนิยายไทยเลย)
แต่พอเวลาผ่านไปเขาก็จะเริ่มเปลี่ยนความคิดนี้ และมองตัวประกันในฐานะใหม่ อาจเป็นฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ลดการข่มขู่หรือทำร้ายตัวประกัน
ล้อมาจากข้อที่แล้วเลยค่ะ เมื่อไม่เห็นว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูก็ย่อมเกิดความไว้วางใจตัวประกันมากขึ้น
รวมทั้งยังลดพฤติกรรมไม่ดีกับตัวประกัน สุดท้ายแล้วอาจนำไปสู่การที่ทำให้ตัวประกันเห็นใจเขาได้นะ

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1508571163-3772.jpeg)

จากพฤติกรรมลิม่า ซินโดรมที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบกับตัวประกันดังนี้

ถูกปล่อยตัว
เมื่อเห็นใจตัวประกันมากๆ แน่นอนว่าอาจทำให้มีโอกาสที่คนร้ายจะปล่อยตัวสูง

เกลี้ยกล่อมเพื่อนคนร้าย
หากคนร้ายเริ่มรู้สึกเห็นใจตัวประกัน พวกเขาอาจจะเกลี้ยกล่อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์คนอื่นๆ ให้เห็นด้วยไปกับเขา
ไม่ว่าจะเป็นล้มเลิกแผนการ หรือแม้กระทั่งปล่อยตัวประกัน

ปกป้องตัวประกัน
อย่างที่พูดไปแล้วว่านี่คือหนึ่งในอาการของคนเป็นโรคลิม่า ซินโดรม คนร้ายจะเริ่มดูแลเอาใจใส่ตัวประกัน
รวมถึงปกป้องตัวประกันด้วย

ตกหลุมรัก
นี่ไม่ได้เรื่องอำกันเล่นๆ เพราะเคยเป็นเรื่องจริงมาก่อนค่ะ ย้อนไปเมื่อปี 1974 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
หญิงสาวผู้เป็นลูกของมหาเศรษฐีอย่าง แพทริเซีย เฮิร์สท์ ถูกลักพาตัวไปเรียกค่าไถ่โดยกลุ่ม SLA
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นว่าเธอตกหลุมรักหัวหน้ากลุ่มและหันหัวเรือไปเข้าร่วมกับคนร้ายด้วย
โอ้โห อะไรจะพีคจริงจังขนาดนั้น ยิ่งกว่าละครไทยอีกนะเนี่ย

สต็อกโฮล์ม ซินโดรม
ยิ่งคนร้ายทำดีด้วยเท่าไร ยิ่งมีโอกาสที่ตัวประกันจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนร้ายมากขึ้น กลายเป็นว่านอกจาก
คนร้ายจะเป็นลิม่า ซินโดรมแล้ว ตัวประกันยังเป็นโรคสต็อกโฮล์ม ซินโดรมอีก นิยายจากเรื่องจริงเลยนะนั้น

(http://www.cmxseed.com/cmx_files/server/php/files/1508571163-3455.jpeg)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/LimaSyndrome
http://allday.com/post/3736-captive-for-years-famous-cases-of-stockholm-syndrome/
http://www.ipsnews.net/1996/07/peru-tale-of-a-kidnapping-from-stockholm-to-lima-syndrome/
http://strangesyndromes.blogspot.com/2013/09/27-lima-syndrome.html