-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร  (อ่าน 957 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

labk1200

  • บุคคลทั่วไป
ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร
« เมื่อ: 20 เมษายน 2009, 22:52:28 »


อีกหนึ่งความรู้ที่อยากแนะนำครับ khjhgg


แมลงเม่า หมายถึง ปลวกในวัยเจริญพันธุ์ มีปีก ชอบบินเข้าเล่นแสงไฟในยามค่ำคืน และมักจบชีวิตในเปลวไฟ

นักลงทุนรายย่อย หมายถึง ผู้คนซึ่งพอจะมีสตางค์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะทนต่อความยั่วยวนของราคาหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาไม่ได้ สุดท้ายมักจะหมดตัวไปกับหุ้นปั่น

ส่วนนิยามโดยสรุปของการปั่นหุ้น คือ การล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้น ที่มีราคาสูงหรือต่ำกว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาไม่สุจริต การเปรียบนักลงทุนรายย่อยว่าเป็นแมลงเม่า จึงเหมาะสมด้วยประการฉะนี้


ลักษณะของหุ้นที่นิยมปั่น
1) มีมูลค่าทางตลาด ( MARKET CAPITALISATION ) ต่ำ จะได้ไม่ต้องใช้จำนวนเงินมากในการไล่ราคา

2) ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ดี เพื่อที่นักลงทุนสถาบันจะไม่เข้ามาซื้อขายด้วย ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณ และราคาหุ้น

3) มีราคาต่อหุ้น ( MARKET PRICE ) ต่ำ ถ้าราคาต่ำกว่า 10 บาทยิ่งดี ด้วยเหตุผลสองประการ หนึ่งเป็นผลทางจิตวิทยา เช่น หุ้นถูกไล่ราคา จาก 3 บาท เป็น 6 บาท ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้นมา 100% แล้ว แต่คนยังรู้สึกว่าไม่แพง เพราะยังถูกกว่าราคาพาร์ ( PAR )

4) ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นนักลงทุนสถาบัน มักมีต้นทุนที่ราคาพาร์ หรือสูงกว่า แม้หุ้นจะขึ้นมามาก แต่ถ้าเขาเชื่อว่าแนวโน้มของธุรกิจดี เขามักจะไม่ขาย ( ถ้าแนวโน้มธุรกิจไม่ดี เขาก็ขายทิ้งไปนานแล้ว ) ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่านักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงในการซื้อขาย

5) มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมปริมาณหุ้นได้ตามที่ต้องการ

6) ผู้ถือหุ้นใหญ่รู้เห็นเป็นใจ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว จึงไม่สนใจเมื่อราคาหุ้นขึ้น หรือลงหวือหวามีข่าวดีมารองรับ ระยะหลังเริ่มมีการใช้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นมาเป็นตัวล่อใจนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้ตายใจว่าราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นมาสมเหตุสมผล เช่น ข่าวการปรับโครงสร้างหนี้ ,ข่าวการร่วมกิจการ , กำไรรายไตรมาสที่พุ่งขึ้นสูงเป็นต้น

ขั้นตอนในการปั่นหุ้น

1) การเลือกตัวหุ้น นอกจากจะต้องเลือกตัวหุ้นที่มีลักษณะตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ยังต้องมีการนับหุ้นด้วยว่าหุ้นตัวนี้ตอนนี้มีใครถืออยู่ในสัดส่วนเท่าไร หากจะเข้ามาปั่นหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยก็จะง่ายขึ้น

2) การกระจายเปิดพอร์ตการลงทุน จะเปิดพอร์ตกระจายไว้สัก 4 - 5 โบรกเกอร์ ในชื่อที่แตกต่างกัน มักจะใช้ชื่อคนอื่นที่ไว้ใจได้เช่น คนขับรถ , เสมียน , คนสวน เพื่อป้องกันไม่ให้โยงใยมาถึงตนได้

3) การเก็บสะสมหุ้น มีหลายวิธีทั้งวิธีสุจริต และผิดกฎหมายในลักษณะการลวงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ราคาหุ้นตัวนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปการเก็บสะสมหุ้น มีวิธีดังต่อไปนี้

* การทยอยรับหุ้น เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นลงมามากแล้ว ก็ใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นแบบไม่รีบร้อนวันละหมื่น วันละแสนหุ้น ขึ้นกับว่าหุ้นตัวนั้นมีสภาพคล่องมากน้อยขนาดไหน วิธีนี้เป็นวิธีสุจริตไม่ผิดกฎหมาย จะใช้เวลาในการเก็บหุ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน การกดราคาหุ้น ถ้าระหว่างที่กำลังเก็บสะสมหุ้น ยังไม่ได้ปริมาณที่ต้องการ เกิดมีข่าวดีเข้ามาหรือตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น เริ่มมีรายย่อยเข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้ ก็จะใช้วิธีขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาเป็นการข่มขวัญนักลงทุนรายย่อย ถือเป็นการวัดใจ นักลงทุนรายย่อยมักมีอารมณ์อ่อนไหว เห็นว่าถือหุ้นตัวนี้อยู่ 2 - 3 วันแล้วหุ้นยังไม่ไปไหน แถมยังมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา ก็จะขายหุ้นทิ้งแล้วเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นแทน สุดท้ายหุ้นก็ตกอยู่ในมือรายใหญ่หมด วิธีนี้จะใช้เวลา 5 - 10 วัน การเก็บแล้วกด วิธีนี้มักใช้เมื่อมีข่าววงใน ( INSIDE NEWS ) ว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะมีข่าวดีเข้ามาหนุน ถ้าหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่อง จะใช้วิธีโยนหุ้นไปมาระหว่างพอร์ตของตนที่เปิดทิ้งไว้รายย่อยเมื่อเห็นว่าเริ่มมีการซื้อขายคึกคัก ก็จะเข้าผสมโรงด้วย คนที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ก่อนนี้ไม่มีสภาพคล่อง จะขายหุ้นก็ขายไม่ได้ไม่มีคนซื้อ พอมีปริมาณซื้อขายมากขึ้นก็รีบขายหุ้นออก บางคนถือหุ้นมาตั้งแต่บาทหุ้นตกลงมาถึง 5 บาท พอเห็นหุ้นตีกลับขึ้นไป 5.5 บาท ก็รีบขายออก คิดว่าอย่างน้อยตนก็ไม่ได้ขายที่ราคาต่ำสุด ช่วงนี้รายใหญ่จะเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ

ขณะเดียวกันต้องคอยดูแลไม่ให้หุ้นมีราคาขึ้นไปเกิน 10 % เพื่อไม่ให้ต้นทุนของตนสูงเกินไปถ้าเกิดราคาสูงขึ้นมากจะใช้วิธีโยนขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา โดยให้พวกเดียวกันที่ตั้งซื้อ ( BID ) อยู่แล้วเป็นคนรับเมื่อได้จำนวนหุ้นตามที่ต้องการแล้ว สุดท้ายจะกดราคาหุ้นให้ต่ำลงมายังจุดเดิม โดยใช้วิธีโยนขายหุ้นโดยให้พวกเดียวกันตั้งซื้อเหมือนเดิม แต่จะทำอย่างหนักหน่วง และรวดเร็วกว่า ทำให้ราคาหุ้นลดอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้จะใช้เวลา 3 - 5 วัน รายย่อยบางคนคิดว่าหมดรอบแล้ว จะรีบขายหุ้นออกมาด้วย

รายใหญ่ก็จะมาตั้งรับที่ราคาต่ำอีกครั้ง ช่วงนี้จะตั้งรับอย่างเดียว ไม่มีการไล่ซื้อ หรือไม่ก็หยุดการซื้อขายไปเลยให้เรื่องเงียบสัก 4 - 5 วันเป็นการสร้างภาพว่าก่อนข่าวดีจะออกมา ไม่มีใครได้ข่าววงในมาก่อนเลย รอจนวันข่าวดีประกาศเป็นทางการ จึงค่อยเข้ามาไล่ราคาหุ้น

วิธีสังเกตว่าในขณะนั้นเริ่มมีการสะสมหุ้นแล้วคือ ปริมาณซื้อขายจะเริ่มมากขึ้นผิดปกติ จากวันละไม่กี่หมื่นหุ้น เป็นวันละหลายแสนหุ้น ราคาเริ่มจะขยับแต่ไปไม่ไกลประมาณ 5-10% มองดูเหมือนการโยนหุ้นกันมากกว่า กดราคาหุ้นจนกว่าจะเก็บได้มากพอ แล้วค่อยไล่ราคาหุ้น

ข้อระวังอย่างหนึ่ง คือ มีหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นตัวเล็กๆ นักลงทุนรายใหญ่มีข่าวอินไซด์ว่า ผลประกอบการงวดใหม่ที่จะประกาศออกมาแย่มาก หากภาวะการซื้อขายหุ้นตอนนั้นซึมเซา เขาจะเข้ามาไล่ซื้อ โยนหุ้นกันระหว่าง 2-3 พอร์ตที่เขาเปิดไว้ ให้ดูเหมือนรายใหญ่เริ่มเข้ามาเก็บสะสมหุ้นรายย่อยจะแห่ตาม รุ่งขึ้นรายใหญ่จะเทขายหุ้นขนานใหญ่ รายย่อยเริ่มลังเลใจ ขอดูเหตุการณ์อีกวัน
พอผลประกอบการประกาศออกมา ราคาก็หุ้นดิ่งเหวแล้ว รายย่อยจึงถูกดึงเข้าติดหุ้นราคาสูงในที่สุด

* การไล่ราคาหุ้น เมื่อได้ปริมาณหุ้นมากพอ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการไล่ราคา แต่การไล่ราคาต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนกัน หากจังหวะนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ รายย่อยก็จะขายหุ้นทิ้งเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสูงพอประมาณ แต่หากหาเหตุผลมารองรับได้ รายย่อยจะยังถือหุ้นไว้อยู่ เพราะเชื่อว่าราคาหุ้น น่าจะสูงกว่านี้อีก กว่าจะรู้สึกตัว ปรากฏว่ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งหมดแล้ว เหตุผลหรือจังหวะที่ใช้ในการไล่ราคา มักจะใช้ 3 เรื่องนี้

- ภาวะตลาดรวมเริ่มเป็นขาขึ้น กราฟทางเทคนิคของราคาหุ้นเริ่มดูดี มีข่าวลือ ซึ่งปล่อยโดยนักปั่นหุ้นว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานไปในทางที่ดีขึ้น

การไล่ราคา คือ การทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการคือ จะมีการเคาะซื้อครั้งละมากๆ แบบยกแถว แล้วตามด้วยการเสนอซื้อ ( BID ) ยันครั้งละหลายๆ แสนหุ้นจนถึงล้านหุ้น เพื่อข่มขวัญไม่ให้รายย่อยขายสวนลงมา
รายย่อยเห็นว่าแรงซื้อแน่น จะถือหุ้นรอขายที่ราคาสูงกว่านี้ รายใหญ่บางคนอาจจะแหย่รายย่อยด้วยการเทขายหุ้นครั้งละหลายแสนหุ้น เหมือนแลกหมัดกับหุ้นที่ตนเองตั้งซื้อไว้เอง รายย่อยอาจเริ่มสับสนว่ามีคนเข้ามาซื้อแต่เจอรายใหญ่ขายสวน ราคาจึงไม่ไปไหน สู้ขายทิ้งไปเสียดีกว่า รายใหญ่จะโยนหุ้นแหย่รายย่อยอยู่สัก 1-2 ชั่วโมง จากนั้นจะตามมาด้วยการไล่ราคาอย่างจริงจังทีละขั้นราคา ( STEP )

ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตลาด คนชอบซื้อขายกัน การไล่ราคาจะไล่แบบช้าๆ แต่ปริมาณ ( VALUME ) จะสูง ราคาเป้าหมายมักจะสูงขึ้นประมาณ 20-25% หากภาวะตลาดกระทิง ราคาเป้าหมายอาจจะสูงถึง 50% แต่ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตัวเล็กพื้นฐานไม่ค่อยดี ปริมาณการซื้อในช่วงเวลาปกติมีไม่มาก การไล่ราคาจะทำอย่างรวดเร็ว ราคาเป้าหมายมักจะสูงถึง 40-50% ถ้าเป็นภาวะกระทิง ราคาเป้าหมายอาจขยับสูงถึง 100%

ช่วงไล่ราคานี้อาจจะกินเวลา3 วันถึง1 เดือนขึ้นกับว่าเป็นหุ้นอะไรภาวะตลาดอย่างไรเช่นถ้าเป็นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะกินเวลาสั้นแต่ถ้าเป็นหุ้นพื้นฐานดีจะใช้เวลานานกว่าและถ้าเป็นภาวะกระทิงนักปั่นหุ้นจะยิ่งทอดเวลาออกไปเพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงที่สุดเท่าที่ตั้งเป้าเอาไว้

ในช่วงต้นของการไล่ราคานักลงทุนรายใหญ่อาจยังคงมีการสะสมหุ้นเพิ่มอยู่บ้างแต่รวมกันต้องไม่เกิน5% ของทุนจดทะเบียนในแต่ละพอร์ตที่ใช้ปั่นหุ้นอยู่พอปลายๆมือจะใช้วิธีไล่ราคาแบบไม่เก็บของคือตั้งขายเองเคาะซื้อเองเมื่อซื้อได้ก็จะนำหุ้นจำนวนนี้ย้อนไปตั้งขายอีกในราคาที่สูงขึ้นและเคาะซื้อตามอีก
ทำเช่นนี้หลายๆรอบสลับกันไปมาระหว่างพอร์ตต่างๆของตนเองค่อยๆดันราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆหากมีหุ้นของรายย่อยถูกซื้อติดเข้ามาจนรู้สึกว่าเป็นภาระมากเกินไปก็อาจมีการเทขายระบายของออกไปบ้างแต่เป็นการขายไม้เล็กๆในลักษณะค่อยๆรินออกไปเพื่อไม่ให้นักลงทุนรายย่อยตกใจเทขายตามมากเกินไปตัวหุ้นเองจะได้มีการปรับฐานตามหลักเทคนิคเพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหม่ที่ยังไม่ได้ซื้อจะได้กล้าเข้ามาซื้อ

การปล่อยหุ้น เมื่อหุ้นขึ้นมาได้80% ของราคาเป้าหมายแล้วระยะทางที่เหลืออีก20% ของราคาคือช่วงของการทยอยปล่อยหุ้นช่วงนี้จะเป็นช่วงชี้เป็นชี้ตายการลงทุนของนักปั่นหุ้นถ้าทำพลาดนักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทันหรือตลาดไม่เป็นใจเช่นเกิดสงครามโดยไม่คาดฝันนักปั่นหุ้นเองที่จะเป็นผู้ติดหุ้นอยู่บนยอดไม้จะขายก็ไม่มีใครมารับซื้ออาจต้องรออีก6 เดือนถึง1 ปีกว่าจะมีภาวะกระทิงเป็นจังหวะให้ออกของได้อีกครั้งอีกทั้งอาจจะไม่ได้ราคาดีเท่าเดิมหรือถึงกับขาดทุนก็ได้
วิธีการปล่อยหุ้นเริ่มจากการรอจังหวะที่ข่าวดีจะประกาศออกมาเป็นทางการนักปั่นหุ้นซึ่งรู้มาก่อนแล้วจะเริ่มไล่ราคาอย่างรุนแรง4-5 ช่วงราคามีการโยนหุ้นเคาะซื้อเคาะขายกันเองครั้งละหลายแสนหุ้นปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพื่อดึงดูดความสนใจของรายย่อย

เมื่อรายย่อยเริ่มเข้าผสมโรงนักลงทุนรายใหญ่จะตั้งขายหุ้นในแต่ละช่วงราคาไว้หลายๆแสนหุ้นและจะเริ่มเคาะนำส่งสัญญาณไล่ซื้อครั้งละ100 หุ้นบ้าง3,000 หุ้นบ้างหรือแม้แต่ครั้งละ100,000 หุ้นหลายๆครั้งเมื่อหุ้นที่ตั้งขายใกล้หมดเขาจะเคาะซื้อยกแถวพร้อมกับตั้งซื้อยันรับที่ราคานั้นทันทีครั้งละหลายแสนหุ้นถามว่าเขาตั้งซื้อครั้งละหลายแสนหุ้นเขากลัวไหมว่าจะมีคนหรือนักลงทุนสถาบันขายสวนลงมาคำตอบคือกลัวแต่เขาก็ต้องวัดใจดูเหมือนกันหากมีการขายสวนก็ต้องใช้วิธีเคาะซื้อแต่ไม่ใช้วิธีตั้งซื้อนักลงทุนรายย่อยเมื่อสังเกตว่ามีการไล่ซื้อจะเข้ามาซื้อตามนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งคอยนับหุ้นอยู่พอเห็นมีเหยื่อมาติดจะเคาะนำที่ราคาใหม่ที่สูงขึ้นอีกแต่เพื่อให้ไม่ต้องซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่มเขาจะเคาะซื้อไม้หนักๆก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขายอยู่เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเองสมมติตนเองตั้งขายไว้500,000 หุ้นเมื่อได้รับการยืนยันจากเทรดเดอร์ว่าเริ่มมีการเคาะซื้อจากนักลงทุนอื่นถึงคิวหุ้นของตนแล้วเช่นอาจมีคนเคาะซื้อเข้ามา10,000 หุ้นเขาจะทำทีเคาะซื้อเองตามอีก200,000 หุ้นเพื่อให้รายย่อยฮึกเหิมเมื่อซื้อแล้วเขาก็จะเอาหุ้น200,000 หุ้นนี้มาตั้งขายใหม่ยอมเสียค่านายหน้าซื้อมาขายไปเพียง0.5% แต่ถ้าสำเร็จจะได้กำไรตั้ง50-100% เพราะฉะนั้นการไล่ซื้อช่วงนี้จึงเป็นการซื้อหนักก็ต่อเมื่อซื้อหุ้นตนเองตบตารายย่อยขณะที่ค่อยๆเติมหุ้นขายไปทีละแสนสองแสนหุ้น

ส่วนการตั้งซื้อ( BID ) ที่ตบตารายย่อยว่าแรงซื้อแน่นนั้นหากสังเกตดีๆจะพบว่าเมื่อตั้งซื้อเข้ามาสองแสนหุ้นสามแสนหุ้นสักพักจะมีการถอนคำสั่งซื้อออกแล้วเติมเข้ามาใหม่เพื่อให้การซื้อนั้นไปเข้าคิวใหม่อยู่คิวสุดท้ายและจะทำอย่างนี้หลายๆครั้งนักลงทุนรายย่อยที่ตั้งซื้อเข้ามาจะถูกดันไปอยู่คิวแรกๆหมดและถ้าเขาเห็นว่านักลงทุนอื่นมีการตั้งซื้อเข้ามามากพอสมควรแล้วนักลงทุนรายใหญ่ก็จะมีการเทขายสลับเป็นบางครั้งเรียกได้ว่ามีทั้งการตั้งขายและเคาะขายพร้อนกันเลยทีเดียว

หากจะสรุปวิธีการที่ใช้ในช่วงปล่อยหุ้นนี้สามารถแบ่งออกได้4 วิธีการย่อย
มีการตั้งขายหุ้น( OFFER ) ไว้ล่วงหน้าหลายแสนหุ้นในแต่ละขั้นเวลาเริ่มเคาะซื้อนำครั้งละ100 หุ้น2-3 ครั้งและจะเคาะซื้อหนักๆก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขาย( OFFER ) เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเมื่อซื้อได้จะรีบนำมาตั้งขายต่อและจะมีการเติมขายหุ้นตลอดเวลาเมื่อหุ้นที่เสนอขาย( OFFER ) ใกล้หมดจะเคาะซื้อยกแถวแล้วตั้งเสนอขาย( BID )เข้ามายันหลายแสนหุ้นแต่จะทยอยถอนออกแล้วเติมเข้าตลอดเวลา

4) เมื่อหุ้นของคนอื่นที่ตั้งซื้อ( BID ) มีจำนวนมากพอจะมีการเทขายสวนลงมาเป็นจังหวะๆ

เขาจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆหุ้นในพอร์ตของตนเองจะค่อยๆถูกระบายออกไปและในสุดท้ายเมื่อข่าวดีได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้นเขาจะทำทีเคาะไล่ซื้อหุ้นตนเองอย่างหนักแต่จะไม่ตั้งซื้อแล้วเพราะกลัวถูกขายดังนั้นจึงเป็นภาพเหมือนมีคนมาไล่ซื้ออย่างรุนแรงแล้วอยู่ๆก็หยุดไปเฉยๆถามว่าแล้วเขาปล่อยหุ้นไปตอนไหนคำตอบคือเขาทยอยตั้งขายไปในระหว่างที่เขาทำทีซื้อนั่นเองผู้เคราะห์ร้ายคือรายย่อยที่ไปเคาะซื้อตามแต่รีรอที่จะขายเพราะเห็นว่ายังมีแรงซื้อแน่นอยู่สุดท้ายต้องติดหุ้นในที่สุด


บทสรุป

ตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นแหล่งระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญของประเทศชาติประชาชนทุกคนได้รับโอกาสให้นำเงินออมเข้ามาลงทุนกับบริษัทชั้นดีในตลาดหลักทรัพย์หากเขาเหล่านั้นลงทุนด้วยความรู้ความเข้าใจย่อมสามารถสร้างผลกำไรและความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัวแต่ถ้าเข้ามาลงทุนด้วยวิธีเก็งกำไรโดยปราศจากความรู้ย่อมมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้นที่มีอยู่มากมายในตลาดหุ้นได้

เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวเปรียบได้ดั่งสายฝนซู่ใหญ่ที่พัดสาดเข้ามาอีกครั้งแสงระยิบระยับของกระดานหุ้นเร้าใจแมลงเม่าไม่แพ้แสงไฟในฤดูฝนเหล่าแมลงเม่าน้อยใหญ่พากันโบยบินเข้าตลาดหุ้นและแล้วตำนานเรื่องเดิมของเหล่าแมลงเม่าก็เริ่มต้นอีกครั้ง

AZURA3232

  • บุคคลทั่วไป
Re: ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21 เมษายน 2009, 12:30:14 »

...........  ความหวังที่รอมานาน   คือการบินเข้ากองไฟ ..........................


แมงเม่า เกิดง่าย ตายง่าย  แต่ไม่เคย สูญพันธ์  ครับ   mnb mnb

ZOIDS

  • บุคคลทั่วไป
Re: ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 เมษายน 2009, 07:25:32 »

พึ่งรู้วันนี้แหละครับ ว่าเค้าทำไง  ujh