-->

ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารคนด้วยธรรมะ..สไตล์อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  (อ่าน 2602 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

GOWA

  • บุคคลทั่วไป

บทสัมภาษณ์นี้เอามาจากหนังสือ Secert ฉบับที่ 2
ซึ่งเป็นความเห็นของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ผู้สัมภาษณ์ : ขอเริ่มที่ความสำเร็จของอาจารย์ในวันนี้ว่ามีที่มาอย่างไร ? 


อ.เฉลิมชัย : มีธรรมะและมีสติเป็นธงชัยนำชีวิต รู้ตลอดเวลาว่า เรากำลังทำอะไร ไม่หวังจะกอบโกย รักในสิ่งที่ทำ มุ่งมั่นตั้งใจจริง ธรรมะสอนให้มีเป้าหมาย ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในโลกนี้ อย่างปราศจากทุกข์ เมื่อปราศจากทุกข์แล้ว เราจะมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์  ทำให้เจริญก้าวหน้า ทำอะไรก็สำเร็จ


ผู้สัมภาษณ์ : ทราบมาว่าที่วัดนี้มีพนักงานเป็นร้อย แต่ไม่มีปัญหาในการทำงาน อาจารย์มีหลักในการบริหาร จัดการอย่างไร ?


อ.เฉลิมชัย : ง่าย ! ใจต้องเป็นธรรมะมากที่สุด  ใจต้องไม่มุ่งให้เป็นของกู ไม่เอาเปรียบผู้อื่น  วัดนี้ไม่เคยมีปัญหา ไม่มีใครย้ายไปทำงานที่อื่น ไม่มีใครทอดทิ้งเรา ทุกคนอยู่ดีกินดี ทุกคนต้องอิ่ม ครอบครัวเขาต้องมีความสุข สวัสดิการเขาต้องดี ชีวิตครอบครัวเขาต้องดี ใจที่เป็นเมตตานั่นคือการบริหารที่ดีที่สุด   


ผู้สัมภาษณ์ : สวัสดิการมีอะไรบ้าง ?


อ.เฉลิมชัย : ให้ทุกอย่าง ให้โบนัสเหมือนที่อื่น  มีเงินให้ยืมฟรีในกรณีฉุกเฉิน ที่นี่เราประชุมกันทุกเดือน  หลังจากประชุมเสร็จก็จะถามถึงปัญหาครอบครัว ใครมีปัญหาบอกมา ลูกเรียนหนังสือฟรี รักาพยาบาลฟรี อยู่ดีกินดี ไม่ต้องเสียค่าน้ำค่าไฟ รักาโรคทุกอย่าง ตายเผาให้ ที่นี่เลี้ยงจนตาย ไม่มีเกษียณอายุ  แกล่งก็กวาดใบไม้ไป นี่ตายมา 3 คนแล้ว เราก็เผาให้ ไม่ใช่แค่ลูกสิษย์เรา ชาวบ้านเราก็ทำให้ ฟรีหมด รถขนศพ อาสนะ ไม่ต้องเสียเงินสักบาท ไม่ว่าใครตาย ไม่ว่ายากดีมีจน เราจ่ายให้ ศพละประมาณสองพันบาท อีกหน่อยเมรุเสร็จ คนงานเราก็เผาที่นี่เลย เผาฟรี


ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์กำหนดเงินเดือนโบนัสอย่างไร ?


อ.เฉลิมชัย : พนักงานเขากำหนดของเขาเอง ประชุมกันเอง เราสอนเขาในเรื่องคุณธรรม ไม่เห็นแก่ได้ ไม่เห็นแก่ตัว สอนมัชฌิมาปฏิปทา สอนธรรมะทุกอาทิตย์ สอนมาเป็นสิบ ๆ ปี ตั้งแต่มันเป็นคนชั่วจนกระทั่งเป็นคนดี ขี้เหล้าเมายา สำส่อน เลว กลายเป็นคนดีหมด เป็นคนชอบเลี้ยงคนเลวให้เป็นคนดี


          ที่นี่พนักงานจะมีอำนาจตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน หรืออะไร หัวหน้าฝ่ายรวม 13 ฝ่าย เราสอนเขาเรื่องประชาธิปไตย การบริหารวัด สอนหมด ผู้จัดการควรทำอะไร ผู้ช่วยผู้จัดการทำอะไร เลขาฯทำอะไร หัวหน้าฝ่ายทำอะไร คนล้างห้องส้วม คนสวน สอนเองหมด แล้วทำให้ดูด้วย

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ นี่สอนตั้งแต่พูดไมโครโฟน เริ่มจากจดให้แล้วบอก ?มึงมานั่งข้างกู กูพูดให้มึงฟัง แล้วมึงพูดตาม สอนๆๆ จนเดี๋ยวนี้มันเก่ง ฉิ..หาย ทุกอย่างสอนตัวต่อตัว จบ ป.6 ป.4 พอ ไม่ต้องเรียนจบสถาบันไหน มึงมาเรียนกับกู?


          วิธีสอนต้องสอนด้วยความเมตตา สอนด้วยการทำเป็นตัวอย่าง ไม่ได้สั่งอย่างเดียว เราทำทุกอย่างในวัดนี้ เช็ดถูพื้น กวาดขยะ กวาดใบไม้ ทำจนพวกมันเกรงใจ เมื่อก่อนต้องใส่หมวกเดินแทงขยะทั่ววัด ไม่พูดสักคำ แทงขยะ แทงใบไม้คนเดียว จนเดี๋ยวนี้ลูกศิษย์เห็นใบไม้หล่นอยู่ใบเดียวก็เก็บ เห็นเราจับไม้กวาดมันรีบวิ่งมาแย่ง ไม่เคยต้องถือไม้กวาดเลยตอนนี้ หาอะไรเก็บไม่ได้เลย


          เลิกงานแล้วพายุมา มันวิ่งกันมาหมดเลย มาจากบ้าน มาเก็บเต็นท์ เก็บของ กวาดใบไม้ที่ปลิว ถ้าฝนตกกลางคืน ตีห้ามาคอยดูเลยออกมายี่สิบสามสิบคน มากวาดใบไม้หมดในพริบตา นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการบริหารจัดการคน บริหารจนความรู้สึกในใจเขาเหมือนเรา มีความรักวัดเหมือนกัน มีความรับผิดชอบเหมือนกัน  มีความปรารถนาให้งดงามแก่ประชาชนเหมือนกัน


          สอนมันว่า ?บุญของมึงอยู่ใกล้กว่าคนอื่น มึงเก็บใบไม้ใบหนึ่งมึงเก็บขยะชิ้นหนึ่ง มึงดูแลด้วยความเป็นห่วงเป็นใยก็เป็นบุญของมึง มึงบริการประชาชนที่มาก็เป็นบุญของมึง มนุษย์คนอื่นสู้มึงไม่ได้เพราะต้องแสวงบุญ แต่บุญของพวกมึงอยู่ใกล้มึงตลอดเวลา?


          เงินเดือนสัมภาระของชีวิต แต่บุญคือสัมภาระของจิตวิญญาณต้องแสวงหาเอง


ปล.ทำไมช่วงนี้เข้าห้องธรรมะบ่อยวะเนี่ย หรือว่าแก่แล้ว

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
ธรรมะในการปกครอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 กันยายน 2008, 06:41:07 »

http://grathonbook.net/gbook/guestbook.php

3986
08.07.2008 12:47
นางมารร้าย


วันหนึ่ง  พระอาจารย์ปรารภเรื่องการเมืองการปกครองกับนางมารร้ายว่า
พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยบัญญัติไว้เลยว่าการปกครองแบบใดดีที่สุด เพราะท่านทราบว่าการปกครองจะดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคุณธรรมของผู้ปกครอง มิใช่ระบอบการปกครอง ท่านยังได้บัญญัติธรรมะสำหรับผู้ปกครองการปกครองระบอบต่าง ๆ ไว้ ทั้งการปกครองโดยพระราชา การปกครองแบบจักรวรรดิ และการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าการปกครองแบบสามัคคีธรรม
สำหรับการปกครองโดยพระราชา ท่านได้ให้หลักทศพิธราชธรรมสำหรับการปฏิบัติตนของพระราชา และราชสังคหะ ๔ อันหมายถึงแนวทางที่พระราชาจะให้การสงเคราะห์ประชาชน มีรายละเอียดดังนี้

หลักทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ มี
๑. ทาน คือ  การจัดสวัสดิการในด้านต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน
๒. ศีล คือ  การไม่เบียดเบียนประชาชนด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ปริจจาคะ คือ  สละได้แม้แต่ชีวิต เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
๔. อาชชวะ  คือ  ซื่อตรง จริงใจ รับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ
๕. มัททวะ คือ  ความอ่อนน้อม อ่อนโยน ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยเมตตา
๖. ตบะ  คือ  การตั้งใจละชั่ว ทำดี ทำเพื่อความสุขของคนหมู่มาก
๗. อักโกธะ คือ ระงับความโกรธ ไม่โหดร้ายต่อประชาชน
๘. อวิหิงสา  คือ  ไม่เบียดเบียน ไม่ขูดรีดประชาชน เก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม แล้วนำเงินภาษีอากรมาจัดสวัสดิการเพื่อประชาชน
๙. ขันติ  คือ อดทน อดกลั้น อดออมต่อสิ่งกระทบทั้งภายในและภายนอก กระทำการใดก็มุ่งความสุขของส่วนรวมเป็นใหญ่
๑๐. อวิโรธนะ  คือ มีความเที่ยงธรรม ให้รางวัลผู้ทำความดี ลงโทษผู้กระทำผิด โดยปราศจากอคติ

พระอาจารย์ว่า ถ้าบรรดาประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่าง ๆ นำเอาหลักธรรมนี้ไปใช้ ย่อมจะสร้างความสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กันยายน 2008, 19:18:19 โดย Nobody »

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
ธรรมะในการปกครอง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 กันยายน 2008, 07:44:14 »

http://grathonbook.net/gbook/guestbook.php

3988
08.07.2008 13:06
นางมารร้าย


มาว่ากันต่อค่ะ
ทศพิธราชธรรม เป็นแนวทางปฏิบัติตน  ส่วนแนวทางในการทำนุบำรุงราษฎร  มี ๔ ข้อ เรียกว่าราชสังคหะ ๔ มีดังนี้
 
๑. สัสสเมธะ  คือ  ฉลาดเรื่องบำรุงธัญญาหาร  ได้แก่  มีความรู้ในการกสิกรรมและเกษตรกรรม ทั้งด้านทฤษฎีและด้านการปฏิบัติ
ทั้งนี้เพื่อจะได้ริเริ่มโครงการ แนะนำแนวทาง หรือให้ประชาชนทำการกสิกรรม เกษตรกรรม ที่เหมาะสมกับภาวะการตลาด อันจะนำไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชาชน
๒. ปุริสเมธะ  คือ ฉลาดหลักบำรุงราชการ ได้แก่ การรู้จักใช้คนที่เหมาะสมกับงาน  โดยเฉพาะการใช้คนที่มีจิตใจเสียสละเพื่อความอยู่สุขของประชาชน
๓. สัมมาปาสะ คือ สมานสามัคคีในหมู่ชน ได้แก่ การส่งเสริมงานสหกรณ์การอาชีพด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนอาชีพนั้น ๆ รวมกลุ่มกันเพื่อเพิ่มการต่อรองกับพ่อค้าได้
๔. วาชาเปยยะ  คือ  เจรจาตรงกับใจ  ได้แก่  การรู้ว่าจะต้องใช้คำพูดอย่างไรกับคนประเภทใด สามารถใช้คำพูดที่เหมาะแก่ทุกบุคคลและสถานการณ์

พระอาจารย์ยังบอกว่า ประเทศไทยพัฒนาแบบก้าวกระโดดมากที่สุดก็ในสมัยรัชกาล ที่ ๕ เพราะผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ คือพระราชาที่เปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรมและพระปรีชาสามารถดังนี้ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช  จึงกลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาประเทศ 
ว่ามาถึงตรงนี้ นางมารร้ายรู้สึกอยากเปลี่ยนระบอบการปกครองคืนแบบเดิมจังค่ะ ไฉนเรามีบุญได้เจอพระราชาที่ทรงคุณธรรมและพระปรีชาสามารถ ปฏิบัติตามแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์เช่นนี้แล้ว แต่ทำไมอำนาจการปกครองกลับไปตกอยู่กับใครก็ไม่รู้..ฟ้าหนอฟ้า..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กันยายน 2008, 19:19:14 โดย Nobody »

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
ธรรมะในการปกครอง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 กันยายน 2008, 08:11:59 »

http://grathonbook.net/gbook/guestbook.php

3990
08.08.2008 08:09
นางมารร้าย


ต่อไป..เป็นการปกครองแบบจักรวรรดิ อันหมายถึงการปกครองที่มีแคว้นเล็กแคว้นน้อย อยู่ภายใต้การปกครองขององค์จักรพรรดิผู้มีอำนาจเด็ดขาด    

จักรวรรดิวัตร คือ หลักการปฏิบัติของนักปกครอง  ๕ ประการ ดังนี้

๑. ธรรมาธิปไตย  คือ  ถือธรรมเป็นใหญ่  เคารพในธรรม  ตั้งตนอยู่ในธรรม ถ้าผู้นำอยู่ในศีลในธรรม ประชาชนย่อมอยู่ดีมีสุข
๒. ธรรมิการักขา  คือ  ให้ความคุ้มครองโดยธรรม แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ตลอดจนดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มั่งคั่งสมบูรณ์
๓. มา อธรรมการ คือ กำจัดการอันอาธรรม์ ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง  นำประชาชนยึดธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
๔. ธนานุประทาน คือ แบ่งปันทรัพย์เฉลี่ยแก่ผู้ยากไร้ ได้แก่ การจัดการสวัสดิการด้านต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลน เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้สบายตามสมควร
๕. ปริปุจฉา คือ หมั่นสอบถามและศึกษาหลักธรรม จากพระสงฆ์หรือนักปราชญ์ที่ทรงความรู้ จะได้ประพฤติตนให้ถูกต้องตามหลักธรรม เพื่อนำประชาชนให้ไปสู่ความสุขโดยทั่วหน้ากัน

พระอาจารย์เคยบอกกับนางมารร้ายว่า พระเจ้าจักรพรรดิผู้ปกครองทวีปทั้งหมดตามที่พระพุทธเจ้าเอ่ยถึงนั้น จะไม่ปรากฏในช่วงพุทธกาล แต่จะเกิดในช่วงว่างเว้นศาสนาพุทธ ทั้งนี้เพราะท่านจะเป็นผู้นำอาณาประชาราษฎร์บำเพ็ญบุญ สร้างสมบารมี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กันยายน 2008, 19:19:54 โดย Nobody »

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
ธรรมะในการปกครอง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 06 กันยายน 2008, 09:20:23 »

http://grathonbook.net/gbook/guestbook.php

3997
08.08.2008 13:32
นางมารร้าย


การปกครองแบบสุดท้าย คือการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือในสมัยนั้นเรียกว่าการปกครองแบบสามัคคีธรรม คือเป็นการปกครองที่ในประเทศที่ประกอบไปด้วยแคว้นเล็กแคว้นน้อย ที่ต่างส่งตัวแทนของแคว้นตนมามีส่วนร่วมในรัฐบาล หรือสภาหรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก เพื่อดำเนินการปกครองร่วมกัน ในสมัยพุทธกาลมีแคว้นวัชชีที่ใช้การปกครองแบบนี้ แคว้นวัชชีประกอบด้วย ๗ แคว้นย่อย ส่งผู้แทนมาปกครองโดยประกอบด้วยผู้นำแคว้น ๑ ผู้ช่วยอีก ๑๐ แต่ละคนมีผู้ช่วยระดับรองลงมาอีก ๑๐ ซึ่งแต่ละคนนั้นมีทีมงานอีกคนละ ๑๐ เบ็ดเสร็จ ๗ แคว้นส่งคนเข้าคณะปกครองรวม ๗๐๐๗ คน

พระพุทธเจ้าแสดงอปริหานิยธรรม  ๗  แก่แคว้นวัชชี ซึ่งแคว้นวัชชีได้ยึดถือปฏิบัติตลอดมา ทำให้แคว้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ด้วยอปริหานิยธรรม  ๗ คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สังคมใดหวังความเจริญไม่มีเสื่อม ก็จำเป็นต้องมีข้อธรรมเหล่านี้ ได้แก่
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพื่อหาข้อสรุปว่า จะสร้างสรรค์ความเจริญในด้านใด อย่างไร ให้กับสังคมของเรา
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม  ย่อมแสดงออกซึ่งความสมัครสมานสามัคคีในสังคม ใครคิดจะรุกรานก็ต้องเกรงใจ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ ทั้งนี้หมายถึงไม่บัญญัติกฎหมายใดที่ขัดกับความดีความงามเดิมของสังคม และไม่ล้มล้างกฎหมายบ้านเมืองเดิมที่ช่วยให้สังคมดีงาม
๔. เคารพนับถือท่านผู้ใหญ่ที่ทรงศีลทรงธรรม หมั่นไต่ถามปรึกษาท่านที่มีประสบการณ์ในการสร้างความเจริญให้กับสังคม
๕. รักษาเหล่ากุลสตรีและกุมารีมิให้ถูกฉุดคร่าขืนใจ คือ ต้องมีกฎหมายลงโทษอย่างเด็ดขาดกับผู้ที่ข่มเหงคนดีงาม
๖. เคารพสักการะบูชาพระเจดีย์ ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุต่าง ๆ เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของบุคคลในสังคม
๗. จัดให้ความอารักขาอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ เพราะว่าพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมนำหลักธรรมอันจะสร้างความเจริญมาสู่สังคม

สังคมใดประกอบด้วยหลักอปริหานิยธรรม สังคมนั้นย่อมมีแต่ความเจริญไพบูลย์ ตราบใดที่ยังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ ตราบนั้นจะไม่พบกับความเสื่อมทราม
แคว้นวัชชีอันเจริญรุ่งเรืองด้วยธรรมนี้ เมื่อวาระกรรมมาถึง พระเจ้าอชาตศัตรูส่งวัสสการพราหมณ์ไปยุแหย่ให้แตกสามัคคีกัน จนเจ้าผู้ครองแคว้นย่อย ๆ ต่างเลิกปฏิบัติตามธรรมดังกล่าว เช่น ละเลยการประชุม เป็นต้น เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรูเข้าตีเมืองได้สำเร็จอย่างง่ายดายในที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กันยายน 2008, 19:20:26 โดย Nobody »

Lostman133

  • บุคคลทั่วไป

กว่าจะอ่านจบ ljhgf

coolman

  • บุคคลทั่วไป

 urhys  สุดยอดครับ
เเล้วจะ ก้อปปี้ ไปใช้บ้างนะครับ  อาจาร์ย