-->

ผู้เขียน หัวข้อ: นิทาน เรื่อง"พรหมแปลงกาย"  (อ่าน 772 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
นิทาน เรื่อง"พรหมแปลงกาย"
« เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2008, 02:43:23 »

เรื่องพรหมแปลงกาย

กาลครั้งหนึ่ง มีมนุษย์อาศัยอยู่ในโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งในโลกแห่งนี้มีแต่ความสวยสดงดงาม คนทุกคนมีรูปร่างหน้าตาที่สวยหล่อกันทุกๆ คน มีแต่ความสะอาด ไม่มีความสกปรก มีแต่ความหอม ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าใด ๆ เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่อยู่ในสังคมเหล่านั้นเลย อยู่มาวันหนึ่งมีพรหมองค์หนึ่งที่พึ่งจะออกจากนิโรธสมาบัติ (คือการที่พระอริยเจ้าตั้งแต่ระดับพระอนาคามีขึ้นไปเข้าสมาบัติ ๘ แล้วจิตดำดิ่งเข้าสู่สมาธิขั้นลึกที่สุด) แล้วถอยกำลังฌานลงมา เกิดนิมิตในสมาธิจิต เห็นมนุษย์ในโลกแห่งนี้เต็มไปด้วยความมัวเมา คือเห็นว่ากามารมณ์ (ความพึงพอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม และสัมผัสที่นุ่มนวล) นั้นคือความสุขอันยอดเยี่ยม พรหมองค์นั้นก็คิดว่า หากบุคคลที่อยู่ในโลกใบนี้เคยมีวาสนาต่อเรา เราจะทำลายความคิดเหล่านี้ให้สิ้นไป พอ ท่านตั้งจิตปั๊บ ภาพมันก็ปรากฎออกมาว่า ในสมัยหนึ่ง คนเหล่านี้เคยเกื้อกูลซึ่งกันและกันมา อาศัยในป่าอันไกลโพ้น เป็นชาวป่า ชาวดง เคยช่วยเหลือกันในการก่อสร้างบ้านเรือน เคยช่วยเหลือแบ่งปันอาหารอุปถัมภ์ค้ำชูกันมา พรหมก็คิดว่าถ้าบุญวาสนาบารมีเคยมีในชาติกาลก่อนนี้ การไปของเราคงเป็นผล
 

 พรหม ท่านก็เลยแปลงร่างให้กลายเป็นคนน่าเกลียด ผิวพรรณตะปุ่มตะป่ำ กลิ่นตัวเหม็น พูดออกมาก็เหม็น เดินไปตรงไหนก็เหม็น แล้วท่านก็เดินเข้าไปในหมู่คนที่มีความหมกมุ่นในกามารมณ์เหล่านี้ คนเหล่านั้นเห็นท่าน ก็ได้รู้สึกแปลกใจ ว่านี่คือตัวอะไร แล้วพวกเขาก็เรียกประชุมกันเพื่อถกปัญหาเรื่องนี้ แล้วผลสรุปก็ออกมาว่า ความฉิบหายมาปรากฎแก่พวกเราแล้ว คือหมายความว่ามีตัวกาลกิณีมาปรากฎในหมู่บ้านของเราแล้ว ร่าง พรหมที่แปลงมานี้ได้ทำให้เขาไม่มีความสุข เพราะพวกเขาเคยชินแต่การมองดูสิ่งที่สวยงาม เคยชินกับกลิ่นหอม ของหอม แต่พรหมที่แปลงมานั้นมีกลิ่นเหม็น ร่างกายน่าเกลียด คนเหล่านี้ไม่เคยสัมผัสกลิ่นที่เหม็นมาก่อน และก็ไม่เคยเห็นสิ่งที่มีรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดแบบนี้มาก่อน นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของพวกเขา พวกเขาจึงคิดว่ามันเป็นเสนียดจัญไร เป็นกาลกิณี และสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นต่อมาก็คือ ความเห็นแก่ตัวของคนเหล่า ๆ นี้ โดยพวกเขาได้ทำการขับไล่ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่เคยแสดงกิริยาวาจาขับไล่ซึ่งกันและกันมาก่อน แม้ถ้อยคำวาจาที่พวกเขาเคยใช้ เคยพูด ต่อกันนั้นก็มีแต่ถ้อยคำที่ดี ที่ไพเราะ แต่เขากลับพูดวาจาที่ไม่ดีกับพรหมที่แปลงมา ทั้งที่พวกเขาก็ไม่เคยกล่าวถ้อยคำวาจาที่ไม่ดีแบบนี้ มาเลยในกาลก่อน ไม่มีใครเคยสอนให้พวกเขาพูดคำหยาบแบบนี้ด้วย พวกเขาพากันขว้างปาสิ่งของที่อยู่ใกล้มือมาเขวี้ยงใส่ ขับไล่ไสส่ง จนพรหมที่แปลงมานั้นมีเลือดสาดออกมา แต่พรหมก็ไม่ตาย แต่ค่อย ๆ กระดื๊บ ๆ พยุงร่างกายที่มีเลือดโซม ตาบวม หัวปูด แขนหักงอ เพราะคนเป็นพันเป็นหมื่นมารุมเขวี้ยงของใส่เขา ซึ่งถ้าเป็นคนจริง ๆ ก็ตายไปแล้ว แต่เชื่อไหมว่าการปราบใจของคนนั้นมันมีเหตุผลอยู่ คนเรา น่ะหากไปประทุษร้ายต่อใครคนหนึ่ง แล้วเขาไม่ประทุษร้ายตอบ และคนที่ถูกประทุษร้ายนั้นเป็นคนไม่มีทางสู้ และไม่เคยกล่าวถ้อยคำวาจาใดที่หยาบคายต่อกันสักครั้ง ไม่เคยมีสายตาเคียดแค้นใด ๆ ออกมาสักนิดเมื่อถูกทำร้าย เป็นเธอ เธอจะเขวี้ยงเขาอีกครั้งไหม? ก็ไม่ ใช่มั้ย ก็ไม่มีใครหยิบสิ่งของขึ้นมาขว้างปาใส่อีกเป็นครั้งที่สองเลย
 
   

 พรหมที่แปลงมาก็ค่อย ๆ พยุงร่างกายขึ้นมาแล้วกล่าวถ้อยคำอันมีกลิ่นเหม็น ๆ ออกมาว่า ?ดูก่อน ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นผู้อยู่ในความเจริญดีแล้วรึ ท่านเห็นแก่กายแห่งเราอันเป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ต้องกับความปรารถนาของท่านทั้งหลาย จึงคิดทำลายร่างกายนี้ใช่มั้ยรึ? ?
 
 
 

   คนทุกคนเงียบสนิทเพราะไม่เคยได้ฟังคำตักเตือน หรือมีคนมาคอยชี้แนะ จึงเงียบสนิท พรหมที่แปลงมาจึงพูดต่ออีกว่า ?ท่าน ผู้เจริญทั้งหลาย แม้เราจะมีกายน่ารังเกียจ แต่ใจของเรานั้นเล่า ไม่เคยแสดงความหยาบออกมาให้ท่านทั้งหลายได้สัมผัสรู้แม้สักนิดเดียว ตรงกันข้ามกับท่านทั้งหลายผู้กล่าวว่าเป็นผู้มีรูปอันงาม คำพูดสรรเสริญรูปนี้คือความสุขของท่าน ผู้มีกลิ่นอันหอม เป็นผู้สรรเสริญกลิ่นหอมว่าเป็นความสุขของท่าน เป็นผู้ได้ลิ้มรสของอร่อย เป็นผู้สรรเสริญความสุขของท่านด้วยรส เป็นผู้ยินดีในความสัมผัส ในความอ่อนโยนอ่อนนุ่ม ในความสัมผัสที่เกิดความสุข ท่านผู้เจริญ กายวาจาใจของท่านเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความบริสุทธิ์แล้วรึ จึงได้มีกายผุดผ่องงดงามถึงเพียงนี้ เหตุแห่งเราผู้มีกายอันน่ารังเกียจ แม้นท่านจะประทุษร้ายเราเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานก็ไม่ปาน หากสักนิดแห่งวาจาแห่งเราก็ไม่เคยเพ่งโทษ ตำหนิติเตียนท่านสักนิดเดียวด้วยถ้อยคำอันหยาบ ไฉนเลยท่านผู้เจริญทั้งหลายผู้มีอริยธรรมอันสูง ผู้มีบุญปรากฎว่ามีรูปอันงดงาม เสวยสุขแห่งกามารมณ์อันยอดเยี่ยมในโลกแห่งนี้ หากมีสติสักนิดที่จะคิดถึงความเมตตาปราณี กับผู้ที่มีความทุกข์ยากลำบากแห่งเรา ก็ไม่เคยปรากฎ สมแล้วหรือท่านผู้เจริญเหล่านี้จะยังอุบัติ เกิดขึ้นด้วยความพอใจในรูป เสียง กลิ่น และรสสัมผัสที่ท่านได้เสวยแห่งความสุข? ? เป็นคำด่าที่เพราะ แต่ตอนพูด กลิ่นไม่มีแล้วนะ เงียบสนิท ทุกคนย่อตัวลงแล้วยกมือขึ้น ?ขอ ท่านผู้เจริญจงยกโทษให้แก่พวกเราเถิด อย่าให้ความวิบัติเกิดขึ้นแก่เราในเบื้องหน้าเลยเถิด อย่าให้ทุคคติจงได้บังเกิดแก่เราในเบื้องหน้าอีกเลย ขอท่านผู้เจริญจงเปล่งวาจาให้อภัยต่อเราเถิด จงอย่าทำความฉิบหายให้บังเกิดแก่พวกเราทั้งหลายเถิด ? พวกเขาก็ยกมือไหว้ พรหมที่แปลงมาก็ได้กล่าวว่า ?แม้น ความคิดแห่งจิตที่อาศัยร่างที่เน่าเปื่อยน่ารังเกียจนี้ที่จะมองพวกท่านด้วย ความเกลียดและโกรธก็หาไม่ ใยเล่าจะให้เราต้องให้อภัยต่อท่านทั้งหลายผู้ที่ไม่ได้ประทุษร้ายต่อเรา? ? และคนที่เป็นหัวหน้าของคนกลุ่มนี้ก็ได้กล่าวว่า ?เราทั้งหลายสิได้กระทำต่อท่านจริง ได้ประทุษร้ายจนกายของท่านเลือดอาบโซมขนาดนี้ จะกล่าวว่าเราไม่ได้ประทุษร้ายต่อท่านได้อย่างไร?พรหมก็กล่าวว่า ?ดูก่อน ท่านทั้งหลาย ท่านลองมองดูดี ๆ  ตัวท่านเองนั่นแหละเป็นผู้ประทุษร้ายตัวของท่าน เราหาได้เป็นผู้ถูกประทุษร้ายไม่ ? (เพราะ คนเหล่านี้เป็นผู้ทำให้ตนเองเดือดร้อนจากความไม่พอใจ จากความขาดความเมตตา ทำให้จิตใจของตนเองมีความรุ่มร้อนจึงกล่าวได้ว่าคนเหล่านี้ทำร้ายตัวเอง) คนเหล่านั้นก็เงียบ แล้วหันมามองตัวเอง แล้วยกมือขึ้นพนมกล่าวว่า?คำพูดของท่านช่างเป็นวาจาอันไพเราะยิ่ง ขอให้ท่านได้มานั่งที่นี่เถิด ? แล้วพวกเขาก็ได้จัดอาสนะให้ และนำน้ำหอมที่หอมที่สุดมาชโลมอาสนะ เอาผ้าเนื้อดีมาวาง จัดอาหารที่มีรสเลิศมาให้ เตรียมเสื้อผ้าที่ดี ๆ มาให้
 
 
 

   พรหมที่แปลงมาก็ได้กล่าวว่า ?สิ่งเหล่านี้มิใช่ความสุขของใจเรา แต่เราเห็นควรแก่ใจของท่านที่ได้สำนึกแล้วว่าได้กระทำผิด ? แล้ว จึงขึ้นไปนั่งบนอาสนะ พอท่านนั่งปั๊บ กายที่เน่าเปื่อยของพรหมก็ได้เปลี่ยนเป็นกายที่สวยงาม มีแสงเรืองรองออกมาจากร่างกายอย่างสว่างไสว คนเหล่านั้นก็พลัน สะดุ้ง ขึ้นในจิตว่าเรานี้ได้ทำผิดไปมาก ที่มัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จนไม่ได้คำนึงถึงความเมตตาและปราณี มีแต่หลงว่ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเหล่านี้ คือความสุขแล้ว ติดอยู่ในความสุขอย่างนี้ ต่างคนก็ต่างคิด พรหมองค์นั้นจึงกล่าวถ้อยคำเป็นคาถาว่า ?ขึ้นชื่อว่าความสุขอันยอดเยี่ยมคือความระงับแล้วซึ่งกิเลสและตัณหา ขอให้ท่านทั้งหลายจงกลับมาพิจารณา ความสุขอันยอดเยี่ยมที่ท่านมีอยู่ตอนนี้ว่าหาควรแก่พวกท่านไม่ ท่านจงเป็นผู้ตั้งใจทำเนกขัมมะให้เกิดเถิด ? แล้วพวกเขาก็ถามว่าเนกขัมมะคืออะไร พรหมก็ตอบว่า ?เนกขัม มะก็คือการตั้งจิตให้เต็มไปด้วยความเมตตาและสงสารคน เป็นผู้ยินดีในความดีของผู้อื่นเสมอ เป็นผู้ไม่ข้องแวะในสิ่งที่เป็นกฎของความเป็นจริง เป็นอยู่อย่างนั้น เนกขัมมะคือผู้ไม่เห็นความรู้สึกหรือพึงพอใจในรูป ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระสับกระส่าย ไม่แสวงหา ไม่หลงว่านี่คือความสุข เนกขัมมะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่คิดหรือคำนึงถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ว่าจะยังให้เรามีความสุข จนเกิดความกระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน ท่านทั้งหลายผู้มีบุญมามากดีแล้ว จงพึงปฏิบัติตามนี้เถิด ? แล้วคนเหล่านั้นก็พากันละความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สิ่งที่เคยวุ่นวาย เขาก็ละความวุ่นวาย เขากลับมามีจิตใจที่เต็มไปด้วยความเมตตาปราณี และทำอยู่อย่างนี้จนละอัตภาพไป ตายแล้วก็กลายเป็นพรหมอยู่บนพรหมโลก
 

จบภาค ๑
http://tales.me/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2008, 02:52:20 โดย Nobody »

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
Re: นิทาน เรื่อง"พรหมแปลงกาย"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 มกราคม 2009, 19:34:45 »

หลังจากที่คนเหล่า ๆ นั้นบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีจนสิ้นจากความเป็นมนุษย์ไปแล้วนั้น พวกเขาก็ได้ไปเกิดในแดนพรหม แล้วก็จุติลงมา แต่ไม่ได้เป็นมนุษย์หรอกนะ พรหมแต่ละองค์ต่างก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เธอคงสงสัยว่าทำไม ในเมื่อบุญญาธิการของคนเหล่า ๆ นี้ก็มี เพราะเป็นผู้เปี่ยมไปด้วยเนกขัมมะบารมี ทำไมจึงต้องมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คำตอบก็คือว่า ท่านพรหมผู้ที่เป็นหัวหน้าของพรหมกลุ่มนี้เป็นผู้บอก ให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพื่อทำลายทิฐิมานะ ความถือตัวถือตนที่ยังมีเชื้ออยู่ในจิต เพราะว่าการเป็นสัตว์เดรัจฉานนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ได้ยกย่อง ไม่ให้ความสำคัญ เหมือนเป็นสิ่งไร้ค่า จะประทุษร้ายย่ำยีอย่างไรก็ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการปรามและปราบใจที่พยศ ที่เป็นปัจจัยของการเกิดในเบื้องหน้า (การเวียนว่ายตายเกิด) ของบุคคลเหล่านี้ ที่จะต้องเกิดมาเป็นผู้หลงผิด แม้ว่าคนเหล่านี้จะเคยทำเนกขัมมะบารมีมาก่อน ก็อย่าคิดว่าจะไม่มีสิทธิ์หลงนะ (ความหลงผิดที่เป็นปัจจัยให้ยังคงต้องมาเวียนว่ายตายเกิด) มันยังมีเชื้ออยู่ในใจในเรื่องมานะ (ความถือตัวถือตน) เขาจึงต้องให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเพื่อเป็นการปราบใจของตน
 
พรหมที่เป็นหัวหน้าก็ลงมาเกิดเป็นพญาราชสีห์ ส่วนพรหมองค์อื่น ๆ ก็เกิดเป็นสัตว์ต่างชนิดกัน บางคนเป็นสัตว์เล็ก บางคนเป็นสัตว์ใหญ่ บางคนเป็นสัตว์ที่น่าสะพรึงกลัวอย่างเสือ เป็นลิง เป็นกวาง เป็นเก้ง เป็นกระต่าย อยู่ในป่าเดียวกัน เพื่อให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างมีเมตตาต่อสัตว์ต่างชนิด แต่เมื่อเหล่าพรหมทั้งหลายมาเกิดแล้วก็ไม่สามารถจะจดจำสัญญา (ความทรงจำในอดีต) ต่าง ๆ ในกาลก่อนได้ พวกเขาต้องเริ่มต้นในการฝึกทุกอย่าง เธอลองคิดสิว่า คนที่สะสมเชื้อความหลงผิดมานานนักหนาน่ะและจะต้องทำการต่อสู้ให้มีชีวิตรอด อยู่ได้ด้วยอาหาร มีหรือที่จะไม่ประทุษร้ายต่อกัน มีแน่ ๆ เขาเหล่านี้ก็ประทุษร้ายต่อกันเพื่อมาเป็นอาหาร บางคนถึงตายแล้วก็เกิดใหม่อีก ไม่ได้ตายแล้วไปเลยนะ เพราะมันเป็นคำสั่งจากพรหมองค์ที่เป็นหัวหน้า ที่เหล่าพรหมทั้งหลายจะต้องกลับมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานต่อไปอีก จนกว่าจะสามารถละทิฐิมานะออกจากใจของตนได้แล้ว ถึงจะไม่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ อีก เหมือนเป็นคำแช่งจากพรหม แล้วพวกสัตว์เหล่านั้นเขาก็กินกันเอง เกิดมาใหม่ก็ฆ่ากันเพื่อมาเป็นอาหาร ต่างคนก็ต่างประทุษร้ายกัน ส่วนพญาราชสีห์ที่เป็นพรหมที่เป็นหัวหน้าก็ไม่ได้ทำอะไร หากแต่ปล่อยให้มันเป็นไปตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ เพราะในการจะสอนน่ะ มันไม่ใช่ว่าจะไม่ต้องให้พวกเขานั้นทำอะไรเลย แล้วให้คอยนั่งฟังอย่างเดียว แล้วจะให้ไปบอกระงับความหลงผิดได้ มันต้องเจอของจริงก่อน
 
 พรหมองค์ที่เป็นหัวหน้าที่มาเกิดเป็นพญาราชสีห์ ก็รอจนกระทั่งเหตุการณ์มันเป็นไปอย่างนี้เป็นเวลา ๑๐๐ ปี เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เพราะอายุของสัตว์เหล่านี้ไม่นาน ไม่เกิน ๑๐ ปี ตายแล้วเกิดอยู่อย่างนี้ ถึงวันหนึ่งที่พญาราชสีห์คิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องมาปราบใจของสัตว์เหล่า ๆ นี้ให้รู้สึกในความคิดของตนว่า ที่ทำอยู่น่ะมันผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง พญาราชสีห์ก็ส่งเสียงคำรามออกมาจากในป่าด้วยภาษาที่สัตว์ต่างก็รู้กันว่า  ?สัตว์ทั้งหลาย ท่านมีชีวิตอยู่ก็เหมือนหาชีวิตไม่ ตายก็เหมือนไม่ตาย จะเป็นหรือจะตายก็ไม่เท่ากับว่ามีชีวิต พวกท่านมีชีวิตที่เป็นโมฆะ? สัตว์เหล่านั้นได้ฟังก็ประหนึ่งดังกับมีสิ่งหนึ่งมาเคาะที่หัวใจของพวกเขา มันเป็นคำพูดที่ประหนึ่งว่าเหมือนโดนดุโดนด่าอย่างไรไม่รู้ ต่างคนก็ต่างมารวมกันโดยไม่ได้นัดหมายอยู่ในทุ่งแห่งหนึ่ง พญาราชสีห์ก็ยืนอยู่บนโขดหินสูงแล้วมองลงมาในหมู่เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย แล้วเปล่งวาจาว่า ?พวกท่านเป็นผู้ตั้งตนอยู่ในความประมาท ที่ไม่เคยให้ความเมตตาปราณีต่อกันและกันเลย เสียแรงที่พวกท่านได้เคยฝึกเนกขัมมะบารมีมาในกาลก่อน เวลาของท่านแทบจะไม่มีค่าอีกแล้ว หากท่านยังประพฤติตนเช่นนี้ที่ไม่เห็นแก่ชีวิตของใครแล้วล่ะก็ ท่านก็จะไม่มีโอกาสได้เป็นมนุษย์อีกเลย ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอย่างนี้อีก อย่างเลวพวกท่านก็ลงไปเกิดในนรก แล้วก็ต้องกลับมาเป็นสัตว์เดรัจฉานอีก? สัตว์เหล่านั้นต่างก็มีความสะดุ้งหวาดกลัว แล้วมีสัตว์อยู่ตัวหนึ่งพูดขึ้นว่า ?ท่านผู้เจริญ ท่านช่วยชี้ทางให้แก่พวกเราเถิด เราไม่อยากเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เราไม่อยากหิวโหยแบบนี้ เราไม่อยากประทุษร้ายกันแบบนี้ แต่เราไม่สามารถจะยับยั้งตัวเราให้เป็นไปตามที่ท่านพูดได้เลย? พญาราชสีห์ก็ตอบว่า ?เป็นได้สิ ท่านทั้งหลาย หากท่านรู้จักคำว่าสะดุ้งและหวาดกลัว? แล้วสัตว์เหล่านั้นก็ถามว่า ?พวกเราต้องกลัวอะไร???พวกท่านต้องกลัวการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน? พญาราชสีห์ตอบ เหล่าสัตว์ทั้งหลายเขาก็บอกว่าพวกเขากลัว ?และพวกท่านก็ต้องรู้สึกละอายผลของการที่ท่านทำความชั่วไว้แบบนี้ ที่ทำให้พวกท่านต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่  รู้จักจบจักสิ้น? พญาราชสีห์พูดต่อ นี่เขาสอนอะไร? เขาสอนหิริ-โอตตัปปะ คือความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป ?พวกท่านต้องรู้จักละอายและเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ทำนี้ พวกท่านต้องนำเอาสิ่งนี้เป็นเครื่องเตือนสติไว้เสมอ?
 
เมื่อพญาราชสีห์พูดจบ เขาก็ไป แล้วสัตว์เหล่า ๆ นั้นก็พากันไปนั่งทบทวนอยู่กับตัวเอง ต่างคนต่างก็เตือนใจตนเอง จนค่อย ๆ บรรเทาความอยากกินลงไป โดยอาศัยความคิดที่ว่า  ?ถ้าเรายังคงทำอย่างนี้อีก เราก็จะไม่มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ และเป็นอย่างอื่นที่ดีกว่านี้อีก เราจะต้องมาเป็นอยู่แบบนี้ จะต้องมาทรมานกับสภาพแบบนี้? พวกเขายั้งใจของเขาไว้อย่างนั้น ยั้งใจเอาไว้ได้จนกระทั่งดวงจิตทุกดวงของสัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นสามารถหยุดยั้งการทำร้ายต่อกันได้ มีคุณธรรมของหิริโอตตัปปะ เมื่อสัตว์ทุกตัวสามารถยับยั้งใจไว้ได้แล้วนั้น พญาราชสีห์ก็มาปรากฎตัวขึ้นใหม่แล้วกล่าวว่า ?ท่านทั้งหลาย เราเห็นแล้วว่าพวกท่านระงับซึ่งความกลัว กลัวที่จะต้องเกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน? นั่นคือเขาสามารถระงับใจ จนไม่มีความรู้สึกกลัว ว่าตนเองจะพลาดมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้อีก จิตของเขาไม่มีความคิดจะประทุษร้ายใคร จิตของเค้ามีแต่ความเมตตาสงสาร แม้ว่าจะมีสัตว์อื่น ๆ อยู่ตรงหน้าของตน ซึ่งสามารถจะมาเป็นอาหารแก่เขาได้ เขาก็ไม่คิดที่จะประทุษร้ายกัน แล้วพญาราชสีห์ก็พูดต่อว่า ?ขอให้ท่านจงตั้งใจมองในสิ่งที่ท่านเป็นอยู่เถิด ว่าร่างกายของท่านน่ารังเกียจไหม?? ต่างคนก็ต่างดู เขาก็พูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า ?นี่หรือเรา นี่หรือคือตัวเรา ตัวเราเป็นอย่างนี้หรือ? แล้วพวกเขาก็ระลึกชาติได้ว่า ตัวของเขาเคยเป็นผู้ที่สวยงาม เคยเป็นผู้ที่ยินดีในกามารมณ์มาก่อน พวกเขาจึงละอายใจมาก ๆ ว่าเรานี่ไม่สามารถจะทำลายความชั่วในจิตใจของเราได้อย่างมั่นคงเลย เพียงแค่ผ่านไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง เราก็กลับมาทำความชั่วแบบนั้นอีก แล้วพวกเขาก็ถามตัวพญาราชสีห์ว่า ?แล้วเมื่อไรที่เราจะไม่ต้องกลับมาเป็นแบบนี้อีก?? พญาราชสีห์ก็ตอบว่า ?เมื่อท่านทั้งหลายเห็นโทษของการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เห็นโทษของความหิวโหย เห็นโทษของรูป เห็นโทษของสิ่งเหล่า ๆ นี้แล้ว ท่านก็จะไม่มีโอกาสกลับมาเกิดเป็นสิ่งเหล่า ๆ นี้อีก? แล้วสัตว์ทุกตัวก็พากันเพ่งโทษโจทก์ความชั่วของตนเองว่า เรานี่เลวนัก เรานี่มีความหลงผิดนะ เราถึงต้องมาเป็นแบบนี้ เรานี่มีจิตใจหยาบคาย ประทุษร้ายต่อคนอื่น ๆ ได้โดยไม่รู้สึกสงสารในความทรมานของเขาเลย เรานี่มันชั่วเหลือเกิน จนกระทั่งพวกเขารู้สึกละอาย อายมาก เกลียดตัวเองมาก เกลียดความคิดแบบนี้มาก จนรู้สึกอยากจะตายไปเสีย
 
 แต่ในขณะนั้นก็ได้มีเสียงหนึ่งดังกังวานขึ้นมาว่า  ?ท่านผู้เจริญ เหตุใดเล่าท่านถึงต้องกล่าวถ้อยคำวาจาว่าอยากตาย ในเมื่อท่านเป็นผู้ไม่ตาย ทำไมถึงกล่าวคำวาจาว่าอยากตาย?? สัตว์เหล่านั้นต่างก็อึ้งกิมกี่ คิดไม่ทัน ไม่เข้าใจว่าทำไมเราไม่ตาย ในเมื่อเราเกิดมาแล้วเราก็ตายนี่ ตายแล้วก็ตายอีกอยู่นี่นา แล้วพญาราชสีห์ผู้เป็นเจ้าของเสียงนั้นท่านก็ตอบว่า ?ท่านไม่ได้ตาย ที่ท่านต้องมีรูปที่น่ารังเกียจ มีความเขลาโง่ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์โทษในการเกิดไม่จบไม่สิ้น นั้นเป็นเพราะว่า ความหลงผิดของท่านน่ะ มันไม่ได้ตายออกไปจากใจของท่านต่างหากเล่า เราจึงได้กล่าวว่าท่านไม่ได้ตาย ตัวท่านน่ะไม่ตาย เพราะยังมีความคิดโง่ ๆ ที่มันยังไม่ตาย มันคือความหลงโง่ ๆ น่ะที่ไม่ตาย? (เมื่อยังมีความหลงผิดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และกิเลสอื่น ๆ อยู่ มันทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้อีก ทำให้เกิดมาตายอีกกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง มันก็ยังไม่สามารถจะตายจริง ๆ โดยที่ไม่ต้องมาเกิดใหม่ได้อีก) สัตว์เหล่า ๆ นั้นต่างก็พิจารณากันว่า ?อ๋อ มันเหตุนี้เองที่พญาราชสีห์จึงได้กล่าวถ้อยคำนี้ พวกเขาจึงหยุดความคิดอยากตาย ความคิดที่จะอยากฆ่าตัวตาย เขาจะคิดแต่ว่ามันจะตายเมื่อไรก็ช่าง แต่เราจะไม่ยอมให้ความดีที่เราตั้งใจทำนั้นตายไปกับกายนี้ และจะไม่ยอมให้สิ่งที่เป็นความชั่วมันกำเริบขึ้นมาในใจของเราอีก เราขอตั้งสัตยาธิษฐานว่า เราจะไม่ยอมทำความชั่วอย่างนี้อีกไม่ว่าเราจะเกิดชาติไหน ๆ? หลังจากนั้นเมื่อพวกเขาเปล่งวาจาจบ กายทุกกายที่เป็นสัตว์เดรัจฉานนั้นก็ล้มตึง ดวงจิตเหล่า ๆ นั้นก็กลายเป็นกายละเอียด สวยงาม มีรัศมีกายสว่าง ลอยขึ้นไปเสวยทิพยสมบัติที่สวรรค์ พอไปที่สวรรค์ก็เป็นเหตุอันแน่นอนที่พวกเขาจะไม่ทำชั่วอีกแล้ว (เพราะพวกเขาต้องทรงคุณธรรมของความเป็นเทวดาซึ่งก็คือ หิริ โอตตัปปะ) เขาต้องการทำความดีให้ถึงที่สุด จึงเป็นเหตุให้พวกเขาได้พบกับพระพุทธเจ้าบนสวรรค์ (พระพุทธเจ้าท่านทรงเสด็จมาเทศน์บนสวรรค์เป็นประจำ) เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบ พวกท่านเหล่านั้นต่างก็จบกิจเป็นพระอรหันต์กันหมด ความหลงผิดในใจของพวกเขาได้ตายไปจนหมดสิ้นแล้ว เว้นแต่พรหมที่เป็นพญาราชสีห์องค์เดียวเท่านั้น

http://tales.me/

shinpe uhah

  • บุคคลทั่วไป
Re: นิทาน เรื่อง"พรหมแปลงกาย"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 21 เมษายน 2009, 19:34:21 »

ขอบคุณครับสำหรับสาระดีๆ