-->

ผู้เขียน หัวข้อ: แฟรนไชส์" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส  (อ่าน 1765 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
แฟรนไชส์" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 04:44:56 »

เผยผลสำรวจ "ธุรกิจแฟรนไชส์" เมืองไทย ขุมทรัพย์เกือบ 1 ล้านบาท ที่มีอัตราการเติบโตกว่า 25% สวนกระแสเศรษฐกิจ จากเดิมที่ถูกตราหน้าว่าเป็นธุรกิจที่ไม่มีความมั่นคง แต่ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์กลับเป็นธุรกิจยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือน แถมยังเป็นธุรกิจขัดตาทัพที่พร้อมจะก้าวไปสู่โอกาสธุรกิจใหม่ของนักธุรกิจมืออาชีพ ยิ่งภาวะเศรษฐกิจขาลงยิ่งทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์พลิกวิกฤตเป็นโอกาส...


การสำรวจกลุ่มแฟรนไชซื่ ทั้งผู้ที่กำลังทำกิจการอยู่ และผู้ที่ไม่ได้ทำแล้ว รวมทั้งสิ้น 300 ราย ในปี 2551 โดยเปรียบเทียบวิเคราะห์กับผลที่ผ่านมาเมื่อปี 2548-2549 มีผลดังนี้ กลุ่มที่ศึกษาคือ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ โดย 61% เปิดกิจการในต่างจังหวัด 39% อยู่ในกรุงเทพฯ ที่ทำธุรกิจด้านต่างๆ ใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้ 1.บริการ 29%, 2.การศึกษา 26%, 3.อาหาร-เครื่องดื่ม 22%, 4.ค้าปลีก 21% และ 5.อื่นๆ 2%

ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ กลุ่มที่ศึกษานี้ยังทำแฟรนไชส์อยู่ 85% มีเพียง 15% เท่านั้นไม่ได้ทำธุรกิจแฟรนไชส์แล้ว โดยมีอายุในการเปิดธุรกิจที่คละเคล้ากันไปมีทั้งที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ 1-2 ปี และทำมาแล้วกว่า 3-4 ปี และทำมาแล้วกว่า 5 ปีขึ้นไปในจำนวนที่ใกล้เคียงกันอีกเช่นกัน

นางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ วิเคราะห์ว่า ต้องยอมรับว่าในอดีตเมื่อประมาณกว่า 10 ปีก่อนคนยังไม่รู้จักธุรกิจแฟรนไชส์เท่าไดนัก ซึ่งผิดจากปัจจุบันแฟรนไชส์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจนมีผู้ที่คร่ำหวอดในวงการประเมินว่ามีเม็ดเงินสะพัดในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 80,000 ล้านบาท กันเลยทีเดียว ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาระยะหนึ่งเปิดมานาน แบรนด์เป็นที่รู้จักก็สามารถปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างคงทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงในที่สุด

โดยจะเห็นได้จากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้านผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisaw) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% และผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ก็มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% อย่างต่อเนื่องมาตลอดเช่นกัน

"ปัจจุบันคนทั่วไปเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์ดีขึ้น และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผลต่อธุรกิจแฟรนไชน์ เพราะที่ผ่านมาการเลิกธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่เกิดผลกรทบจากภาวะเศรษฐกิจไม่มี เท่าที่สังเกตการเลิกธุรกิจของผู้ประกอบการมาจากทำเล สัญญาเช่า และการย้ายที่อยู่เจ้าของธุรกิจเอง ในทางตรงกันข้ามภาวะไม่มีความมั่นคงเศรษฐกิจเป็นโอกาสธุรกิจในการมองหาธุรกิจใหม่ๆ ทดแทนธุรกิจเดิม" นางสาวสมจิตร วิเคราะห์ชี้ให้ห็นภาพอย่างน่าสนใจ

"มนุษย์เงินเดือน" หลงเสน่ห์แฟรนไชส์

หากมองไปที่ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จากผลการสำรวจในครั้งส่วนใหญ่เป็นของคนทำงานอายุ 30 ปีขึ้นไป อายุระหว่าง 30-40 ปี มีสัดส่วนมากที่สุด 50% ถือเป็นวัยสร้างเนื้อสร้างตัว โดยมีระดับการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป ที่มีอาชีพเดิมเป็นพนักงานบริษัทหรือกลุ่มมนุษย์เงินเดือน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากทุกครั้งที่สำรวจอาชีพเดิม ส่วนใหญ่จะเป็นที่ที่มีกิจการอยู่ก่อนแล้ว รองลงมาอายุ 40-50 ปี ในสัดส่วน 30%, อายุ 20-30 สัดส่วน 15% และอายุ 50-60 ปี สัดส่วน 5% ตามลำดับ

ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2551 เป็น "พนักงานบริษัท" ถึง 50% ขณะที่ในปี 2548 มีเพียง 34% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพนักงานบริษัทสนใจเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ขณะ "เจ้าของกิจการ" ในปี 2551  มีสัดส่วน 38% ลดลงจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 40% ที่น่าสนใจที่สุด "ข้าราชการ"  ในปี 2551 ทำธุรกิจแฟรนไชส์อยู่เพียง 3% ขณะที่ปี 2548 เป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ 9% ซึ่งอาจจะมองว่ารับราชการเป็นอาชีพที่มั่นคงดีอยู่แล้วก็ได้

53% ฟันธงพร้อมทำ "แฟรนไชส์"

สำหรับความเห็นของแฟรนไชซี 75% ฟันธงว่า "แฟรนไชส์เป็นระบบที่ดี" และถ้าให้ทำธุรกิจใหม่ ส่วนใหญ่ 53% ยังคงจะเลือกทำแฟรนไชส์อีก ซึ่งแสดงว่าผู้ที่มีประสบการณ์ในการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มาแล้ว ยังมีความเชื่อถือในการทำระบบแฟรนไชส์ แม้จะมีความเห็นในส่วนอื่นๆที่ไม่พึงพอใจบ้าง มีที่บอกว่า แฟรนนไชส์เป็นระบบไม่ดี 7% มีความคิดเห็นที่แตกต่างอื่นๆ อีก 18%
 
เมื่อยิงคำถามว่า "ถ้าให้ลงทุนใหม่" ธุรกิจแฟรนไชส์ยังจะมีมนต์เสน่ห์อีกหรือไม่ มีถึง 53% บอกว่าจะทำต่ออีก มีที่ไม่บอกเข็ดจนตายไม่ทำอีกแล้วเพียง 10% ส่วนที่ไม่แน่ใจมีถึง 37%

นอกจากนี้ข้อดีของแฟรนไชส์ยังสามารถทำได้หลายธุรกิจ ดังนั้นผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ส่วนใหญ่นั้นมีร้านกันอยู่ 1 แห่ง 74% แต่อีก 26% มีมากกว่า 1 แห่ง และสัดส่วนการทำธุรกิจไปพร้อมกับธุรกิจอื่นๆใกล้เคียงกันคือ มีธุรกิจอื่นทำอยู่แล้ว 43% ไม่มีธุรกิจอื่น 57% ซึ่งเป็นสัดส่วนมีต่างจาก 4 ปีก่อน มีแนวโน้มว่าผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ นั้นมักจะมีกิจการอื่นๆทำอยู่ด้วย อันเนื่องจากระบบแฟรนไชส์ นั้นเสมือนมีผู้ช่วยในการร่วมทำธุรกิจ ทำให้การบริหารกิจการมีความง่ายขึ้น
 
ทางด้านเงินลงทุนอยู่ที่ "หลักแสนบาท" มาที่สุด แต่การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ 1-3 ล้านบาท ซึ่งต่างจากช่วง 10 ปีก่อนที่ระดับการลงทุนแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ล้านขึ้นไป ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ขายแฟรนไชส์ได้ปรับทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะกับกำลังของผู้ประกอบการ แต่เงินลงทุน   ปี 2551 มีตั้งแต่ต่ำกว่า 1 แสนบาท 19%, 1?5 แสนบาท 22%, 5-1 ล้านบาท 13%, 1-3 ล้านบาท 33%, 3-6 ล้านบาท 4%, 6-9 ล้านบาท 3% และตั้งแต่ 9ล้านบาทขึ้นไป 1%

ธุรกิจแฟรนไชส์ 87% จะมีกำไร

เมื่อถามต่อไปอีกว่าที่ทำมา "คุ้มทุน" หรือยัง ตัวเลขที่ได้ใกล้เคียงกัน ในปี 2551 บอกคุ้มทุนแล้ว 47% ยังไม่คุ้มทุน 53% ส่วนในปี 2548 บอกคุ้มทุนแล้ว 31% ยังไม่คุ้มทุน 66%

เมื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุน ยังคงไม่คุ้มทุนอยู่ แต่ก็จะมีสัดส่วนพอๆกัน แต่หากเปรียบเทียบกับปี 2548 จะเห็นว่าจะมีการคุ้มทุนสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอายุของธุรกิจส่วนใหญ่นานขึ้น จึงใกล้ถึงจุดที่คุ้มการลงทุนแล้ว

การทำแฟรนไชส์ 87% จะมีกำไรต่อเดือน แต่ผลกำไรในธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะจะอยู่ที่ 1-3หมื่นบาทต่อเดือน แต่การได้กำไรไม่สัมพันธ์กับการลงทุน หากธุรกิจลงทุนเพียงหลักแสนบาท ก็ทำกำไรต่อเดือนได้ในระดับ 2-3หมื่นบาท ในขณะที่หากธุรกิจลงทุนในหลักล้านบาท ก็ยังให้ผลกำไรในระดับเดียวกัน ความคุ้มทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะยังระบุไม่ได้ แต่สำหรับผู้ที่ระบุได้นั้น ส่วนใหญ่จะตอบว่าคุ้มทุนในระยะ 2 ปี

66% จ่ายค่าธรรมเนียมแล้ว "คุ้ม"

ธุรกิจแฟรนไชส์ นั้นส่วนใหญ่จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการถ่ายทอดการทำธุรกิจและการให้ความดูแลช่วยเหลือ แต่ธุรกิจเล็กๆหลายราย เช่น ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม หรือธุรกิจแฟรนไชส์เล็กๆ จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ  ซึ่งมีอยู่ 26% และราคาของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่นิยมเก็บไปอยู่ในหลัก 5 หมื่นบาท-1แสนบาท และ 1-5แสนบาทตามลำดับ

โดยความเห็นของแฟรนไชซี่ บอกว่า ค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้แฟรนไชซอร์นั้นมีความคุ้มค่า 66% ซึ่งนับว่าคนส่วนใหญ่ยอมรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และยังพอใจในการสนับสนุนของบริษัทแม่ 64%

"แฟรนไชซี่" โตสวนกระแส

แม้จะมีการกล่าวถึงในด้านลบของการทำธุรกิจแฟรนไชส์กันมาก แต่จากผลสำรวจที่ออกมา จากคนที่ทำแฟรนไชส์อยู่ หรือแม้แต่คนที่เลิกทำไปแล้วก็ตาม ยังมีผลออกมาในเกณฑ์ดี ทั้งในเรื่องของความพึงพอใจในการทำแฟรนไชส์ และความเชื่อต่อระบบแฟรนไชส์ ว่าเป็นระบบที่ดี และพวกเขายังคิดจะทำแฟรนไชส์อีก ถ้าให้เริ่มต้นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการแฟรนไชส์นั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และธุรกิจส่วนใหญ่ ยังมีผลกำไรต่อเดือนอยู่

อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ ทำธุรกิจยังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อันเนื่องจากผลกำไรในการลงทุนต่อเดือนส่วนใหญ่ ยังอยู่ในระดับที่ 1-3 หมื่นบาทต่อเดือน แต่ความคุ้มค่านี้ยังดีขึ้นกว่ายุคที่ผ่านมา เพราะกิจการหลายแห่งมีอายุมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการสำรวจในครั้งต่อไป ตัวเลขในด้านนี้จะให้ผลกลับกัน คือมีความคุ้มค่ามากกว่า

จากผลสำรวจนี้ ผู้ประกอบการที่พึงพอใจ ในธุรกิจที่ทำอยู่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรายที่มีแบรนด์ดัง ที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจที่ขายแฟรนไชส์นั้น การให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ในการสร้างแบรนด์ เพื่อที่จะนำมาสู่ยอดขายของแฟรนไชซี่ และสร้างทีมงานสนับสนุนร้านแฟรนไชส์ ที่จะเพิ่มคะแนนความพึงพอใจให้สูงขึ้น

แต่ในทางตรงกันข้าม แฟรนไชซี่ที่ไม่ค่อยพอใจในธุรกิจที่ทำนัก มักจะเป็นรายที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียง และมีผลประกอบการต่ำ ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากความนิยมในคุณภาพ และแบรนด์ของธุรกิจนั้น
 kmkm kmkm

suphap

  • บุคคลทั่วไป
Re: แฟรนไชส์" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 16 มีนาคม 2009, 15:36:01 »

เจมส์ ข้าวมันไก่ ยังมีขายอยู่ไหมคับ  oijuhgfd

franchise2t

  • บุคคลทั่วไป
Re: แฟรนไชส์" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 09 มกราคม 2010, 09:36:58 »

เจมส์ ข้าวมันไก่ ยังมีขายอยู่ไหมคับ  oijuhgfd
ตอนแรกที่อ่านโพสบนกำลังสนใจเลย


เจอคอมเม้นนี้เขาไป คิดในแง่ ลบ เลย


 zad

labk1200

  • บุคคลทั่วไป
Re: แฟรนไชส์" พลิกวิกฤตเป็นโอกาส
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 18 มกราคม 2010, 13:51:00 »

เปิดนะมันง่าย

แต่

การควบคุมคุณภาพ นะมันยากนะครับ
 ซึ่งเป็นมูลเหตุใหญ่ที่หลายๆตัวต้องปิดตังเองไป