-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เทพในตำนานเคลติก : D-E-F  (อ่าน 826 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18154
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
เทพในตำนานเคลติก : D-E-F
« เมื่อ: 24 มีนาคม 2017, 11:42:36 »

Celtic Gods and Goddesses : D-E-F
credit :: BeelzeBufo@dek-d


Dahud-Ahes (Breton)



ดาฮัด-แอซ สะกดได้อีกแบบ Dahut บิดาของเธอคือกษัตริย์กราเดียนแห่งคอร์นวอล (King Gradion (or Gradlon) of Cornwall)
กษัตริย์กราเดียนสร้างเมือง Ker-Ys (อ่านไม่ออกครับแต่คำนี้แปลว่า "ความลึก") ไกลจากชายฝั่งบริตตานี (Brittany)
เพื่อให้เธอสามารถหนีจากพระชาวคริสเตียนได้ พวกเขากล่าวหาว่าเธอเป็นแม่มดเพราะเธอต่อต้านชาวคริสเตียนอย่างรุนแรง

ตำนานสมัยใหม่เล่าว่าเมืองของดาฮัดถูกคลื่นซัดหายไปด้วยพลังของนักบุญคริสเตียน ส่วนในตำนานเพเก้น เล่าว่าเธอได้ขอร้องแฟรี่ทะเล
แห่งเบรตอง (Breton) จากเมืองคอริแกน (Korrigans) ช่วยทำให้เมืองและตัวเธอจมอยู่ใต้ทะเลจนกว่าการกดขี่ทางศาสนาจะหมดไป
จากตำนานนี้จะเห็นว่าเธอเป็นเทพที่หลับใหลเช่นเดียวกับกษัตริย์อาเธอร์ที่หลับใหลและรอคอยจนกว่าลูกหลานของท่านจะเรียก


 
มีผู้ปรามาสเธอว่าเป็น "debauchery" หรือ "ผู้ล่อลวง" บางตำนานก็ว่าเธอทำลายเมืองของตัวเอง ตำนานโบราณว่าบิดาของเธอเอง
ที่ตระหนักถึงความชั่วร้ายของเธอ เขาทั้งหนีจากความเชื่อของเธอ และถ่วงน้ำเธอ ผู้ติดตามและเคารพเธอยกย่องว่าเธอเป็นเทพีแห่งความสุข
และในศาสนาเก่ามองว่าเธอเป็นเทพีแห่งมารดาที่คอยดูแลทารกแรกเกิดและเป็นผู้ต่อต้านพระสังฆราชและกฎระเบียบใหม่
 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Damara (Anglo-Celtic)



ดามารา เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ของอังกฤษ เกี่ยวข้องกับวันเบลเทน
 
 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Damona (Gaul)

เด-มย-น่า เทพีแห่งความสมบูรณ์และการรักษา ชื่อของเธอหมายถึง "divine cow" หรือ "วัวศักดิ์สิทธิ์" เธอเป็นเทพีแห่งวัว
จึงเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง (ข้อมูลไม่มีครับ)
 



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Deae Matres (Breton, Continental, Romano-Celtic across
Europe but particularly Rhineland)


ดีอา มอทเรส์ (เน้นทีเสียง ดี กับ มอท) หรือมอทเรส์ สามเทพีแห่งมารดา และสามเทพีผู้เมตตาที่แต่ละบ้านจะเคารพบูชาเพื่อป้องกัน
โรคร้ายและความอดอยาก [Matres = Mothers]
 
รูปสลักที่สำคัญของพวกเธอถูกฝังไว้บนกำแพงที่ลอนดอน ติดกับแม่น้ำเทมส์ ประเทศอังกฤษ ควอทเทียส เซเวอรัส อธิการแห่งกลุ่มโคโลญ
(Quettius Severus, the quaestor of the colony of Cologne) ได้สร้างรูปปั้นมอทเรส์ ออฟาเนีย (Matres Aufaniae)
ถวายแด่พวกเธอ และรูปปั้นมอทเรส์หลายชิ้นที่ไม่ได้ระบุชื่อ [คือ อย่างควอทเทียสก็ตั้งชื่อว่า มอทเรส์ ออฟาเนีย ไม่ใช่มอเรส์เฉยๆ
ที่ไม่มีชื่ออาจเป็นเพราะไม่ทราบชื่อผู้สร้างก็เป็นได้] จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์คอริเนียม (Corinium museum) ที่เมืองไซเรนเซสเตอร์
(Cirencester) ประเทศอังกฤษ




รูปปั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ ตะกร้าผลไม้  ขนมปังแถว เมล็ดธัญญาหาร ปลาหรืออื่นๆที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง
และอุดมสมบูรณ์ หรืออาจจะเป็นรูปที่กำลังเลี้ยงเด็ก 
 
เทพที่ผู้คนยกย่องให้เป็นเทพทั้งสาม (Triads) มักจะเป็นเทพเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ในชนเผ่าเทรเวรี (Treveri tribe) ก็จะเคารพเทพีทั้งสาม
ในชื่อเทรเวเร มอทเรส์ (Treverae Matres) [ที่อยู่ของเผ่าเทรเวรี่ในปัจจุบันคือลักซ์เซมเบิร์ก]

ในเผ่าลองเกด็อก-รูซิลอง (Languedoc-Roussillon) ที่นีม (Nimes เป็นเมืองหลวงของเผ่าลองเกด็อก ปัจจุบันคือตอนใต้ของฝรั่งเศส)
จะเคารพเทพีทั้งสามในชื่อเนมัวซีเค มอทเรส์ (Nemausicae Matres) แผ่นโลหะจารึกในลอนดอนก็ดูเหมือนจะเป็นรูปพระแม่ถือตนปาล์ม

ในเมืองไรน์แลนด์ (Rhineland) ประเทศเยอรมนี มีรูปสลักของเธอทั้งสามในวัยที่ต่างกัน เด็ก สาว แก่ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเหล่าทหาร
ที่่จะอุทิศตนต่อเทพีแห่งมารดาหรือพระแม่ทั้งสามนี้ จึงเป็นไปได้ว่าเธอสามารถอวยพรให้ชนะสงครามได้ แต่เธอคงไม่สามารถอวยพรให้หายบาดเจ็บได้
เนื่องจากไม่พบภาพของเธอคู่กับสุนัขที่มีความหมายถึงการรักษา
 
พวกเธออาจมีความเกี่ยวข้องกับเทพีฮาบอนเดีย (Habondia)
ชื่ออื่นๆ Matres; Matronae
 




++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Dia Greine (Scotland)



เดีย ไกรน์ บุตรสาวของเทพพระอาทิตย์ในตำนานสก็อตแลนด์โบราณ   ในนิทานพื้นบ้านเล่าว่าเธอถูกจับเป็นเชลยอยู่ในเมืองแห่งสตรี
(ในที่นี้มีความหมายตรงกับโลกต่าง) ด้วยความช่วยเหลือของชายหนุ่มนามไบรอัน (Brian) และเทพีคอยลิค (Cailleach) ที่ให้เธอ
ปลอมเป็นจิ้งจอก เธอก็มามีอิสระอีกครั้ง
 
ชื่อของเธอมีความหมายว่า  "suns tear" หรือ "น้ำตาพระอาทิตย์" ตำนานของเธอเปรียบได้กับการกลับชาติมาเกิด
 



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Dispater (Continental)


ดิสพาเตอร์ (Dis Pater) เทพกอลิช (Gaulish) ชื่อของเขาหมายถึง "the Father" หรือ "พ่อ" เป็นเทพตนแรก
แห่งการสรรค์สร้าง  ภายหลังถูกรวบเข้ากับ ดอน และ เคอนูนอส (Don and Cernunnos)
พวกกอล (Gaul) เชื่อว่าพวกเขาถือกำเนิดมาจากดิสพาเตอร์



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Divona (Gaul)

ดิเวอน่า เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์  มีความเกี่ยวข้องกับน้ำ ข้อมูลของเธอมีแค่ในจารึกเท่านั้น



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Don (Welsh)

ดอน ชื่อของเธอหมายถึง "Deep Sea ทะเลลึก" หรือ "Abyss นรก" เธอเป็นมารดาแห่งสวรรค์ เทพีแห่งท้องทะเลและอากาศ
ตรงกับเทพีดานู (Danu) ของชาวไอริช เธอเป็นผู้ควบคุมธาตุและภาษา นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเทพดาเน่ (Goddess Danae)
ของกรีกมีต้นกำเนิดมาจากเธอ



สามีของเธอคือเบลิ (Beli) ชาวอังกฤษเชื่อว่าพวกเขากำเนิดมาจาดเทพเบลิและเทพีดอน และลูกหลานของเธอก็สอนศิลปะ
ให้แก่ชาวอังกฤษ (Brythons)

ในมาบิโนเจียน (Mabinogion ที่เก็บรวบรวมร้อยแก้วทั้ง 11 ฉบับของเวลส์ สมัยยุคโลหะ) ระบุว่าลูกหลานของเธอคือ อาเรียนรอด
กุยดิออน อไมธอน และโกฟานนอน (Arianrhod, Gwyddion, Amaethon, and Govannon)
ชื่อแม่น้ำดานูบอันโด่งดังก็มีที่มาจากชื่อของเธออีกด้วย (Donwy River)
ชื่ออื่นๆ Domnu; Donn
 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Druantia (Breton)

ดรูอันเทีย ราชินีแห่งเหล่าดรูอิด มารดาแห่งปฏิทินต้นไม้ เทพีแห่งต้นสน ความอุดมสมบูรณ์ ความรัก กิจกรรมทางเพศ( เฮ้ย?!!)
ต้นไม้ การปกป้อง การสร้างสรรค์


 
ดรูอันเทีย อาจมีต้นกำเนิดในกอล (Gaul ฝรั่งเศสในปัจจุบัน) ชื่อของเธอมีรากศัพท์มาจากคำว่า Drus หมายถึง "ต้นโอ๊ค"
นี่เป็นเหตุให้เธอมีความเชื่อมโยงกับต้นโอ๊คและดรูอิด ปัจจุบันเธอเป็นราชินีของเหล่าดรายแอดส์ และทำหน้าที่ลงโทษ
ผู้ที่ลบหลู่หรือดูหมิ่นพวกเธอ
 
ตามเดิมแล้วเธอเป็นสัญลักษณ์ของแม่ผู้เป็นนิรันดร์เห็นได้จากกิ่งไม่ที่เขียวฉอุ่มตลอดปี

 



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Dwyvach (Welsh)



ดวีฟาช (Dwyfach) กับสามีของเธอดวีฟาน (Dwyvan) สร้างเรือลำหนึ่งที่มีชื่อว่า "เน-เฟยด นาฟ เนยอง" (Nefyed Nav Nevion)
สำหรับตนเองและสัตว์ของพวกเขาเพื่อหนีเหตุการณ์น้ำท่วมที่แอดแดงก์เป็นคงสร้างขึ้นมา (Addanc ดูเพิ่ม : เทพเคลติก A) ในเวลส์
แล้วชื่อของพวกเขาทั้งหมดหมายถึงเทพ [ถ้าของกรีกประมาณเรือโนอาสินะครับ]

ในตำนานของเวลส์ว่ากันว่าหลังน้ำท่วมทั้งเธอและสามีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำคนละสายที่ไหลลงมาบรรจบที่ทะเลสาบบาลา
หรือในอดีตที่เรียกว่าทะเลสาบเดอฟรุ้ย (Dyfrdwy) จากรากศัพท์ dyfr-dwtf คำนี้มีความหมายว่า "น้ำของพระเจ้า" และจุดบรรจบนี้
ก็เชื่อมกับตำนานของพวกเขาที่หายไป

ดวีฟาช เป็นผู้รวบรวมหลักความเป็นหญิง
 
 


แผ่นจารึกเกี่ยวกับตอนน้ำท่วมโลก



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Dwyvan (Welsh)

ดวีฟาน (Dwyfan) สามีของดวีฟาช ทั้งสองสร้างเรือบรรทุกตนเองและสัตว์เพื่อหนีจากน้ำท่วม (รายละเอียดอื่นๆเหมือนในตอนของดวีฟาชเลยครับ)
ในภายหลังตำนานนี้ถูกดัดแปลงไปบ้างตามไบเบิล ในเรื่องเก่านั้นดวีฟานจะเป็นตัวแทนของบุรุษที่ได้กลายเป็นเทพ
 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Dylan (Welsh)

เดอลัน เทพแห่งท้องทะเล บุตรของอาเรียนรอดและกุยดิออน (Gwydion and Arianrhod) สัญลักษณ์ของเขาคือ ปลาเงิน (silver fish)


 
ตามมาบิโนเจียน (Mabinogion บันทึกร้อยแก้วของเวลส์ 11 เรื่อง) เดอลันกระโดดลงทะเลและว่ายน้ำเป็นตั้งแต่แรกเกิดและเขาก็เป็นที่รักของ
สัตว์ทะเลทั้งหลาย ไม่มีคลื่นไหนที่สามารถทำอันตรายเขาได้ จนใครๆก็เรียกว่า "เดอลัน ไอล์ ทอน" (Dylan Eil Ton) หรือ "บุตรแห่งคลื่น"
(the son of the wave) ในเรื่องเล่าอื่นๆเล่าว่าเขาแต่งงานกันวิเวียน (Vivienne) หญิงสาวแห่งทะเลสาบและยังเป็นคนที่พ่อมดเมอร์ลิน
รักอีกด้วย (ว้าววว wow!!)
 
กวีทาลีเอซิน (Taliesin) ได้เขียนเรื่องราวโรแมนซ์มากมายหลังจากที่เดอลันตาย ชาวเวลส์เชื่อว่าทะเลสาดซัดอย่างบ้าคลั่งก็เพราะอยากแก้แค้น
ให้เดอลัน ผู้คนเรียกเหตุการณ์อย่างนี้รอบแม่น้ำคอนเวย์ (River Conway) ว่า "Dylan's death groan" หรือ "เสียงครวญครางการตายของเดอลัน"
 
ในบางเรื่องว่ากันว่าเขาเป็นเทพตนเดียวกับ มาธ แอป มัธธอนูว (Math Ap Mathonwy)
ชื่ออื่นๆ : Dyonas

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Elphame (Scottish)



เอลเฟม (สะกดแบบอื่น : Elphlane, Elphane) มีบางคนกล่าวอ้างว่าเธอเป็นผู้สร้างความเสียหายให้ "elfland" หรือ "ดินแดนเอล์ฟ"
เธอเป็นเทพีแห่งความตายและโรคร้าย มีความสามารถเทียบได้กับแม่มดเฮเคท (Hecate เทพของกรีกผู้โด่งดัง)


 
เมื่อภาพของแม่มดเริ่มหมดความเชื่อถือและเสื่อมลงไปในยุโรป (ชาวคริสเตียนเริ่มเข้ามา) เธอก็กลายเป็นเทพีของเหล่าแม่มดและความชั่วร้าย
ในหนังสือคลาสสิคเรื่อง "The White Goddess"  ที่แต่งโดยโรเบิร์ต เกรฟส์ (Robert Graves) เขียนไว้ว่าราวศตวรรษที่ 16 ผู้ที่ใช้เวทย์
จะถูกกล่าวหาว่ากำลังติดต่อกับราชินีเอลเฟมและโดนโทษประหารชีวิตในที่สุด



ประมาณร้อยปีก่อนราชินีเอลเฟมถูกมองว่าเป็นราชินีของเหล่าแฟรี่ในสก็อตแลนด์และมีความเกี่ยวข้องกับวันเบลเทน (Bealtaine) นักกวีโทมัส
จะบอกอยู่เสมอว่าเธอปรากฎตัวต่อหน้าเขาในคืนก่อนเดือนพฤษภาคมด้วยชุดผ้าไหมสีเขียวเนื้อขี่ม้าสีขาวที่ห้อยกระดิ่งสีเงิน 59 อัน และตรงจุดนี้
ก็เป็นสิ่งแปลกประหลาดเนื่องจากแฟรี่ไม่ชอบเสียงกระดิ่งและระฆัง


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Eostre (Pan-Celtic)

อีออสเทร หรือ อีสเตอร์ เป็นเทพีของแองโกลแซกซอก เมื่อตอนที่ชาวแซกซอกได้เข้ามาที่อังกฤษพวกเขาก็ได้นำอีออสเทรเทพผู้แข็งแกร่ง
ของพวกเขามาด้วยและในภายหลังอีออสเทรก็รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเคลติก



เธอเป็นแห่งแห่งฤดูใบไม้ผลิ การเริ่มต้นส่งใหม่ๆ การถือกำเนิดและความอุดมสมบูรณ์ คำว่า "estrus" หรือ "ตกมัน" ก็เป็นคำที่มาจากชื่อของเธอ
ดังนั้นเธอก็คือเทพีแห่งการสืบพันธุ์ด้วย วันอีสเตอร์ก็มาจากชื่อของเธอ ทั้งไข่อีสเตอร์และกระต่ายอีสเตอร์ก็เอามาจากตำนานของเธอทั้งสิ้น
 



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Epona (Pan-Celtic)

เอโพนา เทพีแห่งม้า พระแม่แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง การคลอดบุตร แม่อุปถัมภ์ของม้าและสุนัข น้ำพุรักษา
(healing springs) พืช



เทพีแห่งม้าความหมายโดยนัยก็คือเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เทพีทรงม้าผู้โด่งดังคล้ายกับม้าเลี้ยงหรือม้าที่ไว้ค้าขายของเคลติก
เกี่ยวข้องกับการรักษาและความสมบูรณ์ของสัตว์เลี้ยง เธอเป็นเทพเคลท์เพียงตนเดียวที่ได้รับการเคารพทั่วไปในโรมและเมืองที่โรมยึดครอง
โดยเฉพาะพวกทหารม้าจะเคารพเธอเป็นพิเศษ เทศกาลสรรเสริญเธอตรงกับวันที่ 18 ธันวาคม

ปกติแล้วเอโพนาจะอยู่กับแม่ม้าและลูกม้า ส่วนมากจะขี่อยู่บนอ่านบางทีก็แค่มีม้ามาเกี่ยวข้องเฉยๆ ในมือมักจะถือ cornucopiae หรือเขาแพะ
ที่มีอาหารใส่อยู่เสมอไม่จบสิ้น บางทีก็ถือผลไม้แทน จุดนี้เป็นจุดที่คนมองกันว่าเธอเป็นมังสวิรัติ เอโพนายังเกี่ยวพันกับสุนัขและนกอีกด้วย
 
รูปสลักและจารึกของเธอถูกพบในหลายที่มากมาย ดังนี้ Allerey, Armançon, Jabreilles, Luxeuil, Santanay, ในบทความ Côte d'Or
และที่อื่นๆ รูปสลักที่เจอนั้นบางทีก็เป็นรูปเธออยู่กับม้าบางทีเธอก็โผล่ไปอยู่กับสามมารดาอย่าง ดีอา มอทเรส์ (Deae Matres)ที่  Armançon
เธอนั่งอยู่บนรถเข็นที่ชวนให้นึกถึงเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือ รูปแกะสลักอื่นๆของเอโพนาจะเกี่ยวกับการฝังศพ




เช่นในที่ La Horgue au Sabon เป็นรูปที่ผสมระหว่างลัทธิโบราณและสมัยใหม่ระหว่างความอุดมสมบูรณ์และความตาย ผู้คนอาจบูชาเอโพนา
ใกล้กับบ่อน้ำพุร้อนซึ่งเธอมักจะอยู่ในรูปนิมป์น้ำ เช่นใน Allerey และ Saulon-la-Chapelle

เอโพนาเป็นเทพีผู้เลือกกษัตริย์ กล่าวคือ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์โบราณคนที่จะเป็นกษัตริย์ได้ต้องแต่งงานกับเธอก่อน จีน มาร์เดล (Jean Markdale)
ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเทพเคลท์บอกว่าเอโพนาเคยเป็นมารดาแห่งเทพมาก่อนที่เทพดานูจะมาถึง
 
ในสก็อตแลนด์จะเรียกเธอว่าบูโบนา (Bubona) ในอังกฤษเชื่อว่าเลดี้ กอดิวา (Lady Godiva) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเธอ ในเยอรมันก็มีรูป
แกะสลักของเธอด้วย ในแองโกล-แซกซอนเองก็มีเทพที่คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากเธอ นั่นคือเทพฮอร์ซา (Horsa)
เทพม้าอื่นๆ เช่น Macha, Edain, Rhiannon, และ Maeve คาดว่ามาจากตำนานของเธอ 

 
 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Epos Olloatir (Pan-Celtic)

เอพอส ออโลเทอร์ เทพม้า มักจะถูกบูชาพร้อมกับเทพีเอโพนาในฐานะบุรุษหรือสามีของเธอ



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Erce (Anglo-Celtic)

แอร์เช (เขียน Erce อ่าน air-chay) พระแม่ธรณีและเทพีแห่งการเก็บเกี่ยว เชื่อว่าต้นกำเนิดเป็นชาวแบสก์
(Basque สเปนกับฝรั่งเศสในปัจจุบัน)


 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Esus (Breton, Continental)

เอซัส (Essus) เทพแห่งการเก็บเกี่ยวบูชากันในบริททานี (อังกฤษ) และกอล (ฝรั่งเศส) ซึ่งในกอลจะเรียกเขาว่าเอซูสวิ (Essuvi)
เอซัสมีความสัมพันธ์กับตำนานที่หายไปอย่างบทลงโทษของการตัดต้นไม้และยังเกี่ยวข้องสัญลักษณ์กระเรียนกับวัวอีกด้วย
ซึ่งสัญลักษณ์นี้แสดงถึงหลักความอุดมสมบูรณ์ของเขาและเชื่อตัวเขาเข้ากับโลกต่าง


 
ชาวโรมันได้ค้นพบและบันทึกว่า แท่นบูชาที่หลงเหลือของเอซัสมีตั้งแต่ 3 ศตวรรษก่อนคริสตกาล ผู้คนสัการะเขาบนแท่นบูชานี้
เอซัสตายโดยการถูกแขวนคอบนต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของเขาเหมือนกับเทพโอดินของนอร์ส ตำนานของเขารวมเป็นหนึ่งกับเรื่องราว
ของพระเยซูในช่วงก่อนคริสตศักราชแต่ท้ายที่สุดแล้วทำไมตำนานของเขาถึงสาบสูญไปเรื่องนี้ยังมีหลายคนที่ยังสงสัยกันอยู่
[บางเว็ปบอกเป็นเทพแห่งต้นหลิวด้วยครับ บางทีต้นไม้ที่เขาถูกแขวนคออาจเป็นต้นหลิวก็ได้ครับ]
 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
Fisher King (Welsh, Cornish)

กษัตริย์ฟิชเชอร์ หลายคนอาจจะเคยรู้จักท่านนี้หรือคุ้นๆ เพราะตำนานของกษัตริย์ฟิชเชอร์บิดเบี้ยวมาจากตำนานของกษัตริย์อาเธอร์ผู้โด่งดัง



เรื่องหลักๆของตำนานมีอยู่ว่า กษัตริย์ฟิชเชอร์คือผู้พิทักษ์จอกศักดิ์สิทธิ์ เขาได้รับบาดเจ็บแม้จะไม่หนักมากแต่บาดแผลนี้ก็รักษาไม่หาย
ราวกับเป็นการทำโทษที่เขาทำหน้าที่ของตัวเองได้ไม่ดีพอ แม้ว่าเขาจะทุกข์ทรมาณจากบาดแผลนี้แต่เขาก็พยายามทำดีมาโดยตลอด
และในท้ายที่สุดบาดแผลก็หายไปกลับมาเป็นปกติ
 
กษัตริย์ฟิชเชอร์ไม่เพียงแต่เป็นผู้พิทักษ์จอกศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น เขาเป็นเทพผู้มีพลังย้อนคืน แต่ก็เพียงแค่ตอนที่แผลได้รับการรักษาเท่านั้น
ที่ความอุดมสมบูรณ์ได้ย้อนคืนดังเดิม


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

CREDIT : http://www.joellessacredgrove.com/Celtic/deitiesd-e-f.html
              http://www.pantheon.org/areas/mythology/europe/celtic/articles.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มีนาคม 2017, 10:10:41 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

น้ำขิง

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 462
  • Country: 00
  • คะแนนจิตพิสัย +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: เทพในตำนานเคลติก : D-E-F
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2017, 22:56:57 »

เทพีสมบูรณ์ สมบูรณ์จริงๆ eta04