-->

ผู้เขียน หัวข้อ: Beatrice Cenci เสียงกรีดร้องของเบียทริเซ่  (อ่าน 758 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18213
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
Beatrice Cenci เสียงกรีดร้องของเบียทริเซ่
« เมื่อ: 10 มิถุนายน 2016, 12:18:57 »

Beatrice Cenci เสียงกรีดร้องของเบียทริเซ่

นี่คืออาญากรรมที่น่าเศร้าที่ถูกลิขิตให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรมที่โหดร้าย




เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16  ในวันที่ 11 กันยายน 1599 ทางการได้ประหารผู้หญิงสองคนคือ เบียทริเซ่ เซนซี 
อายุ 23 ปี และลูเครเซีย เพโทรนี่แม่เลี้ยงของเธอฐานฆาตกรรม ฐานฆาตกรรมฟรานเซสโก เซนซี ซึ่งเป็นพ่อของบีทริซ
และสามีของคนสองของลูเครเซีย ทั้งคู่ได้ฆ่าเขาด้วยการตอกประตูเข้าใส่ดวงตาทั้งสองข้างและตรงกลางกระหม่อม
และตรงคอหอย อีกทั้งยังทุบด้วยกระบองซ้ำ โดยพวกเธอสมคบพี่ชายสองคนและเจ้านาย ให้สองคนจัดฉากเหมือน
ตกระเบียงตายไปเอง


ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องโหดร้าย ลูกฆ่าพ่อแท้ๆ ของตนอย่างโหดเหี้ยม อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบประวัติของผู้ตาย
ฟรานเซสโก เซนซีแล้วก็พบเรื่องที่น่าตกใจ ฟรานเซสโก เซนซีเป็นลูกชายของโป๊ปปิรัสที่ 5 ผู้ร่ำรวย หลังบิดาตายแล้ว
เขาก็ได้ตำแหน่งและอำนาจจากบิดา

อย่างไรก็ตาม ฟรานเซสโกนั้นเป็นชายที่สมควรที่ถูกประณามมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาเป็นคนหลงใหลเงินและอำนาจ
และเป็นคนชอบเรื่องเพศแบบผิดศีลธรรม เขามักสั่งให้ลูกน้องเขาฉุดผู้หญิงอื่นโดยไม่สนว่าเธอมีสามีหรือเธอต้องการ
ให้ทำแบบนั้นหรือไม่ และเมื่อเขาย่ำยีผู้หญิงคนนั้นจนสาแก่ใจ ก็ทิ้งพวกเธออย่างไม่ใยดี และเมื่อเขาถูกจับ
เขาก็รอดได้ทุกครั้ง เพราะเงินและอำนาจจนทางการไม่สามารถเอาผิดเขา


ฟรานเซสโกนั้นมีลูกถึง 12 คน  จากภรรยาคนแรก แต่เขาเกลียดเด็กพวกทุกคน ว่ากันว่าลูกชายคนโตสองคนแรกตายไป
เซนซีไม่ร้องไห้สักหยด ที่น่าตกใจเขายังข่มขืนลูกสาวแท้ๆ ของตนก็คือ เบียทริเซ่  เซนซี  เป็นเวลานาน จึงไม่แปลกใจเลยว่า
ที่เธอจะตัดสินใจที่จะฆ่าเธออย่างโหดร้ายเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของพ่อ ดูแล้วน่าเห็นใจด้วยซ้ำ หากแต่เพราะความยุติธรรม
ของกฎหมายเธอกับพรรคพวกถูกทรมานอย่างโหดร้ายในการสอบสวนเพื่อหาความจริง แต่บีทริซยังคงแสดงความกล้าหาญ
และความมั่งคง และไม่แสดงความเสียใจในสิ่งที่ตนเคยทำลงไป

แม้ว่าเบียทริเซ่จะเสียชีวิตลงไปนานแล้ว แต่เรื่องราวของเธอก็ได้กลายเป็นสาวแห่งความบริสุทธิ์และเทพีแห่งความงาม
เรื่องราวของเธอได้ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจแก่ภาพวาดและบทละครจนกลายเป็นตำนานเล่าขานที่มีชื่อเสียงของประเทศอิตาลี

 
 
บีทริซ เซนซี  (Beatrice Cenci)


 
เบียทริเซ่ เซนซี  (6 กุมภาพันธ์ 1577-11 กันยายน 1599) เป็นผู้หญิงชนชั้นสูงชาวอิตาเลียน
เธอมีชื่อเสียงจากการฆ่าของตนเองคือ ซึ่งเป็นขุนนางที่มีนิสัยโหดร้ายและมีพฤติกรรมผิดศิลธรรม แม้ว่าเหตุผล
ที่เธอฆ่าจะน่าเห็นใจ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมนั้นจำเป็นต้องทำตามกฎหมาย ด้วยการสั่งประหาร
เธอกับแม่เลี้ยง


ตามตำนานกล่าวว่าเบียทริเซ่อาศัยอยู่ในปราสาท La Rocca of Petrella Salto เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของกรุงโรม โดยเธอมีพ่อชื่อฟรานเซสโก เซนซีเป็นขุนนางชั้นสูงที่มีนิสัยชอบทำร้ายภรรยาและลูก อีกทั้งยังร่วมประเวณี
ระหว่างพี่น้องกับเธอ แม้ว่าเขาจะได้การตัดสินจำคุกจากคดีอื่นๆ แต่เพราะมีฐานะความเป็นขุนนางทำให้ไม่มีใครกล้าลงโทษ
ทำให้เขาได้รับการปล่อยตัวออกมาทุกครั้ง แม้ว่าเบียทริเซ่จะพยายามแจ้งความแก่หน่วยงานหลายครั้งแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แม้ว่าคนในเมืองจะทราบวีรกรรมชั่วของพ่อของนางก็ตาม

ต่อมาเมื่อฟรานเซสโกรู้ว่าลูกสาวของตนแอบเอาเรื่องของเขาไปแจ้งความเขาจึงพยายามส่งลูกสาวและลูเครเซียออก
จากปราสาทเพื่อไปอยู่ที่อื่น ส่งผลทำให้พวกเธอไม่มีทางเลือกจึงหาทางกำจัดฟรานเซสโก



ตามตำนานเล่าอีกว่า เบียทริเซ่เป็นสาวรุ่นที่มีความสวยสดงดงามมาก เป็นเหตุทำให้เป็นที่หลงใหลในชายหนุ่มมากมายในเมือง
ทุกวันจะมีคนมาสู่ขอเธอแต่งาน หากแต่สำหรับฟรานเซสโกไม่ชอบเรื่องนี้มักนัก มักปฏิเสธคนที่มาสู่ขอทุกทั้ง พร้อมประกาศว่า
เบียทริเซ่ลูกแท้ๆ ของเขามีความสัมพันธ์เกินกว่าพ่อลูก


แน่นอนเมื่อหลายคนได้ฟังแค่นี้ย่อมไม่พอใจ กูเออราก็เป็นหนึ่งในคนสู่ขอเบียทริเซ่(อีกตำนานบอกว่าเป็นคนรักลับของเบียทริเซ่)
ได้ไปถามเธอว่าเป็นจริงหรือไม่ เธอตอบว่าจริง กูเออราเลยโกรธแค้นและร่วมมือที่ร่วมมือสังหาร


กูเออราวางแผนฆาตกรรมเซนซี โดยมีแม่เลี้ยงของเบียทริเซ่ชื่อลูเครเซียพี่ชายสองคนของเธอที่ชื่อ จิอาโคโมและเบอร์นาโด
เข้าร่วมแผนฆาตกรรมนี้ด้วย นอกจากนั้นจิอาโคโมยังจ้างเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายคือ มาร์ซิโอ และโอลิมปิโอซึ่งเคยมีความแค้น
กับฟรานเซสโกอยู่ก่อนหน้าอยู่แล้วให้มาร่วมแผนนี้ด้วย

ในตอนเย็นของวันที่ 9 กันยายน ค.ศ.1598 เหตุการณ์ก็ได้เริ่มขึ้น พวกผู้หญิงได้ผสมฝิ่นเข้าไปในไวน์ให้เซนซีดื่ม
เซนซีดื่มในตอนนั้นดื่มหนักจนเขาเมาหลับไป หลังจากนั้นผู้ชายสองคนก็เข้ามาในห้องเพื่อฆ่าเขาด้วยการตอกประตู
เข้าใส่ดวงตาทั้งสองข้างและตรงกลางกระหม่อมและตรงคอหอย เซนซีซวนเซเจ็บปวดทรมานและตกระเบียงลงด้านล่าง
ทำให้การฆาตกรรมในครั้งนี้เสมือนกับว่าเขาเมาจนลื่นตกระเบียงตายไปเอง
 
 
เบียทริเซ่ถูกนำตัวไปสอบสวน


 
เวลาประมาณ 7 โมงเช้า ของวันที่ 9 กันยายน 1598  สาวใช้ผู้หญิงคนหนึ่งได้ยินเสียงโห่ร้องเรียกความช่วยเหลือ ในปราสาท
ซึ่งจับความได้ว่าขุนนางฟรานเซสโก อายุ 52 ปีได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุตกระเบียง และเมื่อเธอได้เห็นเบียทริเซ่มองเธอจากหน้าต่าง
ก็เรียกตัวเธอขึ้นมา เมื่อสาวใช้วิ่งไปดูเธอก็พบเบียทริเซ่อยู่ใกล้ศพของเธอของเธอ


ดูเผินๆ ขุนนางฟรานเซสโกนั้นเหมือนตกลงระเบียงไม้ชั้นบนของปราสาท (ประมาณ 13 เมตร) ซึ่งเวลานั้นเบียทริเซ่เงียบจนน่ากลัว
แตกต่างจากแม่เลี้ยงของเธอที่ส่งเสียงกรีดร้องลั่นไปทั่วปราสาท อย่างไนก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เชื่อเหตุการณ์ดั่งว่า และเนื่องด้วย
อำนาจของผู้ตาย ทำให้ทางการจึงสอบสอนแบบเข้มข้น สามพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องของคดีถูกนำตัวไปทรมานเพื่อเอ่ยปากสารภาพ
เบียทริเซ่ถูกถอดเสื้อผ้าออกและจับมือไขว้หลังเอาไว้และถูกยกตัวสูงเหนือพื้น ก่อนที่จะทิ้งตัวเธอลงมากระแทกพื้นทุกครั้งที่เธอ
ไม่ยอมรับสารภาพ ส่วนพี่ชายสองคนนั้นใช้วิธีจี้ตัวด้วยคีมเหล็กเผาไฟ

ผลสรุปของการทรมานคือเบียทริเซ่ทนกว่าพี่ชายสองคนของเธอ โดยเบอร์นาโดยอมรับสารภาพก่อนใครๆ

แม้คำสารภาพสังคมต่างเหตุใจตัวบีทริซ แต่สุดท้ายบทลงโทษนั้นก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1599
สามพี่น้องถูกนำตัวไปประหาร โดยบีเบียทริเซ่ถูกตัดหัวออกเป็นคนแรก และเพชฌฆาตได้ยกหัวเธอขึ้นให้พยานได้ดูกันจ๊ะๆ กับตา



ต่อมาก็ตามด้วยลูเครเซียแม่เลี้ยงของเบียทริเซ่ในขณะที่จิอาโคโมถูกนำตัวไปประหารด้วยค้อนยักษ์ทุบหัว ส่วนเบอร์นาโด
ถูกลดหย่อนโทษในนาทีสุดท้ายจากความเห็นใจจากสังฆราชฯ เหลือเพียงโทษจำคุกตลอดชีวิต(ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวต่อมา
ส่วนมาร์ซิโอนั้นเสียชีวิตเพราะทรมานก่อนหน้าจะถูกนำตัวไปประหาร และจอมวางแผนการกูเออราสุดท้ายเขานี้รอดไปได้
และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย (บ้างก็ว่าคนรักของเบียทริถูกทรมานและเสียชีวิตโดยไม่ต้องเปิดเผยความจริง)

 
เบียทริเซ่และแม่เลี้ยงถูกประห่ารท่ามกลางการประท้วงของคนทั้งกรุงโรมที่ได้ทราบสาเหตุการฆาตกรรม แม้ว่าทางศาล
จะมีการสั่งยกเลิกชั่วคราว แต่สมเด็กพระสัมตะปาปากลัวอิทธิพลตระกูลของฟรานเซสโก เซนซีทำให้จำใจประหารเบียทริเซ่
และแม่เลี้ยงเมื่อวันที่ 11 กันยายน 1599 ในบริเวณสะพานนั่งร้านสุสานของเฮเดรีย (หรือเป็นที่รู้จักกันในปราสาทเทวดา)

หลังเบียทริเซ่ถูกประหาร ศพของเธอถูกฝังในในโบสถ์ซานปิเอโตร มอนโตริโอ (San Pietro in Montorio) สำหรับ
คนกรุงโรมแล้ว เธอได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความต่อต้านที่มีต่อชนชั้นสูงหย่อหยิ่ง และนอกจากนี้ยังมีตำนานที่กล่าวว่า
ทุกคืนในวันที่เธอจะตาย เธอมักปรากฏตัวในสภาพไร้ศีรษะที่สะพานใกล้จุดที่เธอเสียชีวิต

 
 
HG Hosmer: Beatrice Cenci


 
เรื่องราวของบีทริซเซ่ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวกรุงโรม จนถูกนำมาสร้างเป็นวรรณกรรม ละครเวที โอเปร่า นิยาย ดนตรี
และศิลปะมากมาย ที่โดดเด่นคือภาพวาดบีทริซเซ่ วาดโดย กวีโด เรนี(1575–1642) ประติมากร HG Hosmer: Beatrice Cenci
ผลงานของแฮเรียต ฮอสเมอร์ นอกจากนี้ยังมีละครวิทยุ “The Cenci Family” (2004)

ทางด้านภาพยนตร์มีภาพยนตร์อิตาลีกำกับโดยลูชิโอ้ ฟูลชี่ “Beatrice Cenci “ที่ฉายในปี 1969 โดยภาพยนตร์จั่วหัวว่าเป็น
เรื่องราวของท่านผู้หญิงอิตาลีกับคนรักและครอบครัวของเธอร่วมมือฆ่าพ่อของเธอที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นำไปสู่ความสับสน
วุ่นวายในสังคมชาวโรมันและโบสถ์คาทอลิกในอิตาลีศตวรรษที่ 16

<a href="https://www.youtube.com/v/r13hyJrALaU" target="_blank" class="new_win">https://www.youtube.com/v/r13hyJrALaU</a>
 
อ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Beatrice_Cenci
 
credit :: cammy@dek-d.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2016, 10:39:03 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่