-->

ผู้เขียน หัวข้อ: Regina v. Dudley and Stephens ฆ่าเพราะไม่มีทางเลือก  (อ่าน 551 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18221
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
Regina v. Dudley and Stephens ฆ่าเพราะไม่มีทางเลือก
« เมื่อ: 14 ตุลาคม 2016, 12:40:51 »

Regina v. Dudley and Stephens ฆ่าเพราะไม่มีทางเลือก

กรณี R v Dudley and Stephens (ย่อมาจาก Her Majesty The Queen v. Tom Dudley และ Edwin Stephens)
น่าจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ยังคงต้องคำถามจริยธรรมและการชีวิตรอดได้เป็นอย่างดี เรื่องราวของพวกเขายังคงเป็นกรณีศึกษา
ถึงกฎหมายฆ่าเพราะจำเป็นจนถึงปัจจุบัน

 
Regina v. Dudley and Stephens


 
มีหลายกรณีที่ทำให้คนเราต้องฆ่าคน หากแต่กรณีฆ่าเพราะจำเป็นถึงขั้นฆ่ากินคนเพราะความหิวโหยนั้นยังคงเป็นที่
ถกเถียงว่าจำเป็นหรือไม่ เหมือนในกรณีของอาร์ วี ดัดลีย์และสตีเฟนส์นั้นถือว่าเป็นกรณีน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งถึงการ
ฆาตกรรมคนหนึ่งคนเพื่อให้หลายคนรอด


เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อเรือยอชท์ลำหนึ่งชื่อมินยะเนท (Mignonette) เป็นเรือยาวประมาณ 16 เมตร สร้างในปี 1867
ได้ออกจากท่าเรือเซาแธมป์ตันไปยังซิดนีย์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 1884 ซึ่งในเวลานั้นบนเรือมีลูกเรือสี่คน
ประกอบไปด้วยกัปตันทอม ดัดลีย์, เอ็ดเวิร์ด สตีเฟนส์, เอ็ดมันด์ บุคส์ และเด็กหนุ่มอายุ 17 ปีชื่อ ริชาร์ด ปาร์คเกอร์

ในจำนวนนี้ทุกคนเป็นคนที่มีหน้าที่การงานและครอบครัวหมด ยกเว้น ริชาร์ด ปาร์คเกอร์ไม่เคยมีประสบการณ์
ออกทะเลมาก่อน และไม่มีครอบครัวหรือญาติมิตรใดๆ

ตอนแรกๆ เรือก็แล่นแบบปกติไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้น หากแต่เมื่อถึงวันที่ 5 กรกฏาคม ระหว่างที่เดินทะเล 2,600 กิโลเมตร
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมกู๊ดโฮบ เรือก็ตกอยู่ท่ามกลางพายุ  แม้ว่าสภาพพายุจะไม่รุนแรงมาก หากแต่เพราะลูกเรือ
ขาดการเตรียมพร้อม ทำให้ไม่สามารถรับมือได้ทัน จนเรือล่ม เมื่อกัปตันเรือเห็นว่าเรือไปต่อไม่ไหว เขาเลยสั่งให้ลูกเรือ
ทั้งหมดสละเรือ และปล่อยเรือชูชีพ (ยาว 4 เมตร) ทุกคนรอดขึ้นเรือชูชีพได้ทัน (เชื่อว่าเกิดจากโครงสร้างบกพร่องของ
เรือยอชท์ที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอาการแปรปรวนไม่ได้ ทำให้เกิดเรือล่ม)

เรือชูชีพนั้นนอกจากจะเป็นลำเล็กแล้วยังบอบบาง อีกทั้งพวกเขาทั้งหมดไม่ได้หยิบเสบียงอะไรติดไม้ติดมือมาเลยนอก
จากอุปกรณ์ที่ติดตัวอยู่แล้วกับหัวเทอร์นิป (ผักชนิดหนึ่ง) อีก 2 กระป๋อง ไม่มีน้ำจืด

 
ทั้งหมดสี่คนได้อยู่บนเรืออยากยากลำบาก เรือชูชีพมุ่งหน้าไปอย่างไร้จุดหมายท่ามกลางคลื่นลมแรง คืนแรกบนเรือชูชีพ
ลูกเรือต้องต่อสู้กับฉลามด้วยไม้พายของเขา สองวันแรกไม่มีใครได้กินอะไร ทุกคนอดทนจนถึงเช้าวันที่สาม ( 7 กรกฎาคม)
นับจากเรือล่ม หัวเทอร์นิปกระป๋องแรกก็ถูกแบ่งกันกิน (กระป๋องหนึ่งมี 5 ชิ้น)  ซึ่งก็พอประทังความหิวไปได้อีกสองวัน

ในวันที่ห้า (9 กรกฎาคม) พวกเขาจับเต่าทะเลได้ 1 ตัว เมื่อรวมเข้ากับหัวเทอร์นิปอีกกระป๋องที่เหลือก็ทำให้พวกเขา
มีประทังชีวิตไปได้อีก 6-7 วัน ระหว่างนี้พวกเขาหลีกเลี่ยงในการดื่มน้ำทะเลเพราะเป็นอันตราย ในตอนแรกพวกเขา
กินเลือดของเต่าทะเลที่ปนเปื้อนกับน้ำทะเล (เต่าหนักกว่า 1.4 กิโลกรัม) พวกเขาพยายามกักเก็บน้ำฝนแต่ก็ล้มเหลว

วันที่ 13 กรกฎาคม เมื่อไม่มีของเหลวบนเรือ พวกเขาก็เริ่มดื่มปัสสาวะของพวกเขาเอง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายกระหายน้ำได้
แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายกระหายน้ำได้ และแล้ววันที่ 20 กรกฎาคมปาร์กเกอร์ก็ทนความผิวกระหายน้ำไม่ไหว เขาได้ดื่มน้ำทะเล
เข้าไปจนล้มป่วยไม่สบาย

พวกเขาใช้ชีวิตบนเรือชูชีพเกือบ 20 วัน ก็ยังไม่มีเงาของฝั่งหรือเรืออื่นปรากฏในสายตา อาหารและน้ำจืดก็ไม่มี
พวกเขาทั้งหมดทั้งหิวและกระหาย เมื่อถึงที่สุดทั้งสามคนที่เหลือได้พูดถึงการเสียสละชีวิตเพื่อส่วนรวม ด้วยการ
หาฆ่าคนใดคนหนึ่งที่มาเป็นอาหารเพื่อคนอื่นๆ ความจริงแล้ว การพูดถึงเรื่องดังกล่าวนั้นเริ่มพูดลอยๆ เมื่อวันที่ 16-17
และมันก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่ 21 อาการของ ปาร์กเกอร์ ก็เข้าขั้นโคม่าใกล้ตายเต็มทน ดัดลีย์ได้บอกคนอื่นว่า
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสละคนใดคนหนึ่งเพื่อให้คนอื่นรอด และพวกเขาควรจับสลากเลือกผู้เสียสละ แต่บรูคส์ปฏิเสธ

ในคืนนั้นเองดัดลีย์ได้ปรึกษาดัดลีย์ ปาร์กเกอร์กำลังจะตาย และพวกเขาจะต้องฆ่าปาร์กเกอร์เพื่อกินอาหารเพื่อให้ทุกคนรอด
ทุกคนต่างมีครอบครัวและต้องรอดชีวิตไปหาพวกเขา และ ควรฆ่าปาร์กเกอร์ในขณะที่มีชีวิตอยู่ เพราะหากตายตามธรรมชาติ
ก็จะทำให้เลือดเสียไปไม่สามารถดื่มกินได้

เมื่อวันรุ่งขึ้นไม่มีความช่วยเหลือใดๆ มาถึง พวกเขาก็ตัดสินใจฆ่าปาร์กเกอร์ สตีเฟ่นคลานไปยัง
อีกฝั่งของเรือ จับยึดขาของปาร์กเกอร์ เอาไว้ กัปตันดัดลีย์สวดมนต์ถึงพระผู้เป็นเจ้าพร้อมมีดพับ
แทงเข้าไปยังเส้นเลือดที่ลำคอของปาร์กเกอร์



 
เรื่องราวขั้นตอนสังหารปาร์กเกอร์ต่อจากนี้มีรายละเอียดแตกต่างกัน สิ่งที่รู้คือเพียงไม่กี่อึดใจ เด็กหนุ่มผู้น่าสงสารก็ไม่ต้อง
ทรมานอีกต่อไป ทั้งสามคนหลังจากฆ่าปาร์กเกอร์แล้วทำการแล่เนื้อมากิน โดยดัดลีย์และบรูคส์กินเนื้อมากพอสมควร
ในขณะที่สตีเฟนกินเนื้อมาก นอกจากนี้พวกเชายังจับน้ำฝนสามารถประทังชีวิตไปอีกหลายวัน โดยดัดลีย์ได้บรรยาย
บรรยากาศบนเรือลูชีพหลังจากสังหารปาร์กเกอร์ว่า

“ผมสามารถบอกได้เลยว่าผมจะไม่มีวันลืมสายตาของสองสหายโชคร้ายของผมแน่นอน มันน่ากลัวยิ่งกว่าอาหาร
ที่อยู่ตรงหน้าเสียอีก พวกเราทุกคนเหมือนหมาป่าบ้าไม่มีผิด....”


ผ่านไปอีกไม่กี่วัน ในที่สุดวันที่ 29 กรกฎาคมก็มีเรือผ่านมาและรับสามคนนั้นขึ้นเรือ กัปตันของเรือที่มาช่วยชีวิตเห็นซาก
ของศพมนุษย์บนเรือชูชีพ ก็สอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นดัดลีย์ ก็เล่าเรืองไปตามความจริงเพราะเขาเองคิดว่ามันเป็นเรื่อง
ที่จำเป็นที่ต้องทำ ไม่ควรถือเป็นความผิด กัปตันเรือได้ฟังเรื่องก็ไม่ว่าอะไร

แต่แล้วเมื่อดัดลีย์, สตีเฟ่น และบรูคถึงท่าเรือครอมเวลล์ เมื่อวันเสาร์ 6 กันยายน เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ได้สอบถาม
เรื่องราวอีกครั้ง และสั่งกักตัวพวกเขาทั้งสามทันที ซึ่งดัดลีย์และสตีเฟ่นส์เชื่อว่าสิ่งที่พวกเขานั้นทำเพราะความจำเป็น
 
 
“เรื่องเล่าของอาร์เธอร์” (The Narrative of Arthur Gordon Pym of Nantucket)



ชายสามคนถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจก่อนที่จะไปปรากฏตัวต่อหน้าผู้พิพากษาในตอนเช้าของวันจันทร์ที่ 8 กันยายน
การไต่สวนที่ศาล เป็นคดีโด่งดังที่ทั่วทั้งยุโรปให้ความสนใจ


ตอนแรกดัดลีย์มั่นใจว่าผู้พิพากษาจะยกเลิกไม่เอาความผิดพวกเขา แต่กลายเป็นว่าเรื่องราวเริ่มบานปลาย ถูกแตกเป็นสองฝ่าย
เพราะกรณีแบบนี้พึ่งเกิดขึ้นครั้งแรก กระแสสาธารณชนก็โลเลเอาแน่เอานอนไม่ได้ ตอนแรกก็เห็นใจสามคนที่รอด แต่สักพัก
กระแสก็ตีกลับมาเห็นว่าควรลงโทษสามคนนั่น ผู้พิพากษาก็ปวดหัวเพราะส่วนใหญ่พวกเขาจะอ่านบทกฎหมายตัดสิน
โดยอิงจากคดีก่อนหน้า แต่คดีแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ดังนั้นศาลจึงพิจารณาเรื่องคุณธรรม, จริยธรรม และความถูกต้องตามกฎหมายของการใช้ชีวิตคนอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสรอด
ของตนเอง จากคดีในอดีตซึ่งนานไปหลายศตวรรษเลยทีเดียว

ผลของคดีโดยสรุป คือ บรูคส์ผู้ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในการฆ่า ถูกกันตัวไว้เป็นพยาน ส่วนดัดลีย์ และ สตีเฟ่น ถูกตัดสิน
ประหารชีวิตด้วยข้อหาฆาตกรรม



อย่างไรก็ตาม ผลการตัดสินของชั้นศาลนั้นต่อมาก็มีการถกเถียงกันในเรื่องความยุติธรรมหรือความสมเหตุสมผลต่อการตัดสิน
ภายหลังทั้งสองก็ได้ลดโทษเหลือแค่จำคุก 6 เดือน ซึ่งดัดลีย์ ก็ไม่เคยพอใจกับคำตัดสินของศาลเลยตลอดชั่วชีวิตของเขา
เขายังคงเชื่อว่าเขาไม่ได้ทำผิด ทุกอย่างทำไปเพราะความจำเป็น

กรณีการฆาตกรรมของริชาร์ด ปาร์คเกอร์ ได้กลายเป็นกรณีที่คุ้นเคยในหมู่กฏหมายของอังกฤษที่ยังคงต้องศึกษาต่อไป
ชื่อของริชาร์ด ปาร์กเกอร์และเหตุการณ์ฆ่าคนเพื่อเอาชีวิตรอดได้กลายเป็นละคร เพลง ในเวลาต่อมา


มีเหตุการณ์น่าพิศวงก่อนหน้า เรื่องของเรื่องคือ เอ็ดการ์ อัลเลน โพ (1809-1849) เจ้าพ่อแห่งนวนิยายสยองขวัญยุคใหม่
ได้เขียนนิยายที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งชื่อ “เรื่องเล่าของอาร์เธอร์” (The Narrative of Arthur Gordon Pym of Nantucket)
ซึ่งวางแผงเมื่อปี 1838 ซึ่งมีเนื้อหาประมาณว่าเรือแตกมีผู้รอดชีวิตสี่คนและอยู่ในซากเรือหลายวันท่ามกลางอาหารขาดแคลน
และเมื่อหลายวัน ต่อมาคนที่รอดชีวิตก็ตัดสินใจที่จะฆ่าและกินเด็กในห้องโดยสารที่ชื่อริชาร์ด ปาร์คเกอร์ และแน่นอนว่า
เรื่องราวเนื้อหาของนิยายนั้นตรงกับคดีของริชาร์ด ปาร์คเกอร์ที่เกิดขึ้นจริง แบบบังเอิญเหลือเชื่อ ทั้งๆ ที่นิยายเรื่องนี้
วางแผงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เสียอีก เพราะมันเกิดในปี 1884 !!
 
อ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/R_v_Dudley_and_Stephens
http://jusci.net/node/2290


 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2016, 15:39:09 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่