-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง  (อ่าน 1323 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

p_nuin

  • บุคคลทั่วไป

  




 

ทั้งนี้เนื่องจากพระเครื่องมีจำนวนจำกัด นับวันมีแต่เก่าขึ้น หายากขึ้น ยิ่งพระที่สวยๆไม่ต้องพูดถึงครับพี่น้อง ส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของคนมีกะตางค์ทั้งนั้นอีกทั้งพระเครื่องยังมีพระพุทธคุณที่เกจิคณาจารย์ในอดีตปลุกเสกไว้ให้ด้วยแล้ว คนรุ่นหลังๆ ยิ่งต้องแสวงหากันมากขึ้น เมื่อมีความต้องการมากราคาก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยครับ ผมก็เลยไปค้นหาข้อมูลนำเสนอคำต่างๆ ที่ในวงการพระเครื่องมักจะนิยมใช้พูดกัน อยากให้เพื่อนชาวcmxลองศึกษาดู เผื่อไปเดินเล่นในสนามพระหรืออยากเก็บสะสมพระเครื่องขึ้นมาจะได้ไม่อายเซียนเค้าครับ
 







1.เช่า/ทอน (ซื้อพระ)
   วงการพระเครื่อง ในการซื้อพระบางครั้งจะไม่นิยมพูดกันว่า"ซื้อพระ"แต่มักจะใช้คำว่า "เช่าพระ" หรือคนภาคใต้มักใช้คำว่า "ทอนพระ" สันนิฐานว่าอาจจะเป็นเพราะในอดีตที่มีการเริ่มเล่นพระกัน แล้วมีเงินมาเป็นตัวกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน คนสมัยก่อนอาจจะรู้สึกแปลกๆ ที่จะใช้คำว่า "ซื้อพระ" จึงหลีกเลี่ยงมาใช้คำว่า"เช่าพระ"ซึ่งจะฟังดูดีกว่าคับ

2. ปล่อยพระ(ขายพระ) วงการพระเครื่อง ในการขายพระบางครั้งจะไม่นิยมพูดกันว่า "ขายพระ" แต่มักจะใช้คำว่าปล่อยพระ

3. นั้ง (หุ้นกันซื้อพระ)  หมายถึงการลงทุนเช่า(ซื้อ) พระ โดยนำเงินมารวมกันหลายคน เมื่อปล่อย(ขาย) พระได้แล้ว ก็นำเงินที่ได้มาแบ่งกันตามอัตราส่วนของเงินที่ลงไป เช่น นาย ก.ต้องการเช่าพระราคา ๑ ล้านบาท แต่มีเงินไม่พอจึงไปชวนนาย ข. มานั้งเพื่อเช่าพระองค์นี้ คนละ ๕ แสนบาท เมื่อปล่อยพระองค์นี้ได้ ก็นำเงินมาแบ่งกัน การนั้งในบางครั้งเป็นการลดความเสี่ยงกรณีที่พระมีราคาสูง เพราะหากเช่าพระเพียงคนเดียวแล้วเกิดเป็นพระปลอมก็จะเจ็บตัวเยอะ แต่โดยมากท่าเป็นเซียนใหญ่จริงๆ  มักจะไม่นั้งครับ เพราะจะได้กำไรน้อย ยกเว้นสนิทกันจริงๆถึงจะยอมนั้ง

4. โดน
       หมายถึงการเช่าพระปลอมมาไม่ว่าราคาเท่าไหร่ก็ตาม โดยขณะเช่ามาไม่รู้ตัวว่าเป็นพระปลอม(เก๊) เมื่อเช่ามาแล้วถึงรู้ว่าปลอมแบบนี้เรียก"โดน"

5. พระลูกย่อย,พระน้ำจิ้ม
        หมายถึงพระที่มีราคายังไม่สูงมากนัก(หลักร้อยถึงพันต้นๆ) คือเป็นพระรุ่นหลังๆ แต่วงการเช่าหากัน สรุปคือมีราคาแต่ยังไม่แพง อย่างนี้เรียกว่า "ลูกย่อย" แต่ถ้าท่านไปเช่าพระที่มีราคาแพงและนิยมแล้วเจ้าของร้านแถมพระให้โดยไม่คิดมูลค่า พระแถมนี้จะเรียกว่า "พระน้ำจิ้ม"

6.  ของหลัก
         คือพระยอดนิยม และมีราคาค่อนข้างสูง (ประมาณหลักหมื่นขึ้นไป) ซึ่งไม่ว่าจะนำไปปล่อยที่สนามพระไหนก็จะมีคนขอเช่าเสมอ แต่ของหลักบางครั้งถ้ามีสภาพพระที่ไม่สวย ราคาอาจจะไม่สูงครับ

7. ของเล่นได้/ของเล่น
        
        มีสองความหมายครับ คือ ๑. หมายถึงพระที่นำไปปล่อยให้เช่าได้ โดยไม่สนใจว่าจะแท้หรือเก๊ (ก้ำกึ่งระหว่างแท้กับเก๊) อย่างนี้เรียกว่า "ของเล่นได้" หรือ๒. หมายถึงของเก๊ที่ดูง่ายๆ คือ เก๊ซึ่งไม่เหมือนหรือไม่ใกล้เคียงกับของแท้เลย อย่างนี้เรียกว่า "ของเล่น"

8. แห่
       หมายถึงการนำพระที่เราเช่า (ซื้อ) มาหรือได้มาแบบฟรีๆ ไปทำการตรวจเช็คว่าแท้หรือไม่ โดยการนำไปตรวจเช็คจะต้องให้เซียนพระในสนามพระหลายๆคนดู อย่างนี้เรียกว่า "แห่พระ" การแห่พระนั้นโดยมากจะทำก็ต่อเมื่อ พระที่ได้รับมานั้นเจ้าของพระไม่มั่นใจว่าพระองค์นั้นๆ แท้หรือไม่จึงต้องนำไปแห่หากแห่แล้วเซียนพระขอเช่า (ซื้อ) หรือต่อรองราคา แสดงว่าพระองค์นั้นเป็นพระแท้ครับ

9. สวยแชมป์,กริ๊บๆ, เดิมๆ
       พระที่สวยมากๆ มีความคมชัด เมื่อนำไปประกวดในงานประกวดพระที่ไหนก็ตาม แล้วมักจะได้รับรางวัลที่ ๑ อยู่เสมออย่างนี้เรียกว่า"พระสวยแชมป์" หากเป็นพระที่สวย อยู่ในสภาพที่ดีและไม่เคยนำมาห้อยคอหรือสัมผัสโดนมือเลยจะเรียกว่า "กริ๊บๆ" หรือ "เดิมๆ"

10.  แท้แต่ไกล, ดูง่าย
          พระที่ดูง่ายๆ ไม่ต้องใช้กล้องส่องดูคือเพียงเห็นพระก็บอกได้เลยว่าเป็นพระแท้อย่างนี้เรียกว่า "แท้แต่ไกล" หรือ"พระดูง่าย" ถ้าเป็นพระแท้แต่อาจจะดูก้ำกึ่งว่าแท้หรือเก๊ เซียนพระอาจจะบอกว่าเป็น"พระดูยาก"

 11. ตกควาย (ขายผิดราคา)
           "ตกควาย" คำคำนี้ไม่ได้หมายถึงเราขึ้นไปขี่หลังควายแล้วตกลงมานะครับ"ตกควาย"ในวงการพระคือการที่เราเช่า(ซื้อ) พระมาราคาหนึ่งแล้วปล่อย (ขาย) พระออกไปในราคาที่ถูกกว่าต้นทุน หรือราคาที่ปล่อยไปต่ำกว่าราคาที่จะเปนในท้องตลาด
 
 12. พระมีประสบการณ์
            คือพระที่มีพระพุทธคุณเด่นไปในทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดหรืออภินิหารจากที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการร่ำลือกันอย่างแพร่หลาย เช่น เมื่อแขวนแล้วรถชน รถคว่ำแต่คนแขวนพระองค์นั้นกลับไม่เป็นอะไร

 13.  พระเกจิ
            คือพระเครื่องที่ได้มีการจัดสร้างหรือปลุกเสกขึ้นมาโดยเกจิคณาจารย์ยุคต่างๆ ทั้งยุคก่อนจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน
 
 14. พระกรุ
           คือพระที่ได้มีการจัดสร้างหรือปลุกเสกขึ้น เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์หรือกรุพระในโอกาศต่างๆ (เป็นพระที่สร้างโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าบุคคลใดสร้าง และเกจิองค์ใดปลุกเสก) แล้วได้มีการขุดพบพระเหล่านี้ขึ้นมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 เมษายน 2010, 20:22:30 โดย p_nuin »

popcorn4202

  • บุคคลทั่วไป
Re: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 เมษายน 2010, 18:03:06 »

ความรู้ดีมากเลยครับ pongz
โดยส่วนตัวแล้วผมรู้ศัพท์แค่ข้อแรกเท่านั้นเอง

suksao

  • บุคคลทั่วไป
Re: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28 เมษายน 2010, 19:14:16 »

รู้จักแต่ข้อ 1 กับข้อ 4 ครับ

โดนมาแล้วกับตัวเอง  uilo

noikasu

  • บุคคลทั่วไป
Re: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2010, 20:46:30 »

ขอบคุณครับ hgjhg

prof.big

  • บุคคลทั่วไป
Re: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2010, 12:55:43 »

ได้ความรู้เพิ่มอีกหลายข้อเลยครับ  ว่าแต่ห้องนี้มีมานานหรือยังครับ ทำไมผมเพิ่งเห็นครับ

lpman

  • บุคคลทั่วไป
Re: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2010, 17:21:25 »

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เยอะเลย

Lacoste

  • บุคคลทั่วไป
Re: ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวงการพระเครื่อง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2010, 22:31:26 »

ขอบคุณมากครับท่าน ผมกำลังเริ่มศึกษาพระเครื่องครับ