-->

ผู้เขียน หัวข้อ: คุณรู้จัก ซินเดอเรลล่า ดีแค่ไหน  (อ่าน 251 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed
คุณรู้จัก ซินเดอเรลล่า ดีแค่ไหน
« เมื่อ: 17 มกราคม 2019, 15:19:48 »

คุณรู้จัก ซินเดอเรลล่า ดีแค่ไหน



ซินเดอเรลล่า (อังกฤษ: Cinderella; ฝรั่งเศส: Cendrillon) เป็นเทพนิยายปรัมปราที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วทั้งโลก
มีการดัดแปลงเป็นรูปแบบต่างๆ มากมายกว่าพันครั้ง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กสาวกำพร้าผู้หนึ่งที่อยู่ในอุปถัมภ์ของแม่เลี้ยงกับพี่สาว
บุญธรรมสองคน แต่ถูกทารุณและใช้งานเยี่ยงทาส ต่อภายหลังจึงได้พบรักกับเจ้าเมืองหรือเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ตำนานซินเดอเรลล่า
มีปรากฏในเทพนิยายหรือนิทานพื้นบ้านประเทศต่างๆ ทั่วทั้งโลกโดยมีชื่อของตัวเอกแตกต่างกันออกไป




ทว่าฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ลส แปร์โรลต์ ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งอิงมาจากวรรณกรรมของ จิอัมบัตติสตา เบซิล
เรื่อง La Gatta Cenerentola ในปี ค.ศ. 1634 ในเรื่องนี้ตัวเอกมีชื่อว่า เอลลา (Ella) แต่แม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้ายของเธอพากันเรียกเธอว่า
ซินเดอเรลล่า (Cinderella) อันหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม" ซึ่งกลายเป็นชื่อเรียกเทพนิยายในโครงเรื่องนี้โดยทั่วไป

ซินเดอเรลล่า ได้รับการโหวตจากเด็กๆ กว่า 1,200 คนจากการสำรวจโดย cinema chain UCI เป็นเทพนิยายยอดนิยมอันดับหนึ่ง
ในดวงใจ เมื่อปี ค.ศ. 2004 ผลสำรวจจากกูเกิล เทรนดส์ เมื่อปี ค.ศ. 2008 ก็พบว่า ซินเดอเรลล่า เป็นเทพนิยายที่ได้รับความนิยม
และกล่าวถึงมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต


ประวัติ



โครงเรื่องของซินเดอเรลล่าน่าจะมีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยคลาสสิก นักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ สตราโบ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ จีโอกราฟิกา เล่ม 17
ตั้งแต่ราวหนึ่งร้อยปีก่อนคริสตกาล ถึงเรื่องราวของเด็กสาวลูกครึ่งกรีก-อียิปต์ผู้หนึ่งชื่อ โรโดพิส (Rhodopis) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเนื้อเรื่อง
ที่เก่าแก่ที่สุดของซินเดอเรลล่า โรโดพิส (ชื่อมีความหมายว่า "แก้มกุหลาบ") ต้องอยู่ซักเสื้อผ้ามากมายขณะที่เหล่าเพื่อนหญิงรับใช้พากันไป
เที่ยวงานเต้นรำซึ่งฟาโรห์อามาซิสทรงจัดขึ้น นกอินทรีย์นำรองเท้าของเธอที่ประดับกุหลาบไปทิ้งไว้ที่เบื้องบาทของฟาโรห์ในนครเมมฟิส
พระองค์ตรัสให้สตรีในราชอาณาจักรทดลองสวมรองเท้านี้ทุกคนเพื่อหาผู้สวมได้พอเหมาะ โรโดพิสสวมได้พอดี ฟาโรห์ตกหลุมรักเธอ
และได้อภิเษกสมรสกับเธอ


ต่อมาเนื้อเรื่องนี้ปรากฏอีกครั้งในงานเขียนของเคลาดิอุส ไอเลียนุส (Claudius Aelianus) แสดงให้เห็นว่าโครงเรื่องซินเดอเรลล่า
เป็นที่นิยมมาตลอดยุคคลาสสิก บางทีจุดกำเนิดของตัวละครอาจสืบย้อนไปได้ถึงช่วง 600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีสตรีในราชสำนักเธรซคนหนึ่ง
ใช้ชื่อเดียวกันนี้ และเป็นผู้รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีกับ อีสป นักเล่านิทานยุคโบราณ



ซินเดอเรลล่าในวัฒนธรรมต่างๆ



รูปปั้นซินเดอเรลล่าให้อาหารนก จากเทพนิยายกริมม์ ตั้งอยู่ที่สวน Schulenburgpark ในกรุงเบอร์ลิน สร้างขึ้นในโอกาสก่อสร้าง
"น้ำพุเทพนิยาย" ในปี ค.ศ. 1970 โครงเรื่องซินเดอเรลล่าเรื่องหนึ่งคือ เย่เซี่ยน (Ye Xian) ซึ่งปรากฏในเรื่องเล่าเบ็ดเตล็ดจากโหย่วหยาง
(Miscellaneous Morsels from Youyang) งานเขียนของ ต้วนเฉิงจื่อ บัณฑิตจีนยุคราชวงศ์ถัง ในราว ค.ศ. 860 ในเรื่องนี้
หญิงสาวผู้น่ารักและกรำงานหนักได้เป็นเพื่อนกับปลา ซึ่งต่อมาถูกแม่เลี้ยงของนางฆ่า เย่เซี่ยนเก็บกระดูกปลาไว้ และเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น
เมื่อมันช่วยสร้างชุดที่สวยงามให้นางสวมไปงานเทศกาล ต่อมานางทำรองเท้าหลุดขณะรีบเร่งกลับ พระราชาจึงได้พบนางและตกหลุมรักนาง




ยังมีเทพนิยายอีกเรื่องหนึ่งคือ แอนน์ เดอ เฟอร์นันเดซ (Anne de Fernandez) นิทานของอินโด-มาเลย์ ในยุคกลาง ตัวละครหลักคือแอนน์
ได้เป็นเพื่อนกับปลาพูดได้ ชื่อว่า โกลด์อายส์ (Gold Eyes) ซึ่งที่แท้เป็นแม่ของแอนน์ที่กลับชาติมาเกิด โกลด์อายส์ถูกแม่เลี้ยงของแอนน์
ชื่อ ติตา วาเวย์ กับลูกสาวผู้อัปลักษณ์สองคนล่อหลอกและฆ่าตาย พวกเขากินโกลด์อายส์เป็นอาหารค่ำระหว่างที่ใช้ให้แอนน์ออกไปธุระด่วน
แล้วเอากระดูกของโกลด์อายส์ให้แอนน์ดูเมื่อเธอกลับมา แม่เลี้ยงยังต้องการให้บุตรสาวของตนแต่งงานกับเจ้าชายแห่งตาลัมบันผู้อ่อนโยนและมีรูปงาม
แต่เจ้าชายกลับไปหลงรักแอนน์ เดอ เฟอร์นันเดซ เจ้าชายพบรองเท้าทองซึ่งมีขนาดเล็กมาก และทำให้พระองค์ได้พบกับแอนน์
แม้ว่าพี่สาวบุญธรรมของเธอพยายามจะใส่รองเท้านั้นสักเพียงใด


ที่ประเทศญี่ปุ่น มีนิยายเก่าแก่คล้ายกับซินเดอเรลล่าเรื่องหนึ่ง ชื่อ ชูโจ-ฮิเมะ (Chūjō-hime) นางเป็นบุตรีของขุนนางชื่อ ฟูจิวาระ โนะ โตโยนาริ
ในเรื่องนางหนีภัยจากแม่เลี้ยงผู้ชั่วร้ายโดยไปออกบวช ได้รับความช่วยเหลือจากภิกษุณี




ประเทศเกาหลีก็มีตำนานปรัมปราที่โด่งดังเรื่อง กงจิ (Kongji) ซึ่งถูกทารุณโดยแม่เลี้ยงกับพี่บุญธรรม นางไปร่วมงานเลี้ยงเฉลิมฉลองที่จวนผู้ว่า
และได้พบกับบุตรชายของท่านผู้ว่า เรื่องราวดำเนินไปคล้ายคลึงกับซินเดอเรลล่าของทางยุโรป




สำหรับนิทานพื้นบ้านไทยก็มีเรื่อง ปลาบู่ทอง ตัวละครเอกชื่อ เอื้อย เป็นบุตรคหบดีกับภริยาหลวง ซึ่งตกน้ำเสียชีวิตแล้วมาเกิดเป็นปลาบู่คอยดูแลบุตรสาว
ภริยาน้อยของคหบดีหรือแม่เลี้ยงของเอื้อยมีบุตรสาวสองคนชื่อ อ้าย กับ อี่ ทั้งหมดใช้งานเอื้อยเยี่ยงทาส เมื่อเห็นเอื้อยพูดคุยกับปลาบู่ทองในสระ
ก็จับปลาบู่มาฆ่าเสีย เกล็ดปลาบู่ฝังดินกลายเป็นต้นมะเขือ แม่เลี้ยงก็ทำลายต้นมะเขือ ผลมะเขือฝังดินเติบใหญ่กลายเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง
ทำให้พระเจ้าพรหมทัตมาพบเพราะเสียงลมพัดใบโพธิ์ไพเราะ แล้วรับเอื้อยไปอยู่ในวัง




นิทานซินเดอเรลล่าของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดคือเรื่อง La Gatta Cenerentola หรือ "The Hearth Cat" ปรากฏในหนังสือเรื่อง
"อิล เพนตาเมอโรน" ("Il Pentamerone") ของนักสะสมเทพนิยายชาวอิตาลี จิอัมบัตติสตา เบซิล (Giambattista Basile)
ในปี ค.ศ. 1634 ซินเดอเรลล่าชุดนี้เป็นโครงเรื่องพื้นฐานของซินเดอเรลล่าในยุคต่อๆ มาของ ชาร์ลส แปร์โรลต์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส
รวมถึงสองพี่น้องตระกูลกริมม์ ชาวเยอรมัน

ซินเดอเรลล่า ของ ชาร์ลส แปร์โรลต์ ในปี ค.ศ. 1697 นับเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด เนื่องมาจากการเพิ่มเติมรายละเอียด
ปลีกย่อยมากมายในเทพนิยาย เช่น ผลฟักทอง นางฟ้าแม่ทูนหัว และร ถ้าถามว่า “รองเท้าของซินเดอเรลล่าทำมาจากอะไร?”
ทุกคนก็คงตอบว่า “แก้ว” แต่อันที่จริงแล้ว รองเท้าของซินเดอเรลล่านั้น “ทำมาจากขนกระรอก”

ชาร์ลส์ แปร์โรลต์ ผู้เขียนเรื่องซินเดอเรลล่าฉบับที่คุ้นเคยกันดีในศตวรรษที่ 17 ได้ยินคำว่า vair (ขนกระรอก) ผิดไปจากเรื่องเล่าในยุคกลาง
เขาได้หยิบยืมคำนี้มาใช้แล้วปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น โดยใช้คำที่มีเสียงคล้าย ๆ กันแทน นั่นคือคำว่า verre (แก้ว)




ซินเดอเรลล่าเป็นเรื่องราวที่มีมานมนานแล้ว และปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งแบบฉบับจีนนั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9
โดยมีกว่า 340 แบบฉบับที่แพร่หลายก่อนหน้าของแปร์โรลต์ และไม่มีแบบฉบับไหนในยุคแรก ๆ ที่เอ่ยถึงรองเท้าแก้วเลย
ในแบบฉบับตั้งเดิมของจีนชื่อ “Yen-Shen” รองเท้าซินเดอเรลล่าทำด้วยด้ายทองคำและมีส้นรองเท้าเป็นทองแท่ง ส่วนในแบบฉบับ
ของสก็อต “Reshine-Coat” รองเท้าทำมาจากต้นกก ขณะที่เรื่องเล่าของฝรั่งเศสยุคกลางที่แปร์โรลต์นำมาดัดแปลงนั้น
ได้พรรณาถึงรองเท้าของซินเดอเรลล่าว่าเป็น pantoufles de vair ซึ่งแปลว่ารองเท้าขนกระรอก
 
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งระบุว่า ข้อผิดพลาดระหว่าง vair กับ verre นั้นมีมาตั้งแต่ก่อนยุคของแปร์โรลต์เสียอีก เขาก็แค่ทำผิดซ้ำเท่านั้นเอง
คนอื่น ๆ เลยคิดว่ารองเท้าแก้วเป็นความผิดของแปร์โรลต์


พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ดระบุว่า มีการใช้คำว่า vair ในภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศสมาอย่างน้อยตั้งแต่ปี 1300
โดยมาจากคำว่า varius ในภาษาละตินที่แปลว่า “หลากสี” และหมายถึงขนของกระรอกทุกสายพันธุ์ซึ่งนำมาใช้ขลิบขอบหรือเดินเส้นบนเสื้อผ้า
แม้ว่าเว็บไซต์ Snopes.com จะแย้งว่า แปร์โรลต์ไม่น่าจะได้ยินคำว่า vair ผิดเป็นคำว่า verre เพราะคำว่า vair ไม่มีใช้ในยุคของเขาแล้ว
แต่ก็ยังฟังดูน่าสงสัยอยู่ดี เพราะยังมีการใช้คำนี้ในภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งอย่างน้อยปี 1864




แปร์โรลต์ เป็นนักเขียนชาวปารีสในวงสังคมชั้นสูง และได้เป็นถึงผู้อำนวยการของราชบัณฑิตยสภาฝรั่งเศส เดิมทีเรื่อง
Tales of Mother Goose (1697) หรือซินเดอเรลล่าฉบับของเขานั้น แต่งขึ้นมาเพื่อสร้างความบันเทิงในราชสำนัก
เรื่องนี้ตีพิมพ์โดยใช้ชื่อของลูกชายวัย 17 ปีของเขา และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมชนิดใหม่
ซึ่งก็คือเทพนิยายนั่นเอง และนอกจากซินเดอเรลล่าแล้ว เขายังเป็นคนแต่งเรื่อง เจ้าหญิงนิทรา และหนูน้อยหมวกแดง อีกด้วย


นอกจากนี้ยังมีซินเดอเรลล่าของ เจค็อบกับวิลเฮล์ม กริมม์ (สองพี่น้องตระกูลกริมม์) ซึ่งประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็นับเป็นชุดที่มี
ชื่อเสียงมากเช่นกัน เด็กสาวในเรื่องนี้ชื่อว่า แอนน์ เดล ทาโคล หรือ แอนน์แห่งทาโคลบัน ใช้ชื่อตำนานว่า Aschenputtel
ผู้มาช่วยเด็กสาวไม่ใช่นางฟ้าแม่ทูนหัว แต่เป็นผลจากคำอธิษฐานต่อต้นไม้วิเศษซึ่งงอกงามขึ้นบนหลุมฝังศพของแม่ของเธอ ในเรื่องนี้
พี่เลี้ยงของแอนน์สามารถหลอกเจ้าชายได้โดยการตัดปลายเท้าของตนเพื่อให้สามารถสวมรองเท้าได้ แต่เจ้าชายก็ทราบเรื่องในภายหลัง
เมื่อนกพิราบสองตัวจิกลูกตาของพวกนาง ทำให้กลายเป็นขอทานตาบอดไปตลอดชีวิต



ตำนานปรัมปราของชาวเคลติกในสก็อตแลนด์ มีอยู่เรื่องหนึ่งชื่อ Geal, Donn, and Critheanach พี่เลี้ยงทั้งสองในตำนานเคลติก
มีชื่อว่า Geal และ Donn ส่วนซินเดอเรลล่าในตำนานนั้นมีชื่อว่า Critheanach



เนื้อเรื่องย่อ (จากฉบับของแปร์โรลต์)



ซินเดอเรลล่ากับนางฟ้าแม่ทูนหัว ภาพวาดของ โอลิเวอร์ เฮอร์ฟอร์ด อิงจากเทพนิยายของแปร์โรลต์ ซินเดอเรลล่าเดิมมีชื่อว่า เอลล่า (Ella)
เป็นบุตรสาวของเศรษฐีผู้มั่งมี มารดาของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเล็ก เป็นเหตุให้บิดาของเอลล่าจำใจแต่งงานใหม่กับมาดามผู้หนึ่งซึ่งเป็นหม้าย
และมีลูกสาวติดมาสองคนเพราะอยากให้เอลล่ามีแม่ ไม่นานนักหลังจากนั้น เศรษฐีผู้เป็นบิดาก็เสียชีวิต ทำให้ธาตุแท้ของแม่เลี้ยงปรากฏขึ้น
นางกับลูกสาวใช้งานเอลล่าราวกับเป็นสาวใช้ และใช้จ่ายทรัพย์ที่เป็นของเอลล่าอย่างฟุ่มเฟือย ที่ร้ายกว่านั้น ทั้งสามยังเปลี่ยนชื่อของเอลล่า
เป็น ซินเดอเรลล่า ที่แปลว่า สาวน้อยในเถ้าถ่าน เพราะพวกนางใช้งานเอลล่าจนเสื้อผ้าขาดปุปะมอมแมมไปทั้งตัวนั่นเอง


ซินเดอเรลล่ายอมทนลำบากทำงานเรื่อยมาจนกระทั่งวันหนึ่ง มีจดหมายเรียนเชิญหญิงสาวทั่วอาณาจักรให้มาที่พระราชวังเพื่อร่วมงานเต้นรำ
แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ พระราชา ต้องการหาคู่ครองให้กับเจ้าชายซึ่งเป็นพระโอรสองค์เดียว จึงใช้งานเต้นรำบังหน้า เมื่อรู้ข่าว ลูกสาวทั้งสอง
ต่างพากันดีใจที่บางทีตนอาจมีโอกาสได้เต้นรำและได้แต่งงานกับเจ้าชายก็เป็นไปได้ เช่นกันกับซินเดอเรลล่า เพราะเธอใฝ่ฝันมาตลอดเวลาว่า
จะได้เต้นรำในฟลอร์ที่งดงามและเป็นอิสระจากงานบ้านอันล้นมือเหล่านี้ แต่แน่นอน เมื่อเด็กสาวขอไป แม่เลี้ยงใจร้ายจึงกลั่นแกล้งต่างๆ
นานาจนซินเดอเรลล่าไม่มีชุดใส่ไปงานเต้นรำ

ซินเดอเรลล่าเสียใจมาก จึงหนีไปร้องไห้อยู่คนเดียว ทันใดนั้นนางฟ้าแม่ทูนหัวของซินเดอเรลล่าก็ปรากฏตัวขึ้นและบันดาลชุดที่สวยงามที่สุด
ให้ซินเดอเรลลา พร้อมกับบอกให้เด็กสาวไปงานเต้นรำ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องกลับมาก่อนเที่ยงคืน ไม่เช่นนั้นเวทมนตร์จะเสื่อมลงไปในทันที

ซินเดอเรลล่าได้ทำตามความฝัน แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือ คู่เต้นรำที่เธอก็ไม่ทราบว่าเป็นใครนั้นคือเจ้าชายนั่นเอง ทั้งสองตกหลุมรักกันทั้งที่ยังไม่รู้
ชื่อเสียงเรียงนามของอีกฝ่าย แต่เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ซินเดอเรลล่าก็รีบหนีไปโดยลืมรองเท้าแก้วเอาไว้ เจ้าชายเก็บรองเท้าไว้ได้จึงประกาศว่า
จะทรงแต่งงานกับหญิงสาวที่สวมรองเท้าแก้วนี้ได้เท่านั้น



เสนาบดีได้นำรองเท้าแก้วไปตามบ้านต่างๆ เพื่อให้หญิงสาวทั่วอาณาจักรได้ลอง จนมาถึงบ้านแม่เลี้ยง เมื่อลูกสาวทั้งสองลองครบแล้ว
นางก็โกหกว่าไม่มีหญิงสาวในบ้านอีก พร้อมทำลายรองเท้าแก้วจนแตกละเอียด ทุกคนต่างหมดหวังว่าจะไม่สามารถหาหญิงปริศนาของเจ้าชายพบ
แต่สุดท้าย ซินเดอเรลล่าก็หยิบรองเท้าแก้วอีกข้างที่เก็บไว้ขึ้นมาและสวมให้กับเหล่าเสนาได้ดู ทำให้ซินเดอเรลล่าได้แต่งงานกับเจ้าชาย
และมีความสุขตราบนานเท่านาน


(ข้อคิดในนิทาน: นารีมีรูปเป็นทรัพย์ แต่ความเมตตากรุณาเป็นสมบัติอันประมาณค่ามิได้ หากปราศจากความเมตตา ย่อมไม่มีสิ่งใดเป็นไปได้
ผู้มีความเมตตาย่อมสามารถทำได้ทุกสิ่ง)




แก้ไข ฉบับ Grimm



ชื่อเรื่องคือ "Aschenputtel"(KHM21)กล่าวกันว่านิทาน Grimm ได้รับอิทธิพลจาก Perrault อย่างมาก แต่ก็กล่าวกันว่า
นิทานเรื่องนี้ใกล้เคียงเรื่องต้นแบบยิ่งกว่าของ  Perrault ไม่ใช่หรือจุดหลักๆ ที่แตกต่างกับของ Perrault


1. แม่มดไม่ได้ปรากฏตัว (แน่นอน ไม่มีรถม้าฟักทอง แต่พิราบขาวเป็นผู้ช่วยนางเอก)

2. ได้ชุดราตรีแสนสวยมาจากนกน้อยสีขาวที่มายังต้นจาก ต้น Corylus heterophylla ที่งอกขึ้นมาข้างหลุม ฝังศพแม่

3. ไม่ใช่รองเท้าแก้ว คืนแรกเป็นรองเท้าเงิน คืนที่สองเป็นรองเท้าทอง

4. ที่ซินเดอเรลล่าทิ้งรองเท้า เอาไว้ที่บันได ไม่ได้บังเอิญทำตก แต่เจ้าชายทา ยาง มะตอยเอาไว้ล่วงหน้า รองเท้าจึงติดหลุดออกมา 

5. ตอนที่เจ้าชายให้ข้าราชบริวารตามหาซินเดอเรลล่า พวกพี่สาวที่เป็นลูกติดได้ตัดเท้าด้วยมีด(พี่สาวคนโตตัดปลายเท้า พี่สาวคนรองตัดส้นเท้า)
เพื่อให้สวมรองเท้าได้พอดี แต่เลือดซึมออกมาที่ถุงเท้า จึงความแตก

6. ตอนจบของนิทาน ในพิธีแต่งงานของซินเดอเรลล่า พี่สาวทั้งสองต่างประจบประแจงมานั่งขนาบซ้ายขวาแต่ถูกนกพิราบขาว
ที่มาหยุดอยู่ที่บ่าทั้งสองของซินเดอเรลล่าโจมตีลูกตาเป็นการแก้แค้น แล้วนิทานเรื่องนี้ก็จบลง



แก้ไข ฉบับ Basile



ผลงานที่ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ศตวรรตที่ 17 ในอิตาลี่ทางตอนใต้ก่อนหน้า Perrault และ Grimm ซึ่งมีชื่อเรื่องว่า "Cenerentola"
คาดกันว่าเก่าแก่กว่าของ Perrault และ Grimm เสียอีก มีส่วนที่แตกต่างกับผลงานของทั้งสองคนดังนี้


1. ซินเดอเรลล่าที่เป็นตัวเอกของเรื่องกับแม่เลี้ยง (ซึ่งตอนแรกสุดเธอเป็นครูสอนเย็บผ้า) สมรู้ร่วมคิดกันฆ่าแม่เลี้ยงคนแรก
ซึ่งไม่ถูกกับซินเดอเรลล่า แล้วให้พ่อที่เป็นอาร์คดูคแต่งงานใหม่กับเธอยกให้ครูสอนเย็บผ้าเป็นแม่เลี้ยง แต่หลังจากนั้น
แม่เลี้ยงคนนี้กลับรับลูกสาวแท้ๆ ของนาง 6 คน เข้ามา หักหลังซินเดอเรลล่า และปฏิบัติกับเธออย่างเย็นชา

2. ในภายหลัง พ่อซึ่งเป็นอาร์คดูคได้สัญญากับลูกสาวของแม่เลี้ยงว่าจะหาของฝากหรูหราในระหว่างที่ไปท่องเที่ยว
แต่ซินเดอเรล่ากลับตอบว่าอยากได้ของที่นกพิราบซึ่งเป็นภูติมอบให้เท่านั้นหลังจากนั้นซินเดอเรลล่าที่ได้ต้นกล้าของ
พุทราจีนซึ่งอาร์คดูคได้รับมาจากภูติ และดูแลต้นไม้ต้นนั้น อย่างให้ความสำคัญ

3. ต้นพุทราจีนความจริงเป็นต้นไม้เวทมนตร์ ซินเดอเรลล่าจึงได้สวมชุดอันงดงามที่ได้จากเวทมนตร์ของต้นไม้แล้วไป
ร่วมงานเทศกาลและเป็นที่ต้องตากษัตริย์

4. ซินเดอเรลล่าที่ถูกข้าราชบริวารของกษัตริย์ไล่ตามได้ทำเพียเนตเล่ (รองเท้าไม้ที่สวมใส่กันในอิตาลี่ศตวรรตที่ 17) ตกไว้

5. ในวัน fast day กษัตริย์ได้เรียกหญิงสาวจากทั่วประเทศ ผลจากการที่ให้ลองสวมรองเท้า มีเพียงซินเดอเรลล่าเท่านั้น
ที่สวมได้พอดี และได้รับการแต่งตั้งเป็นราชินี ส่วนหญิงสาวซึ่งเป็นลูกแม่เลี้ยงทั้ง 6 คนนั้น ได้บอกแม่ถึงความเสียหน้าในตอนนั้น
และปิดฉากลง


ลักษณะเฉพาะเด่นใหญ่ๆ ของผลงานของ Basile คือแรกสุด ซินเดอเรลล่า (หรือเซโซร่า) ได้ฆ่าแม่เลี้ยงคนแรกสุด
โดยการหนีบคอด้วยหีบใส่ผ้าให้หัก ฉากนี้เป็นหนึ่งในนิทานกริมซึ่งมีด้านที่เหมือนกันกับ Von dem Machandelboom

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2019, 15:43:58 โดย etatae333 »
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่