-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ไพ่: ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ  (อ่าน 2913 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arkarades

  • เด็กหัดเสียว
  • **
  • กระทู้: 344
  • คะแนนจิตพิสัย +1/-0
    • ดูรายละเอียด

ต้นกำเนิดของการเล่นไพ่ มีจุดเริ่มต้นที่จีน (ใครนึกไม่ออกลองนึกถึงเล่น Mahjong ดูก็ได้ครับ) อินเดีย และเปอร์เซีย แล้วแพร่ขยายมายังยุโรป ผ่านเส้นทางการค้าขาย มีหลักฐานว่าปรากฏในสวิสเซอร์แลนด์ปี 1377 และแพร่ขยายไปยังเมืองใหญ่ๆ ของยุโรป อย่าง บาเซิล ฟลอเรนส์ บาร์เซโลน่า ปารีส โรเซนบอร์ก และเมืองท่าตามเส้นทางเดินเรือต่างๆ แต่หลักฐานในยุโรปที่พูดถึงการเล่นไพ่นั้น ส่วนมากถูกพูดบ่อยครั้งในช่วง คริศตศตวรรษที่ 14 – 15 ในลักษณะของคำสั่งจากกษัตริย์และศาสนาจักรในยุโรปที่ห้ามเล่นไพ่ ดังนั้น เชื่อว่าในช่วงนั้น การเล่นไพ่จึงเป็นที่แพร่หลายในยุโรปและส่งผลในวงกว้างทางสังคมจนสถาบันหลักต้องออกมามีบทบาทในการควบคุมการเล่นไพ่มากมาย

ต้นแบบของการออกแบบ ดอกบนหน้าไพ่ มีต้นกำเนิดในตะวันออกกลางที่ทำให้ไพ่ในที่ๆต่างแทบทั้งโลกมี 4 ดอก (ชุด) ประกอบด้วย เหรียญ ถ้วย ดาบ กระบอง

ซึ่งแต่ละสังคมก็นิยาม ออกแบบ และประยุกต์ให้แตกต่างกันไปตามที่สังคมนั้นๆ ให้ความสำคัญ อย่างไพ่ของชาวอิตาเลียน ถ้วยหรือจอกก็เป็นสัญลักษณ์ของคริสตจักร ดาบเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพ เหรียญเป็นตัวแทนของพ่อค้า กระบองแทนกลุ่มชาวนา

หรืออย่างในเยอรมัน ระฆัง (Hawk bells) แทนสัญลักษณ์ของ ชนชั้นนำ หัวใจแทนคริสตจักร ใบไม้เป็นตัวแทนของชนชั้นกลาง และลูกโอ๊ตแทนความเป็นชาวนา

(ตัวอย่างไพ่ยุคแรก ของเยอรมัน)

และในฝรั่งเศส จอกแทนความเป็นขุนนาง / หัวใจ แทน คริสตจักร / กระบองแทนกลุ่มชาวนา เพชร เป็นสัญลักษณ์แทน ความร่ำรวย

นอกจากนี้ ในแต่ละที่ก็มีการใช้จำนวนไพ่ที่แตกต่างกัน เช่น ในอิตาลี ไพ่ 1 สำรับมี 56 ใบ เพราะไพ่ขอบ “Court card” จะมี king (ราชัน) queen (ราชินี) knight (อัศวิน) และ knave (ตัวโกง) ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่มี 52 ใบ คือ A, 2-9, J, Q และ K อย่างละ 4 ดอก


(เดาออกมั้ยครับ อันไหน King Queen และ Knave)

การเล่นไพ่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วในยุโรป โดยเฉพาะชนชั้นนำผู้มีอันจะกิน เพราะในช่วงแรก ไพ่แต่ละสำรับมีราคาสูง เพราะเป็นงานทำด้วยมือ ตัดมือ วาดและลงสีด้วยมือ เป็นงานศิลปะล้วนๆ



แต่เมื่อความต้องการไพ่ในตลาดมีสูงมาก ทำให้กระบวนการผลิตกลายเป็นระบบโรงงานที่ใช้การปั้มจากไพ่ต้นฉบับ(master card) และเมื่อไพ่กลายเป็นสมบัติของมหาชน แทนที่จะเป็นของค่าเวลาสำหรับนักเดินทางและชนชั้นสูงแล้ว การออกแบบไพ่จึงเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญในการสื่อสาร มากกว่า งานศิลปะของช่างประดิษฐ์ไพ่ในแบบเดิม ทำให้ลวดลายต่างๆ ถูกพัฒนาให้เป็น Icon ที่มีเหมาะกับตราปั้มมากกว่าการวาดมือ

ทำให้ ลวดลายของ ดอก ต่างๆ จึงพัฒนาเป็น Icon ของดอกแต่ละดอก กล่าวคือ ภาพกระบอง ถูกลดทอนความยากให้เป็นสัญลักษณ์ของ “ดอกจิก” (Clubs) แทน จากรูปเหรียญเปลี่ยนเป็น “ข้าวหลามตัด” (Diamonds) สัญลักษณ์ที่เป็นรูปถ้วยเปลี่ยนเป็น “โพแดง” (Hearts) และภาพดาบแทนที่ด้วย “โพดำ” (Spades) โดยนักออกแบบชาวฝรั่งเศส ซึ่งพยายามทำให้สัญลักษณ์ของไพ่หน้าต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้นผ่านตัวปั้มของโรงงาน แทนที่จะเป็นลวดลายของดอกแต่ละดอกที่ทำได้ยากกว่า สำหรับหน้าของไพ่ที่เป็น King ที่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นกษัตริย์ต่างๆ นั้น มีต้นกำเนิดจากการวาดภาพบนหน้าไพ่ของชาวฝรั่งเศสที่ชื่อของราชันและรวมถึงราชินี และตัวโกง (Knave) ด้วย ซึ่งในแรกชื่อของกษัตริย์โรมันในยุคกลางที่ถูกใช้จะเป็น Solomon Augustus Clovis และ Constantine และในเวลาต่อมาประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เปลี่ยนเป็นหน้าไพ่ของ King ที่สำคัญในยุคต่อมา คือ Charlemagne (โพแดง) Davis (โพดำ) Julius Caesar (ข้าวหลามตัด) และ Alexandar the Great (ดอกจิก)

สำหรับภาพของ Queen ที่ไล่เรียงตามลำดับตามดอก โพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด ดอกจิก คือ Pallas, Judith, Rachel และ Argine ส่วนไพ่ Jack หรือ Knaves (พวกตัวโกง) จะเป็น Ogier the Dane, La Hire, Hector และ Judas Maccabeus (or Lancelot) และถ้าจะถามว่ารู้ได้ยังไง ตอบให้ว่ารู้ เพราะในไพ่เขาเขียนระบุชื่อไว้เลยครับ ว่าหน้าไพ่หน้าไหนเป็นใครบ้าง (ภาพดูด้านล่างนะครับ)



แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจในทางประวัติศาสตร์ตรงที่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และแมรี่ อังตัวเนตถูกตัดศีรษะด้วยกิโยติน ทำให้สัญลักษณ์ของความเป็นสถาบันกษัตริย์ก็ไม่ถูกยอมรับ ทำให้ไพ่ขอบที่เป็นรูปกษัตริย์ถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เป็นเสรีภาพ ซึ่งในเวลาต่อมาไพ่ในปัจจุบันแม้ว่าจะใช้รูป King Queen Knaves (หรือ Jack) ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ใส่ชื่อของกษัตริย์ที่ตัวตนเหมือนอย่างที่นิยมกันในช่วงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 15-18 ทำให้การระบุชื่อของกษัตริย์ที่พูดมาทั้งหมดตอนต้นมีปัญหาอยู่บ้าง (แล้วจะเขียนทำไมใช่มั้ยล่ะครับ)

 

จุดที่คนมักจะพูดถึงกันบ่อยๆ ในการเล่นไพ่ หากจะสังเกตกันจริงๆ บ้างนะครับ (เชื่อว่าถ้าตั้งหน้าตั้งตาเล่นอย่างเดียวคงไม่สังเกตมั้ง) คือ ไพ่ the King of Hearts หรือ ไพ่คิงโพแดง เป็นไพ่คิงใบเดียวที่ ไม่มีหนวด และทำท่าเหมือนจะฆ่าตัวตายบางครั้งถูกเรียกว่า กษัตริย์อัตตวิบากกรรม ลองดูภาพด้านล่างนะครับ ว่า คิงถือดาบหันเข้าศีรษะ ในเรื่องนี้ คนทั่วไปก็พยายามผูกเรื่องเพื่อเชื่อมโยงกับการสวรรคตของกษัตริย์ที่เชื่อว่าไพ่ใบนี้แทน ชาร์ลเลอมาญ แต่ในทางประวัติศาสตร์นั้น การสวรรคตในวัย 72 ปีของ ชาร์ลเลอมาญก็ไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ บางคนจึงพยายามผูกเรื่องว่า ไพ่คิงโพแดง น่าจะเป็นเรื่องราวในตำนานของกษัตริย์อังกฤษ ริชาร์ดที่ 1 ที่เป็นที่ยกย่องด้านกวีซึ่งผิดหวังในเรื่องของความรัก จึงฆ่าตัวตาย แต่เอาเข้าจริงเชื่อไม่ได้เลยสักทีนะครับ เพราะกษัตริย์ริชาร์ดไม่ได้ฆ่าตัวตาย และยิ่งเป็นกษัตริย์อังกฤษด้วยคนฝรั่งเศสจะเอากษัตริย์อังกฤษมาใส่ทำไม แต่ที่พูดยังนี้ เพราะในยุโรป ก็มีพื้นฐานการดีไซน์อยู่ 2 แบบ คือ แบบ Parisian ของพวกฝรั่งเศส และแบบ Rouennais ของพวกอังกฤษ ซึ่งก็แน่นอนสองสายนี้ ไม่กินเส้นกันในแทบทุกๆ เรื่อง ทำให้การเลือกใช้แบบ หรือ จะยกย่อง เลือกภาพใครนั้น ย่อมกินเส้นกันอยู่แล้วครับ



ข้อสันนิฐานที่ดูพิลึกๆ แต่ดูน่าเชื่อที่สุด คือ จริงๆ ไพ่ฉบับแรกเป็นรูปกษัตริย์ที่ถือไม้กางเขนมากกว่าดาบ และนักวาดภาพได้ลอกลายผิด จึงถูกผลิตซ้ำกันมาเรื่อยๆ เพราะหากดูประวัติว่า ชาร์ลเลอมาญมีส่วนสำคัญมากในแง่ของการสร้างจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมโยงเรื่องของการเมืองกับศาสนา ภาพของชาร์ลเลอมาญ ส่วนมากจะต้องมีไม้กางเขนอยู่คู่กับพระองค์ด้วย ไม่เชื่อลอง google รูปภาพของ Charlemagne สิครับ


ไพ่ของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 ที่ระบุภาพว่าเป็น Charlemagne และ Caesar ลองเปรียบเทียบกับปัจจุบันดูนะครับ ว่าแต่ไม่ใช่เพียงแค่มือที่ถือของเปลี่ยนไปนะครับ หนวดยังหายไปด้วย !!!

 

ความสมมาตรที่เล่นง่ายๆ
ความน่าสนใจของวิธีการออกแบบไพ่ที่เหมาะกับการเล่นและยังทรงพลังอยู่จนถึงวันนี้ คือ การออกแบบไพ่แบบสมมาตร เมื่อมองด้านไหน ก็จะเห็นเป็นภาพเดียวกัน นักเล่นไพ่ จึงไม่ต้องกังวล การกลับหัวสลับหางของไพ่ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเรียงไพ่ตามแนวตั้ง การเล่นไพ่จึงดำเนินไปได้อย่างไหลลื่น
ความสมมาตรของไพ่ที่คำนึงข้อมูลที่เป็นตัวเลข-อักษร และ ดอกของไพ่ ที่วางไว้มุมซ้ายบนและมุมล่างขวา นอกจากจะไม่มีปัญหาเรื่องการจัดไพ่ในแนวตั้งแล้ว ยังทำให้การจัดเรียงไพ่จากซ้ายไปขวาของผู้เล่นเห็นข้อมูลทั้งหมดของไพ่จากการใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พูดในภาษาของนักออกแบบ คือ เพียงไอคอน 2 ชิ้นเล็กๆ ที่วางบนมุมทั้ง 2 ของไพ่ก็ช่วยให้เข้าใจสารทั้งหมดของหน้าไพ่ได้แล้ว และที่สำคัญการวางไอคอนทั้งเลขและดอกที่มุมของไพ่ ทำให้ผู้ถือไพ่สามารถถือไพ่ได้ใกล้ขึ้นและใช้เพียงมือเดียวในการจัดการทั้งหมด ซึ่งในการเล่นไพ่เช่นนี้ จึงมีสีสันมากขึ้นในการวางท่าทางของการเล่นในแต่ละครั้ง

แต่ก็ไม่ใช่เพียงพื้นที่ของมุมไพ่เท่านั้น ที่นักออกแบบในสมัยกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ออกแบบ แต่พื้นที่ตรงกลางภาพที่พยายามวางจำนวนดอกของไพ่ ตามเลขที่สื่อ และไพ่ขอบ หรือ “court card” ที่เป็นรูป “คน” ในไพ่ นักออกแบบก็พยายามให้มันสมมาตรด้วย เพื่อให้คนดูรู้สึกเนียนตา และเข้าใจสาระบนหน้าไพ่ได้ในเวลาอันสั้น

ในตอนแรก ที่มีปัญหาเรื่องชื่อ คือ ไพ่อัศวิน / ตัวโกง หรือ ไพ่ “Knave” or “Knight” เพราะความสับสนเรื่องของอักษรที่ขึ้นต้นเป็นตัวเค K ซึ่งซ้ำกับ King ทำให้การอ่านหน้าไพ่ต้องใช้เวลามากกว่า นักออกแบบจึงเลือกใช้ไพ่แจ๊ค (Jack) แทนเพื่อป้องกันความสับสน แต่อย่างไรก็ตาม ในรูปภาพของไพ่ Jack ก็ยังหมายถึง Knight หรือ Knave อยู่ดี ซึ่งจะเป็นอัศวินหรือตัวโกงนั้น คงต้องพิจารณากันเอาเองนะครับ


ป.ล. ตัวอย่างของแบบไทยๆ ก็มีนะครับ เป็นนกวายุภักษ์ที่เป็นสัญลักษณ์หน่วยงานต่างๆ ที่สังกัดกระทรวงการคลัง ที่ปรากฏบนไพ่ A โพดำ เพื่อแสดงถึงการเสียภาษีสรรพสามิต
 


ที่มา
ข้อมูล

http://playingcards.freewebpages.org/cards19.htm
http://www.snopes.com/history/world/cardking.asp
http://games.yahoo.com/blogs/plugged-in/5-things-didn-t-know-card-games-433.html
http://www.wopc.co.uk/cards/courts.html
http://www.wopc.co.uk/france/paris.html
http://gizmodo.com/5860329/daily-desired-typography-makes-these-playing-cards-beautiful
http://designshack.net/articles/layouts/design-history-the-art-of-playing-cards/
http://kokoyadi.com/2011/11/playcard/