-->

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้าหลวง กับ พระราชกรณียกิจในพุทธศาสนา  (อ่าน 980 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

lonely boy

  • บุคคลทั่วไป

ตลอดรัชสมัยอันยาวนานถึง 42 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ ยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือ ‘พระพุทธเจ้าหลวง’ พระองค์ได้ทรงกอปรพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ในการทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนา นาอารยประเทศ และหนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญก็คือการส่งเสริมและบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง



การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

• พ.ศ.2431 โปรดให้มีการชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรสยาม เทียบเสียงเป็นอักษรโรมัน ชุดแรกของโลก แทนของเดิมที่เขียนด้วยอักษรขอมบนใบลาน เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 25 ปีของ พระองค์ มีชื่อว่าพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช พ.ศ.2436 ในการนี้ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 1,000 ชั่ง จัดพิมพ์เป็นหนังสือ 1,000 จบ จบละ 39 เล่ม พระราชทานไปตามวัดต่างๆ 500 วัดทั่วประเทศ ตลอดจนสถานศึกษาในต่างประเทศกว่า 260 แห่งทั่วโลก ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้จำหน่ายแก่ประชาชนในราคาจบละ 2 ชั่ง เป็นผลให้พระไตรปิฎกแพร่หลายมากขึ้นทั้งในประเทศและท ั่วโลก

สำหรับสาเหตุในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ ทรงเห็นว่า รอบบ้านเราเวลานั้นกำลังตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวัน ตกหมดแล้ว และบ้านเราคงจะไม่ปลอดภัย จึงได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ เสนาบดี ข้าราชการทุกฝ่ายมาประชุมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(ว ัดพระแก้ว) ว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยกันปกปักรักษาเอกราชของชาติไว้ ได้ ดังนั้น พระไตรปิฎกฉบับนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอธิปไต ยของชาติ โดยได้ประกาศให้นานาชาติรู้ว่าประเทศสยามนับถือพระพุ ทธศาสนา

• โปรดให้จัดตั้งหอพุทธศาสนสังคหะขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร สำหรับเป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกและหนังสืออื่นๆ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษา พระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจ ทั้งยังโปรดให้แต่งหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาใ นหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ หนังสือเบญจศีลและเบญจธรรม หนังสือเทศนา หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมจักษุ และหนังสือชาดกต่างๆ เป็นผลให้ประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรม ในพระพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่วนพระสงฆ์และสามเณรก็มีคู่มือสำหรับใช้เทศนาและบทส วดมนต์ที่เป็นแบบฉบับเดียวกัน


การคณะสงฆ์

• พ.ศ.2445 โปรดให้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 ขึ้น เพื่อให้การปกครองภายในสังฆมณฑลเป็นไปตามระเบียบอันด ี กำหนดให้พระสังฆราช เป็นประมุขของสงฆ์ มีมหาเถรสมาคมเป็นคณะผู้บริหาร จัดรูปการปกครองคณะสงฆ์ใน 4 ภูมิภาค ให้สอดคล้องกับการปกครองบ้านเมือง

• ทรงมีพระราชดำริว่าพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระสงฆ์มอญให้มีสมณศักดิ์เหมือนอย่างพระสงฆ์ไทย จึงสมควรจะทรงตั้งพระสงฆ์ญวน ให้มีสมณศักดิ์ขึ้นบ้าง แต่พระสงฆ์ญวนคือฝ่ายมหายานจะเข้าทำกิจพิธีร่วมกับพร ะสงฆ์ไทยไม่ได้เหมือนอย่างพระสงฆ์มอญ จึงทรงมีพระราชดำริให้มีทำเนียบสมณศักดิ์สำหรับพระญว นขึ้นต่างหาก และโปรดเกล้าฯ ให้มีสมณศักดิ์สำหรับพระจีนด้วยในคราวเดียวกัน รวมทั้ง พระราชทานสัญญาบัตร มีราชทินนามกับพัดยศซึ่งจำลองแบบพัดยศของคณะสงฆ์ไทย

• โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต ่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณร รวมทั้งได้ทรงกำหนดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม เป็นประจำทุกปี

• โปรดให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง ได้แก่

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2432 ณ วัดมหาธาตุ ให้เป็นสถานศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย มีชื่อเดิมว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2436 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

• พ.ศ.2427 โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร เป็นแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม กทม. เพื่อให้ราษฎรทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนโดยมีพร ะสงฆ์เป็นครูสอน






การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ รวมทั้งพุทธสถาน พุทธเจดีย์ ทั่วพระราชอาณาจักร อาทิ

• วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเทพศิรินทราบร มราชินี พระบรมราชชนนี และ พ.ศ.2439 โปรดให้สร้างสุสานหลวงไว้ในวัด ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชวงศ์ ซึ่งไม่ได้สร้างพระเมรุฯ ที่ท้องสนามหลวง และสำหรับชนทุกชั้น นับเป็นเรื่องพิเศษ เพราะโดยปกติแล้วจะไม่มีฌาปนสถานในพระอารามหลวง

• วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กทม. ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2412 ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นวัดประจำรัชกาล โปรดให้ก่อสร้างตามแบบวัดแต่โบราณ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งวัด เป็นเอกลักษณ์พิเศษแห่งเดียวในประเทศไทย

• วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งอยู่ในเขตดุสิต กทม. เดิมชื่อวัดแหลมหรือวัดไทรทอง เป็นวัดโบราณซึ่งเจ้านาย 5 พระองค์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ต่อมารัชกาลที่ 5 ต้องประสงค์ที่วัดเพื่อสร้างพลับพลาในพระราชอุทยานสว นดุสิต จึงทรงทำผาติกรรมแล้วสร้างวัดขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” เป็นวัดหินอ่อนที่งดงามที่สุด

• วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามพระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เมื่อ พ.ศ.2421 เป็นศิลปะแบบโกธิค ประดับกระจกสีสวยงาม

• วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม อยู่บนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2435 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จฯเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ อินทราชัย ในวาระที่ประสูติ ณ เกาะสีชัง

• วัดอัษฎางค์นิมิตร ตั้งอยู่บนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2435 แทนวัดที่อยู่ปลายแหลมซึ่งมีมาแต่เดิม โดยสร้างบนเนินเขา พระอุโบสถของวัดนี้เป็นทรงกลม ตกแต่งตามศิลปะแบบโกธิค ส่วนยอดเป็นพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา

• วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ กทม. เดิมเรียกวัดมหาธาตุ พ.ศ.2439 ทรงบริจาคพระราชทานทรัพย์อันเป็นส่วนของสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2437 อุทิศพระราชทานให้ปฏิสังขรณ์ แล้วโปรดให้เพิ่มสร้อยต่อนามวัด ว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

• วัดสัตตนารถปริวัตร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ รัฐบาลได้สร้างพระราชวังขึ้นที่เขาสัตตนาถ พระองค์จึงมีพระประสงค์ให้มีการทำผาติกรรม และสร้างวัดทดแทนขึ้น พร้อมกับขนานนามว่า “วัดสัตตนารถปริวัตร” แปลว่า วัดที่เปลี่ยนไปหรือย้ายไปจากเขาสัตตนารถ

• วัดมงคลสมาคม (วัดโหย่คั้นตื่อ) เป็นวัดญวน เดิมตั้งอยู่ที่บ้านญวนหลังวังบูรพาภิรมย์ เมื่อรัฐบาลจะตัดถนนพาหุรัด ซึ่งวัดอยู่ในแนวถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงโปรดให้ทำผาติกรรมอย่างวัดไทย คือพระราชทานที่ดินและให้สร้างวัดขึ้นใหม่ โดยย้ายไปตั้งที่ริมถนนแปลงนามในอำเภอสัมพันธวงศ์

• วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ตั้งอยู่บริเวณถนน เจริญกรุง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเลือกชัยภูมิที่ตั้งวัด และโปรดฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เล่าเกี้ยงเฮง) ชักนำพุทธศาสนิกชนชาวจีนสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2414 นับเป็นสังฆารามตามลัทธิและศิลปะมหายานที่ใหญ่ ที่สุดของประเทศไทยในยุคนั้น และโปรดฯให้นิมนต์พระอาจารย์สกเห็ง แห่งวัดบำเพ็ญจีนพรต(กวนอิมเก็ง) มาเป็น เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ รวมทั้งได้พระราชทานนามว่า ‘วัดมังกรกมลาวาส’ และพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระอาจารย์สกเห็ง เป็น‘พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร’ เจ้าคณะ ใหญ่ฝ่ายจีนนิกายรูปแรกแห่งประเทศไทย






นอกจากนี้ ยังมีวัดสำคัญต่างๆ ที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์ ได้แก่

กรุงเทพฯ -วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, วัดอรุณราชวราราม, วัดราชาธิวาส, วัดบรมนิวาส, วัดเครือวัลย์วรวิหาร, วัดทองธรรมชาติ, วัดหนัง, วัดนรนารถสุนทริการาม, วัดบพิตรพิมุข, วัดปรินายก, วัดโพธิ์นิมิตร, วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดมหาพฤฒาราม, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดราชโอรสาราม, วัดราชบูรณะ, วัดระฆังโฆสิตาราม, วัดสระเกศ, วัดสุทัศน์เทพวราราม, วัดสังเวชวิศยาราม, วัดอมรินทราราม, วัดกวิศราราม จังหวัดสมุทรสงคราม - วัดอัมพวันเจติยาราม

จังหวัดนนทบุรี -วัดเขมาภิรตาราม, วัดปรมัยยิกาวาส

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - วัดชุมพลนิกายาราม, วัดวรนายกรังสรรค์, วัดศาลาปูน, วัดเสนาสนาราม, วัดพนัญเชิง

จังหวัดลพบุรี - วัดมณีชลขันธ์

จังหวัดอ่างทอง - วัดไชโย, วัดป่าโมก

จังหวัด สิงห์บุรี - วัดพระนอนจักรสีห์

จังหวัดสมุทรปราการ - วัดทรงธรรม

จังหวัดเพชรบุรี - วัดสุวรรณาราม, วัดพระทรง

และจังหวัดนครปฐม - วัดพระปฐมเจดีย์

สำหรับพระพุทธรูปและพุทธเจดีย์ ที่โปรดให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ อาทิ

• พระพุทธชินราช(จำลอง) โปรดให้จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ใน พ.ศ.2444 เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองหนัก 3,940 บาท

• พระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำจากโลหะกะไหล่ทองทั้งองค์ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2420 เป็นศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างรูปแบบประเพณีนิยม กับศิลปะตะวันตกได้อย่างงดงาม โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดนิเวศธรรมประวัติ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

• พระสมุทรนินนาท เป็นพระพุทธรูปสำริดกะไหล่ทอง ปางห้ามสมุทร ประดิษฐานอยู่ที่อาคารพิพิธภัณฑ์ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. โปรดให้สร้างขณะทรงบรรพชาเป็นสามเณร ประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ.2409

• พระนอนจักรสีห์ ประดิษฐาน ณ วัดพระนอนจักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงหบุรี เมื่อปี พ.ศ.2421 ได้เสด็จไปทรงนมัสการพระนอนจักรสีห์ ในครั้งนั้นพระวิหารและพระนอน ชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์มานาน จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์ เป็นที่ปรึกษาในการปฏิสังขรณ์

• พระธาตุไชยา ประดิษฐาน ณ วัดพระบรมมหาธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานสมัยศรีวิชัย มีการ บูรณะมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และได้มีการบูรณะอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพ ระจุลจอมเกล้าฯ

• พระพุทธบาทสระบุรี อยู่ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท 4 ครั้ง และได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง และซ่อมผนังข้างในพระมณฑป ซ่อมเครื่องพระมณฑปใหม่ และสร้างบันไดนาค ทางขึ้นพระมณฑป จากเดิมที่มีอยู่สองสายเป็นสามสาย

• อลงกรณ์เจดีย์ ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกพลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 เพื่อเป็นที่ระลึก เนื่องจากพระองค์เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อ พ.ศ.2417 และทรงโปรดน้ำตกพลิ้วเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2414 ได้เสด็จประพาสอินเดียอย่างเป็นทางการ ในครั้งนี้ได้ทรงมีโอกาสเสด็จไปสักการะธัมเมกขสถูป สังเวชนียสถานอีกแห่งหนึ่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือเมืองสารนาถ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา โดยหลังจากที่เสด็จกลับจากอินเดีย แล้วได้โปรดให้สร้างธัมเมกขสถูปจำลอง ไว้ที่วัดโสมนัสวรวิหาร และวัดกันมาตุยาราม กรุงเทพฯ

ต่อมาในปี 2441 รัฐบาลอินเดียได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบจากพร ะสถูปโบราณ อันเป็นที่ตั้งกรุงกบิลพัสดุ์สมัยพุทธกาล เพราะพิจารณาเห็นว่าในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ทรงนับถือพระพุ ทธศาสนา ซึ่งพระองค์ได้โปรดให้พระยาสุขุมนัยวินิต ไปรับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ สุวรรณบรรพต หรือภูเขาทอง วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ ในการนี้ได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุบางส่วนให้แ ก่ประเทศที่ขอมา เช่น ศรีลังกา พม่า ญี่ปุ่น เป็นต้น ถือเป็นพระบรม-สารีริกธาตุที่มีหลักฐานความเป็นมาชัดเจนที่สุดในเมื องไทย


ทั้งปวงนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง ที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนาโดยแท้