-->

ผู้เขียน หัวข้อ: แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์  (อ่าน 3162 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์
« เมื่อ: 08 มกราคม 2008, 11:03:04 »

แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์

เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

 บทนำ
แหล่งเงินทุนจากผู้ขายปัจจัยการผลิตทางธุรกิจและผู้ให้ยืมสินทรัพย์ บริษัทใหม่อาจมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินทุนเริ่มแรกสำหรับสินค้าคงเหลือและอุปกรณ์  ทั้งผู้ค้าส่งและผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดหาอุปกรณ์ ซึ่งสามารถจัดหาสินเชื่อทางการค้า หรือเจ้าหนี้การค้า หรือเงินยืมสำหรับอุปกรณ์ ได้แก่สินเชื่อทางการค้า หรือเจ้าหนี้การค้า เป็นการบริหารการเงินโดยขายปัจจัยการผลิต โดยให้สินเชื่อกับบริษัทโดยมีระยะเวลาสำหรับการจ่ายสินเชื่อ สินเชื่อการค้า จะมีระยะเวลาสั้น เช่น 30 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นิยมใช้กัน เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปยังบริษัทผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะลงบัญชีเจ้าหนี้ สำหรับจำนวนสินค้าที่ซื้อ จำนวนสินเชื่อทางการค้า จะขึ้นอยู่กับชนิดของธุรกิจ และความมั่นในของผู้ขายปัจจัยการผลิตที่ให้กับบริษัทที่ซื้อ ธุรกิจขนาดนิยมใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นแบบนี้กันมาก  สินเชื่อและการเช่าซื้ออุปกรณ์ สินเชื่ออุปกรณ์ เป็นการซื้อขายโดยวิธีผ่อนส่งจากผู้ขายเครื่องจักรที่ใช้ในธุรกิจ ซึ่งอาจมีการจ่ายเงินดาวน์ 25-35 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ผู้ขายกำหนด และจะมีช่วงการผ่อนส่งตามสัญญา ซึ่งโดยปกติจะประมาณ 3-5 ปี ผู้ผลิตอุปกรณ์หรือผู้จัดหามักขยายสินเชื่อตามเงื่อนไขสัญญาการขาย

แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์

แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อม ถึงแม้ว่าธนาคารมีแนวโน้มที่จะจำกัดการกู้ยืมแต่ก็มีเงินทุนบางส่วนที่เริ่มต้นกู้มาจากแหล่งนี้
   1.   ประเภทของเงินกู้ยืมจากธนาคารธนาคารให้กู้ยืมแก่ธุรกิจ   3 ประเภท  คือ
(1) วงเงินสินเชื่อ (2) เงื่อนไขการกู้ยืม (3) เงินกู้ยืมโดยการรับจำนอง
      1.1  วงเงินสินเชื่อ เป็นข้อตกลงแบบไม่เป็นทางการระหว่างผู้กู้ยืมกับธนาคารเพื่อจะได้จำนวนที่กู้ยืมมากที่สุด   โดยต้องทำเป็นข้อผูกพันที่ถูกต้องตามกฎหมายว่าจะให้ยืมตามจำนวนสูงสุดเท่าไร  ผู้ประกอบการควรจัดวงเงินสินเชื่อไว้ล่วงหน้าตามความต้องการที่แท้จริง  เพราะธนาคารจะขยายสินเชื่อในกรณีที่มีข้อมูลที่ดีเท่านั้น
      1.2  เงื่อนไขการกู้ยืม คือช่วงระยะเวลาที่ธนาคารจะให้กู้  ซึ่งอาจเป็นช่วง 5 ปี หรือ 10 ปี   เพื่อให้ธุรกิจมีเวลาสำหรับการลงทุนและนำกำไรที่ได้มาชำระหนี้ให้กับธนาคาร  ซึ่งมักจะต้องสอดคล้องกับกระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุน
      1.3  เงินกู้ยืมโดยการรับจำนองจะทำเป็นระยะยาวมี 2 ชนิด คือ (1)  การรับจำนองสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ (2) การจำนองระยะยาวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน  หรือสิ่งก่อสร้าง  ซึ่งระยะเวลาอาจนานถึง 25 ปี หรือ 30 ปี
   2.   การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อให้ได้เงินกู้มาอย่างมีประสิทธิผล  ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับธนาคารเกี่ยวกับการทำสินเชื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักพื้นฐาน 2 ประการ คือ  (1) จะหารายได้จากเงินกู้จัดมาให้ธนาคารได้มากเท่าใด  (2) ความเป็นไปได้ซึ่งผู้กู้ยืมจะไม่สามารถใช้หนี้ได้  ธนาคารจะไม่สนใจความเสี่ยงจำนวนมาก ๆ  แต่จะต้องมีการทำข้อตกลงการกู้เพื่อลดความเสี่ยง

หลักในการพิจารณาของธนาคาร
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับเงินกู้  ธนาคารจะพิจารณาโดยใช้หลัก 5 ประการ (1) ลักษณะของผู้กู้ (2) ขีดความสามารถของผู้กู้ที่จะจ่ายคืน (3)  เงินทุนที่ผู้กู้จะลงทุน (4) สภาวะของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ (5) หลักประกันเพิ่มเติมที่จะทำให้เงินกู้ปลอดภัย
ถ้าธุรกิจมีประวัติความน่าเชื่อถือด้านการเงินที่ไม่ดี  หรือมีบางสิ่งที่ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ไม่มีจริยธรรมจะทำให้กู้เงินจากธนาคารได้ยากมาก  ขีดความสามารถของผู้กู้จะทำให้ธนาคารมีความมั่นใจในความสามารถที่จะมีกระแสเงินสดจ่ายคืนเงินกู้  องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการกู้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธนาคารจะนำมามาใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจให้กู้
การวิเคราะห์ของธนาคารจะรวมถึงการพิจารณาด้านเศรษฐกิจและการเงิน  อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์นี้จะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างธนาคารกับผู่ประกอบการ  แต่สิ่งสำคัญในการพิจารณาของธนาคารทั้งหมดอยู่ที่มั่นใจในการผู้ประกอบการ  ในฐานะเป็นบุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพ  มีหลายสิ่งที่ควรต้องจดจำในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร  คือ (1)  อย่าทำการการกู้ยืมเงินจากธนาคารโดยไม่มีผู้รับรองที่มีความสัมพันธ์อย่างดีกับธนาคาร (2) อย่ารอจนกระทั่งมีความต้องการเงินมาก  เพราะการขาดการวาแผนทางการเงินเช่นนั้นจะทำให้ผู้ให้กู้มองในลักษณะไม่ดี    (3) ธนาคารไม่ใช่ผู้ประกอบการจึงไม่คาดหวังว่าจะพอใจกับความเสี่ยงของธุรกิจที่มีมากจนเกินไป  (4)  ควรหาทางเลือกของแหล่งเงินกู้ โดยการกู้ยืมจากหลาย ๆ ธนาคาร
คำถามสำคัญที่ธนาคารต้องการให้ผู้กู้ตอบก่อนที่จะให้กู้คือ 1) จุดแข็งและคุณภาพของทีมผู้บริหารคืออะไร 2) ผลการปฏิบัติงานด้านการเงินเป็นอย่างไร 3) จะนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนอย่างไร 4) จำนวนเงินมากเท่าไรที่จำเป็น 5) ต้องการเงินเมื่อไร 6) จะจ่ายเงินคืนเมื่อไร และอย่างไร 7) ผู้กู้มีการทำบัญชีที่ดีและมีทนายความหรือไม่ 8) ผู้กู้พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับธนาคารหรือไม่

การนำเสนอโครงการ
การนำเสนอโครงการขอกู้เงินจากธนาคารโดยการเตรียมตัวเป็นอย่างดี อาจทำเป็นแผนธุรกิจอย่างสั้น ๆ จะช่วยได้มาก โดยเตรียมการเขียนเพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมาและโครงการในอนาคต คือผู้ประกอบการต้องให้รายละเอียดว่าบริษัทกำลังจะดำเนินไปในทิศทางใด นอกจากนี้ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดด้านการเงินในส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1) รายงานการเงินของบริษัทย้อนหลัง 3 ปี ประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด 2) งบการเงินล่วงหน้า (งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด) ซึ่งประกอบด้วยเวลาและจำนวนการใช้หนี้ที่พยากรณ์ไว้ 3) งบการเงินส่วนตัว เป็นการแสดงคุณค่าส่วนตัวของผู้กู้ (คุณค่าสุทธิ = สินทรัพย์ - หนี้) และประมาณการรายได้ต่อปี (หมายเหตุ:  ธนาคารจะไม่ยอมให้กู้จนกว่าจะรู้ถึงจุดแข็งด้านการเงินส่วนตัวของผู้กู้ในธุรกิจขนาดย่อม)
การเลือกธนาคาร  การบริการที่มีอย่างกว้างขวางของธนาคารทำให้การตัดสินใจเลือกธนาคารเป็นสิ่งสำคัญ ข้อกำหนดเกี่ยวกับบัญชีกระแสรายวัน และการขยายเงินกู้ระยะสั้น (บางทีอาจมีระยะยาวด้วย) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริการของธนาคาร ตามปกติการขอเงินกู้จะมีการเจรจาตกลงกันกับธนาคารที่มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ นอกจากนี้บริษัทอาจใช้บัญชีออกทรัพย์ด้วย จากประสบการณ์ของธนาคารสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการ โดยเฉพาะด้านการเงินให้กับผู้ประกอบกิจการใหม่ด้วย


กรณีศึกษา

บริษัท ศมา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ความเป็นมา
   ?ศมา? เป็นคำไทยแท้ที่แปลว่าสงบสุข และเป็นชื่อบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีโลโก้เป็นสัญลักษณ์รูปเรือสำเภาที่กำลังมุ่งหน้าฝ่าคลื่นลม อันแสดงถึงความเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่งของบริษัท
   คุณศมาภัสสร์ น้อยพันธุ์ หรือ คุณแป้ง กรรมการบริหาร บริษัท ศมา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เล่าถึงสัญลักษณ์กิจการของครอบครัว ที่เริ่มต้นจาก SMEs เล็กๆ แต่วันนี้กำลังเติบโตอย่างไม่หยุดนิ่ง ให้กับทีมงาน SMEs ชี้ช่องรวยฟัง กิจการที่ใช้วัตถุดิบ ดิน ทราย ธรรมดา ๆ แต่สามารถนำมาเนรมิตสร้างสรรค์ให้เป็นงานศิลปะ และเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ด้วยงานดีไซน์ 
   ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ?ศมา? เริ่มต้นธุรกิจนี้จากศูนย์ จากไม่มีความรู้ และไม่มีตลาด?
แต่ละย่างก้าวเขาสร้างกิจการนี้ให้เติบโตจนถึงขั้นส่งออกได้อย่างไร!?
   คุณแป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นของ ?ศมา? ให้เราฟังว่า ?ศมา? เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติที่ทำให้ธุรกิจขายกระดาษไขของตระกูลต้องปิดตัว ในขณะที่คนงานที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานานหลาย 10 ปี กว่า 30 ชีวิต ในฐานะนายจ้างจะหาทางออกให้กับพวกเขาอย่างไร
   สิ่งหนึ่งที่น่ายกย่องคือ ?ศมา? ไม่ทอดทิ้งคนเหล่านี้
   ลูกหลานของตระกูลน้อยพันธุ์ จึงเริ่มมองหาธุรกิจใหม่ เพื่อหางานหาเงินมาหล่อเลี้ยงคนงานเหล่านี้ และ ?รายการโทรทัศน์? รายการหนึ่งก็ได้จุดประกายความคิดวูบแรกให้กับ ?ศมา?
   ?เราเห็นรายการโทรทัศน์ ซึ่งสอนการทำดินเผา และหินทราย เป็นรูปต่างๆ เราก็คิดว่าสิ่งนี้น่าจะทำเป็นธุรกิจได้ เลยส่งคนงานของเราซึ่งไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลยไปเรียนวิธีการทำก่อน  และตรงนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของศมา เราเริ่มจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดินเผา เป็นของชำร่วยและของขวัญ เน้นขายเป็นสินค้าของที่ระลึกให้กับชาวต่างชาติ? คุณแป้งเล่าถึงผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของศมา
   แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ดินเผาธรรมดาๆ แต่ ?ศมา? กลับสามารถสร้างสินค้าให้มีความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นในท้องตลาดได้ ด้วยการเน้นในเรื่องของการออกแบบ รูปทรง และหีบห่อที่สวยงาม ที่สำคัญคือแต่ละสินค้าจะมีการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของสินค้า อันเป็นคุณค่าและเสน่ห์ที่ทำให้ชื่อเสียงของศมาโดดเด่นขึ้น พร้อมๆ กับการตอบรับที่มีมาจากลูกค้า
   ?เราเริ่มธุรกิจทีละก้าว การออกแบบถือเป็นหัวใจสำคัญ เราต้องวิ่งเข้าห้องสมุดเพื่อหารูป หาเรื่องราวของรูป ซึ่งสินค้าของเราเป็นของที่ระลึก เราวางกลุ่มเป้าหมายที่ลูกค้าชาวต่างชาติ ที่มาเที่ยวเมืองไทย เราจึงเน้นรูปที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย เป็นรูปช้าง รูปหนุมาน ยักษ์ ปราสาท สิงห์ ฯลฯ เมื่อได้รูปมาเราก็จ้างเด็กเพาะช่างมานั่งแกะลาย สร้างแม่พิมพ์ขึ้นมา แล้ววิ่งหาตลาด ไปวางตามโรงแรม ตามสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะไป บรรจุภัณฑ์เราก็ออกแบบพิเศษให้สวยงามมีการบรรยายรูปบอกเล่าเรื่องราวเป็นคำสั้นๆ ตรงนี้ทำให้ลูกค้าตอบรับดีมาก? คุณแป้งเล่าถึงก้าวแรกของศมา

จาก B2C สู่ B2B
จุดพลิกสู่การเติบโต

ถึงตอนนี้ศมาก็เริ่มสนุกกับงานดีไซน์ และการพัฒนางานให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เพราะเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกคือก้าวให้ถึงจุด ?การส่งออก?!?
   จาก 1 ไลน์สินค้า ก็เพิ่มเป็น 3 ไลน์
   ปัจจุบันศมามีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด แบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. ผลิตภัณฑ์ของชำร่วยและของขวัญ เป็นลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงานดินเผาเป็นส่วนใหญ่ 2.ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของแต่งบ้านและงานตกแต่งสวนที่เน้นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหินทรายเป็นหลัก และ 3.งานเซรามิกส์ แจกันรูปทรงต่าง ๆ ซึ่ง ?ศมา? เป็นผู้ผลิตเซรามิกเพียงไม่กี่เจ้าในประเทศไทยที่สามารถทำเซรามิกส์สีสด อย่างสีส้ม สีแดง และ สีเหลือง ได้
   ด้านการทำตลาดก็เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะตลาดในประเทศ
   ของชำร่วยและสินค้าของที่ระลึก จากตลาดที่วิ่งขายตามโรงแรม แหล่งท่องเที่ยว ก็เริ่มพัฒนาสู่การขายแบบล็อตใหญ่ หรือสั่งทำตามออร์เดอร์ โดยเน้นงาน Custom-made คือผลิตภัณฑ์ที่มีโลโก้ของลูกค้า ซึ่ง ?ศมา? เน้นกลุ่มโรงแรม 5 ดาวเป็นหลัก อาทิ เช่น โรงแรมโอเรียนเต็ล ,โรงแรมเชอราตัน ภูเก็ต และโรงแรมในเครือ , โรมแรมบันยันทรี ภูเก็ต , โรงแรมดุสิตรีสอร์ท โปโล ชะอำ , ภูเก็ตแฟนตาซี , ซอฟท์แวร์ ปาร์ค กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ทุกที่มีเครดิตการชำระเงิน 30 หรือ หรือบางรายจ่ายเงินสด
   ส่วนผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านซึ่งเป็นงานหินทราย เป็นงานชิ้นใหญ่ ศมาก็ใช้วิธีเปิดตลาดผ่านบริษัท ขายตามออร์เดอร์เช่นกัน อาทิ บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์จำกัด(มหาชน) , บริษัทโฮมโปรดัก เซ็นเตอร์ จำกัด(Home Pro) และโรงแรม พรีเมียร์ รายาวดี กระบี่ เป็นต้น โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเครดิต 30-45 วัน และ เงินสด
   การตลาดที่เน้น B to B ที่ผลิตตามออร์เดอร์ มิใช่ B to C ที่ผลิตเพื่อไปวางไว้หน้าร้านต่าง ทำให้ ?ศมา? สามารถ บริหารการเงินได้ดีขึ้น โดยไม่มีเงินจมจากการขายสินค้าไม่อออกมากนัก ขณะที่สินค้าที่เหลือค้างสต๊อก ?ศมา? ก็จะระบายโดยการร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ และ จัดจำหน่ายสินค้าที่โชว์รูมของบริษัทฯ ทุกปี เป็นต้น

ก้าวสู่ตลาดส่งออก
   เมื่อตลาดในประเทศเริ่มมั่นคง ก้าวต่อไปก็คือการส่งออก จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ ?ศมา? ก้าวถึงจุดนั้นได้คือการรู้จักเปิดตัว และขายความเป็นศมา ขายดีไซน์ที่แตกต่าง และงานคุณภาพที่ดีออกไป
   ?หลังจากที่เราวิ่งเข้าไปที่กรมส่งเสริมการส่งออก เราได้อะไรจากที่นั่นมากมาย ทุกปี ทางกรมฯจะมีการว่าจ้างชาวต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นมาให้ความรู้กับเรา ในเรื่องของเทรนแฟชั่นปีหน้า สินค้าเราก็มีการพัฒนารูปแบบและดีไซน์มากขึ้น และกรมฯจะจัดงาน Bangkok International Gift Fair ทุกปี ซึ่งเราก็ได้เข้าร่วมงานทุกปี เพราะงานนี้ที่ทำให้เราเริ่มมีออร์เดอร์ส่งออก และมีเพิ่มมากขึ้น? คุณแป้งเล่า
   จุดสำคัญที่ ?ศมา? ใช้มัดใจลูกค้าต่างประเทศคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด ตลอดจนการตรงต่อเวลาของการส่งสินค้า ซึ่งทำให้ศมาได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าต่างประเทศ และมีออร์เดอร์เข้ามาไม่ขาดระยะ
   ปัจจุบัน ?ศมา? มีลูกค้าต่างประเทศซึ่งมีการค้าขายกันอย่างต่อเนื่องมาตลอดทุกปีและทั้งปี โดยเน้นไปที่ตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือเป็นหลัก การส่งออกของศมาจะเน้นไปที่ผู้จำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่พยายามผ่านพ่อค้าคนกลาง อาทิเช่น การจำหน่ายให้กับ TJ.MAX Department Store,United States , MARSHALL Department Store, United States , Homegood Department Store, United States ,LEXINGTON Department Store,Canada , WINNERS Department Store, Canada , THE ARTICLES Mail Order Business, United State , THE AMAZON IMPORTS ,import , United State , AMACENES,PARIS Department Store, United State , HARRODS Department Store, England และ YOKOHAMA NURSERY INC,Japan เป็นต้น

แหล่งเงินทุนก้าวสำคัญสู่การขยายงาน
   จุดแข็งของศมา ในเรื่องของการทำตลาด และการดีไซน์ผลิตภัณฑ์สินค้า ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในเมืองไทย ใช้แรงงานคนไทย จึงบอกได้คำเดียวว่า ?ศมา? คือรูปแบบของ SMEs ตัวอย่างที่น่าส่งเสริมยิ่ง และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ?ศมา? ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บอย.) ปัจจุบันคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) สถาบันการเงินของรัฐที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs
   เม็ดเงินที่ได้จาก SME BANK ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างโชว์รูมให้ดูทันสมัยสวยงามเพื่อใช้ต้อนรับลูกค้าต่างประเทศ ในการเข้ามาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจที่จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า
ขณะที่เม็ดเงินบางส่วนนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนกิจการ
   กิจการของศมาวันนี้กำลังเติบโตขึ้น เหมือนเรือสำเภาที่มุ่งหน้าไปอย่างไม่หยุดนิ่ง
   

ข้อสรุปทางวิชาการ
?   ?ศมา? เลือกใช้สถาบันการเงิน คือ SMEs BANK เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้การสนับสนุน SMEs ไทย โดยเฉพาะ ซึ่ง บริษัทศมาฯ มีคุณสมบัติครบถ้วน กล่าวคือ เป็นบริษัทคนไทย ใช้แรงงานไทย วัตถุดิบในเมืองไทย และผลิตสินค้าคุณภาพสามารถส่งออกได้
?   ศมาเลือกใช้เงินกู้ ในช่วงขยายกิจการ ซึ่งเป็นจังหวะย่างก้าวหลังดำเนินธุรกิจผ่านช่วงเริ่มต้นกิจการไปแล้ว ทำให้มองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้ โดยเม็ดเงินที่ได้มาถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างโชว์รูม เพื่อรองรับลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งก็คือการเตรียมพร้อมในการขยายตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น
?   การใช้แหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจศมา ในการเติบโตขึ้นอีกระดับ อย่างรวดเร็ว