-->

ผู้เขียน หัวข้อ: แหล่งการเงินอื่นๆ สำหรับธุรกิจ SMEs  (อ่าน 2123 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
แหล่งการเงินอื่นๆ สำหรับธุรกิจ SMEs
« เมื่อ: 08 มกราคม 2008, 11:03:42 »

แหล่งการเงินอื่นๆ  สำหรับธุรกิจ SMEs

เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

บทนำ
การเริ่มต้นทางการเงินของธุรกิจ SMEs มาจากการวางแผนทางการเงินส่วนตัว  เจ้าของสถานประกอบการจะเริ่มต้นด้วยแหล่งเงินทุนจากการเก็บออมแล้วพยายามชักชวนครอบครัวและเพื่อนให้มาร่วมลงทุน  เมื่อแหล่งเงินทุนเหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ย่อมก็มักจะหาแหล่งทางการเงินที่เป็นทางการมากขึ้น  เช่น ธนาคาร และผู้ลงทุนภายนอก
แหล่งการเงิน( Source of  financing ) ที่สำคัญของผู้ถือหุ้นก็คือ การเก็บออมส่วนตัว เพื่อน และญาติ ผู้ลงทุนของเอกชนในชุมชน  ผู้ลงทุนเริ่มแรก และการขายหุ้น ( Equity  markets)  แหล่งสำคัญของการจัดหาแหล่งการเงินโดยการก่อหนี้  คือ ส่วนบุคคล ( Individual )  ผู้ขายปัจจัยการผลิตของธุรกิจ  ( Business  suppliers )  ผู้ให้กู้ยืมโดยใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน ( Asset-based lenders )  ธนาคารพาณิชย์ ( Commercial  banks )  และแผนงานความช่วยเหลือของรัฐบาล (Government-assisted programs ) 

แหล่งเงินทุนส่วนบุคคล (Individuals as sources of funds) 
การแสวงหาความช่วยเหลือด้านการเงินมักเริ่มต้นจากที่บ้านก่อนแล้วจึงขยายออกไปดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  คือ (1) การเก็บออมส่วนตัว (Personal saving) (2) เพื่อนและญาติ (Friends and relatives)  (3)  ผู้ลงทุนส่วนบุคคลอื่น ๆ (Other individual investors    โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การเก็บออมส่วนตัว  ผู้ประกอบการอาจมีสินทรัพย์ส่วนตัวที่จะนำไปลงทุนในธุรกิจซึ่งมาจากการเก็บออม  ซึ่งความจริงการเก็บออมส่วนตัวจะเป็นจุดเริ่มต้นของหุ้นในบริษัทใหม่  การลงทุนในธุรกิจใหม่  การดำเนินการในรูปหุ้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความผิดพลาดของผลกำไร
   ปัญหาสำหรับคนจำนวนมากที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจแต่ขาดการเก็บออมส่วนตัวคือไม่สามารถตอบคำถามของธนาคารได้ว่าจะใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าไร  มีหลักประกันอะไรที่จะให้ความปลอดภัยกับเงินกู้ที่ต้องการ  เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากซึ่งขาดการออมสำหรับการเริ่มต้นจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และต้องมีการเสี่ยงซึ่งอาจหมายถึงการหาหุ้นส่วนซึ่งสามารถจัดหาเงินทุน  ซึ่งอาจเป็นเพื่อนหรือญาติที่ต้องการจะให้ความช่วยเหลือ
   2.  เพื่อนและญาติ (Friends and relatives)   เงินกู้ยืมจากเพื่อนและญาติอาจเป็นแหล่งที่พอหาได้สำหรับการลงทุนใหม่  ซึ่งเงินกู้ยืมชนิดนี้มักถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว  และการจัดหาเงินชนิดนี้จะมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์ส่วนตัวมากกว่าการวิเคราะห์งบทางการเงิน   อย่างไรก็ตามเพื่อนหรือญาติที่ให้กู้ยืมเงินมาทำธุรกิจ  บางครั้งเจ้าของธุรกิจจะรู้สึกว่าผู้ให้กู้เหล่านั้นมีความชอบธรรมที่จะให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการในธุรกิจนั้น ๆ  แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจกำลังเผชิญกับปัญหาในกรดำเนินงานอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันตึงเครียดได้   ในกรณีที่ญาติและเพื่อนเป็นแหล่งเงินทุนแหล่งเดียวที่มีอยู่   ผู้ประกอบการก็ไม่มีทางเลือก   ดังนั้นเพื่อลดโอกาสที่อาจจะทำให้ความสัมพันธ์มีปัญหา   ผู้ประกอบการควรวางแผนการจ่ายหนี้ชนิดนี้คืนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตลอดจนจัดทำหนังสือสัญญากลายเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับข้อตกลงต่าง ๆ ไว้ด้วย
   3.  ผู้ลงทุนส่วนบุคคลอื่น ๆ (Other  individual  investors)  มีบุคคลอื่น ๆ ที่ลงทุนสถานประกอบการ  คนเหล่านี้จะมีประสบการณ์ในธุรกิจในระดับปานกลาง  แต่จะประกอบอาชีพที่มีรายได้ดี  เช่น นักกฎหมาย และแพทย์  แหล่งการเงินนี้ลักษณะเรียกว่า  ? เงินทุนอย่างไม่เป็นทางการ ? (Informal  capital)     ผู้ลงทุนในลักษณะนี้จะได้ชื่อว่า  ? Business angles? หมายถึงผู้ลงทุนเอกชนซึ่งลงทุนใหม่  และมีความเสี่ยงในธุรกิจขนาดย่อม
   แนวทางของผู้ลงทุนอย่างไม่เป็นทางการนี้ (Informal  investors)  จะทำเป็นสัญญาร่วมมือทางธุรกิจโดยมีนักบัญชี  และนักกฎหมาย   เมื่อเร็ว ๆ  นี้ได้มีการสร้างเครือข่ายของผู้ลงทุนชนิดนี้ให้เป็นทางการมากขึ้น   ในการลงทุนข้ามประเทศผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอเอกสารต่อกลุ่มผู้ลงทุนเอกชน (Private  investors)  ซึ่งจะติดตามข่าวเกี่ยวกับลงทุนใหม่  ๆ นอกเหนือจากการจัดหาเงินทุนให้แล้ว    ผู้ลงทุนเอกชน (Private  investors)  ยังมักให้ความช่วยเหลือด้านความรู้พื้นฐานในการประกอบการอาชีพให้กับธุรกิจด้วย  ถึงแม้ว่าการได้เงินทุนจากผู้ลงทุนเอกชนเหล่านี้จะง่ายกว่าการจะได้เงินทุนที่เป็นทางการ  แต่ผู้ลงทุนที่ไม่เป็นทางการ (Informal  investors)  ก็มักมีอำนาจในความต้องการที่หลากหลาย  ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องใช้ความรอบคอบในการวางโครงสร้างรูปแบบของผู้มีส่วนร่วมในการลงทุน    โดยมีลักษณะต่าง ๆ  ดังนี้   (1) พยายามเพิ่มผู้ถือหุ้นภายนอกให้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว  (2) ทำงานเพื่อแสวงหาเงินทุนที่มีประสิทธิผลมากขึ้น  (3) พยายามหาผู้ลงทุนให้มากขึ้นและให้มีผู้ลงทุนที่หลากหลายโดยในแต่ละรายจะลงทุนในสัดส่วนที่น้อย  (4) รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้ลงทุนก่อนการตกลงครั้งสุดท้าย

แหล่งเงินทุนจากผู้ขายปัจจัยการผลิตทางธุรกิจและผู้ให้ยืมสินทรัพย์
แหล่งเงินทุนจากผู้ขายปัจจัยการผลิตทางธุรกิจและผู้ให้ยืมสินทรัพย์บริษัทใหม่อาจมีธุรกิจเกี่ยวข้องกับแหล่งเงินทุนเริ่มแรกสำหรับสินค้าคงเหลือและอุปกรณ์  ทั้งผู้ค้าและผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดหาอุปกรณ์ ซึ่งสามารถจัดหาสินเชื่อทางการค้าหรือเจ้าหนี้การค้า หรือเงินยืมสำหรับอุปกรณ์  ได้แก่
   1. สินเชื่อทางการค้า หรือเจ้าหนี้การค้า เป็นการบริหารการเงินโดยขายปัจจัยการผลิต  โดยให้สินเชื่อกับบริษัทโดยมีระยะเวลาสำหรับการจ่ายสินเชื่อ  สินเชื่อการค้า  จะมีระยะเวลาสั้น  เช่น 30วัน  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นิยมใช้กัน   เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปยังบริษัทผู้ซื้อ  ผู้ซื่อจะลงบัญชีเจ้าหนี้ สำหรับจำนวนสินค้าที่ซื่อ จำนวนสินเชื่อทางการค้าจะขึ้นอยู่กับชนิดของธุรกิจ  และความมั่นใจของผู้ขายปัจจัยการผลิตที่ให้กับบริษัทที่ซื้อ  ธุรกิจขนาดนิยมใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นแบบนี้กันมาก
   2. สินเชื่อและการเช่าซื้ออุปกรณ์ สินเชื่ออุปกรณ์ เป็นการซื้อขายโดยวิธีการผ่อนส่งตามสัญญา  ซึ่งโดยปกติจะประมาณ 3 ? 5 ปี  ผู้ผลิตอุปกรณ์หรือผู้จัดหามักขยายสินเชื่อตามเงื่อนไขสัญญาการขาย
   ธุรกิจขนาดย่อมจำนวนหนึ่งจะใช้วิธีเช่าอุปกรณ์แทนการยืมเงินจากผู้ขายปัจจัยการผลิตเพื่อซื่ออุปกรณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์  เครื่องอัดรูป  และเครื่องแฟกซ์   การเช่าซื้อจะมีช่วงเวลา 36-60 เดือน   และครอบคลุมต้นทุนของสินทรัพย์ที่เช่าเต็ม 100% โดยมีดอกเบี้ยคงที่รวมอยู่ในค่าเช่าด้วย  อย่างไรก็ตามผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาจทำงานร่วมกับธนาคารหรือบริษัทเงินทุน  โดยทั่วไปมักยอมรับการเช่าเป็นชุดตามความต้องการของลูกค้า
   ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของบริษัททั้งหมดใช้วิธีการเช่าอุปกรณ์บางอย่างหรือทั้งหมด   โดยมีเหตุผลสำคัญ  3  ประการที่ทำให้นิยมการเช่า  คือ (1) เงินของบริษัทยังคงอยู่สำหรับทำกิจกรรมอื่น   (2) วงเงินสินเชื่อยังคงมีอยู่เท่าเดิม  (3) การเช่าเป็นการป้องกันเก่าล้าสมัย  เพราะสามารถเปลี่ยนได้เมื่อเลิกสัญญาเช่า
   การเช่าเป็นทางเลือกสำหรับการพิจารณาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จำเป็น  ผู้ประกอบกิจการไม่ควรสรุปว่าการเช่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง  แต่ควรเปรียบเทียบอย่างรอบคอบในอัตราดอกเบี้ย  ภาษี  และการล้าสมัยของอุปกรณ์  ซึ่งจะทำให้เจ้าของกิจการมีทางเลือกที่ดี  นอกจากนี้เจ้าของกิจการจะต้องมีความรอบคอบเกี่ยวกับการทำสัญญาด้วย
   3. การให้ยืมโดยถือเกณฑ์สินทรัพย์ เป็นการให้ยืมเงินโดยถือเกณฑ์สินทรัพย์หมุนเวียน  โดยปกติสินทรัพย์หมุนเวียน  ได้แก่ ลูกหนี้การค้า   หรือสินค้าคงเหลือ   แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็อาจจะใช้เป็นเกณฑ์ได้   การให้ยืมวิธีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้สำหรับธุรกิจใหม่ที่กำลังเติบโต
   การขายบัญชีลูกหนี้ เป็นการได้รับเงินสดโดยการขายบัญชีลูกหนี้การค้าให้กับธุรกิจอื่น  การขายบัญชีลูกหนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจมีเงินเพียงพอในการดำเนินงานก่อนถึงเวลาที่ลูกหนี้จะจ่ายเงินตามบัญชีลูกหนี้เงินทุนเพื่อการเช่าอุปกรณ์
ธุรกิจขนาดย่อมจำนวนหนึ่งจะใช้วิธีเช่าอุปกรณ์แทนการยืมเงินจากผู้ขายปัจจัยการผลิตเพื่อซื้ออุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ประเภทคอมพิวเตอร์ เครื่องอัดรูป และเครื่องแฟกซ์ การเช่าซื้อจะมีช่วงเวลา 36-60 เดือน และครอบคลุมต้นทุนของสินทรัพย์ที่เช่าเต็ม 100% โดยมีดอกเบี้ยคงที่รวมอยู่ในค่าเช่าด้วย อย่างไรก็ตามผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาจทำงานร่วมกับธนาคารหรือบริษัทเงินทุน โดยทั่วไปมักยอมรับการเช่าเป็นชุดตามความต้องการของลูกค้า
ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของบริษัททั้งหมดใช้วิธีการเช่าอุปกรณ์บางอย่างหรือทั้งหมด โดยมีเหตุผลสำคัญ 3 ประการที่ทำให้นิยมการเช่า คือ 1)เงินของบริษัทยังคงอยู่สำหรับทำกิจกรรมอย่างอื่น 2) วงเงินสินเชื่อยังคงมีอยู่เท่าเดิม 3) การเช่าเป็นการป้องกันอุปกรณ์เก่าล้าสมัย เพราะสามารถเปลี่ยนได้เมื่อเลิกสัญญาเช่า
การเช่าจะเป็นทางเลือกสำหรับการพิจารณาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จำเป็น ผู้ประกอบกิจการไม่ควรสรุปว่าการเช่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ควรเปรียบเทียบอย่างรอบคอบในอัตราดอกเบี้ย ภาษี และการล้าสมัยของอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้เจ้าของกิจการมีทางเลือกที่ดี นอกจากนี้เจ้าของกิจการจะต้องมีความรอบคอบเกี่ยวกับการทำสัญญาด้วย
การให้ยืมโดยถือเกณฑ์สินทรัพย์ (Asset-based lending) เป็นการให้ยืมเงินโดยถือเกณฑ์สินทรัพย์เงินทุนหมุนเวียน โดยปกติสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ ลูกหนี้การค้า หรือสินค้าคงเหลือ แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็อาจจะใช้เป็นเกณฑ์ได้ การให้ยืมวิธีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งเป็นไปได้สำหรับธุรกิจใหม่ที่กำลังเติบโต

กรณีศึกษา

บริษัท เพ็ทเทค อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด

รวยได้เพราะทำดี!?
ความเป็นมา
       พูดถึงหลักธรรมาภิบาล หรือ ความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้น ความเป็นธรรมกับคู่ค้า-ลูกค้า และ ความเป็นธรรมกับพนักงาน
    SMEs บ้านเราส่วนใหญ่ฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ!?
       ส่วนใหญ่ยังพยายามทำบัญชี 2 บัญชี เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เพราะเชื่อว่าจะทำให้บริษัทได้กำไรมากขึ้น
       ส่วนใหญ่ยังอยากเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เพราะเชื่อว่าถ้ามีคนอื่นมาร่วมหุ้นร่วมทุนด้วย จะยุ่งยากลำบากในการบริหารงาน
       ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการกดเงินเดือนพนักงานให้ต่ำ ๆ จะทำให้กำไรบริษัทเพิ่มมากขึ้น
      หลักธรรมาภิบาล เลวร้ายขนาดนั้นหรือ!?
      ไม่เสมอไปนัก เพราะสำหรับบริษัท เพ็ทเทค อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด  หลักธรรมาภิบาล ทำให้วันนี้บริษัทฯ สามารถขยายกิจการจากบริษัทขนาดเล็กๆ ขึ้นชั้นเป็นบริษัทขนาดกลาง ได้โดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากนัก
      เพ็ทเทคฯ ก่อตั้งขึ้นจากแนวความคิดของ นายสัตวแพทย์ พิมล ดุรงค์กินานนท์ ที่เห็นช่องว่างตลาดอาหารสุนัข บวกกับความรู้ด้านสัตว์เป็นอย่างดีทำให้คุณพิมลแทนที่จะไปเปิดคลินิกรักษาสัตว์ ก็ผันตัวเองสู่การเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสุนัขแทน โดยได้คิดค้นสูตรอาหารสุนัขและจ้างโรงงานเป็นผู้ผลิต พร้อมกับได้ตั้งบริษัท เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขึ้น เพื่อให้เป็นบริษัททำตลาด
   เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเปรียบเสมือนบริษัทที่ซื้อมาขายไป ไม่มีโรงงานของตัวเอง ไม่มีส่วนของการบรรจุ แพ็กกิ้งสินค้า ไม่มีโกดัง ทุกอย่างจ้างและเช่าหมด เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล ทำหน้าที่คือคิดค้นสูตรอาหารสุนัขที่มีคุณภาพ ควบคุมการผลิต และ ทำตลาด โดยการสร้างแบรนด์ Dogkin ให้เป็นที่รู้จักและติดตลาด

กิจกรรม เครื่องมือสำคัญการทำตลาด
   การทำตลาดของคุณพิมลเน้นไปที่การทำกิจกรรมเป็นหลัก ซึ่งตรงกลุ่มเป้าหมาย ไม่เหวี่ยงแห และไม่จำเป็นต้องลงสื่อแบบ Mass ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาล อีกอย่างงานกิจกรรมถือเป็นงานโปรด และถนัด เพราะทำมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปสนับสนุนการจัดประกวดสุนัข การจัดทัวร์ ตั้งแคมป์ แรลลี่ ให้กับสุนัขและผู้เลี้ยง
เป็นการสร้างแบรนด์ Dogkin ที่เลี่ยงตลาดที่จะชนกับยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็น เพ็ดดีกรี อัลโป หรือ ยักษ์ใหญ่เมืองไทยอย่างซีพี ที่มุ่งเน้นทำตลาดกับกลุ่มลูกค้ารายย่อยด้วยการโหมโฆษณาทางทีวี แต่ Dogkin กลับสร้างตลาดมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขประกวดที่ต้องการอาหารคุณภาพ หรือฟาร์มสุนัขเป็นหลัก ซึ่งก็ได้ผลและทำให้ Dogkin เติบโตขึ้น
    เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเริ่มมีตัวแทนจำหน่ายในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้นๆ พร้อมๆ กับออร์เดอร์ที่คุณพิมลต้องสั่งผลิตอาหารสุนัขจากโรงงานที่ไปจ้างผลิตเพิ่มมากขึ้น ๆ เช่นกัน

จากจ้างผลิตสู่การก่อตั้งโรงงาน
   หากโรงงานที่คุณพิมลไปจ้างผลิตอาหารสุนัขสามารถผลิตสินค้าให้กับคุณพิมลได้ทันตามระยะเวลาและตามจำนวนออร์เดอร์ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไม่มีปัญหา คุณพิมลก็อาจยังคงพอใจกับการทำธุรกิจแบบนี้ต่อไป แต่เหตุการณ์มิได้เป็นเช่นนั้น เมื่อ Dogkin ยิ่งโตเท่าไหร่ ออร์เดอร์เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ โรงงานที่จ้างผลิตซึ่งมิได้มีลูกค้าเพียง Dogkin รายเดียวก็เริ่มมีปัญหา และไม่สามารถผลิตสินค้าให้กับคุณพิมลได้
   ออร์เดอร์มีเข้ามา 10 แต่โรงงานผลิตให้ได้แค่ 2 อีก 8 ต้องทิ้งเงินไปอย่างน่าเสียดาย
   เส้นทางธุรกิจของเพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มมาถึงทางตัน และต้องตัดสินใจหาทางออกอะไร สักอย่าง โดยเฉพาะเมื่อส่วนการผลิต หรือ โรงงานมีปัญหา ก็ต้องสร้างโรงงานขึ้นมาเป็นของตนเอง แต่จะเอาเงินมาจากไหน เพราะการสร้างโรงงานคงต้องใช้เม็ดเงินหลายสิบล้านบาท

ระดมทุนผ่าน เพื่อน และ ญาติๆ
   ความที่ทำธุรกิจแบบ Fair Trade มาโดยตลอด คุณพิมล จึงมีความคิดที่จะระดมทุนโดยวิธีแปลกๆ (แต่ได้ผล) คุณพิมลไปเช่าพื้นที่โรงแรมแห่งหนึ่ง และ จัดงานขึ้นมา โดยการเชิญบรรดาญาติสนิท มิตรสหาย ตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าที่ค่อนข้างมีฐานะรวมถึงตัวแทนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บอย.) ปัจจุบันคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) มานั่งฟังสิ่งที่แกคิด
  เมื่อคุณพิมลพูดจบ ก็มาถึงแผนงานการขยายกิจการ และการรีเทิร์นเรื่องเม็ดเงินที่จะได้ รวมทั้งความเสี่ยงของธุรกิจเสร็จสรรพ แกก็เริ่มถามผู้ที่เข้ามาฟังร่วม 100 กว่ารายว่า ใครเห็นด้วยกับสิ่งที่แกพูด และเห็นด้วยอย่างเดียวไม่พอ ต้องวางเงินด้วย ปรากฏว่าจำนวนผู้เข้าฟัง 100 กว่าราย มีผู้เห็นด้วยและลงเงินกว่า 13 ราย ได้เงินมาล้านกว่าบาท
  จริงอยู่แม้จะเป็นเงินที่ไม่มาก แต่ก็เป็นแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ SMEs BANK ที่คุณพิมลเริ่มสานต่อด้วยการขอกู้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเมื่อ SMEs BANK ตัดสินใจสนับสนุนสินเชื่อให้เพ็ทเทค เป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนให้คุณพิมล นำไปสร้างโรงงาน เท่านั้นไม่พอ SME BANK ยังตัดสินใจเข้าร่วมทุน ในบริษัทใหม่ที่คุณพิมลตั้งขึ้นใหม่ ในชื่อ บริษัทเพ็ทเทค อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ถึง 20% ของทุนจดทะเบียน หรือ เป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งคุณพิมลวางให้เป็นบริษัทผู้ผลิต ส่วนบริษัทเพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล เดิม ก็ให้เป็นบริษัทย่อยที่เป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่าย และทำตลาด
  ทั้งนี้ ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ กรรมการผู้จัดการ  SMEs BANK เวลานั้น พูดถึงบริการร่วมลงทุนดังกล่าวว่าเป็นอีกหนึ่งบริการของ SME BANK ที่จัดเตรียมไว้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี สามารถทำธุรกิจด้วยความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยต้นทุนการบริหารงานที่ต่ำ ไม่มีภาระด้านดอกเบี้ยเงินกู้ โดย SMEs BANK ได้จัดเตรียมวงเงินไว้รองรับโครงการนี้ถึง 1,000 ล้านบาท และในขณะนี้มีผู้ยื่นเสนอให้ SMEs BANK.เข้าร่วมทุนประมาณ 30?40 ราย วงเงินที่เสนอมาร่วมลงทุนถึง 400 ล้านบาท ซึ่ง SMEs BANK จะได้พิจารณาโครงการต่อไป โดยจะพิจารณาจากโครงการที่มีศักยภาพ หรือเป็นโครงการนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้เอสเอ็มอีเข็มแข็ง
     แต่ถ้าถามว่าเพ็ทเทคฯ ทำไมจึงผ่านการพิจารณาของ SMEs BANK มาได้ทั้งในส่วน การให้การสนับสนุนสินเชื่อ และ การร่วมลงทุน คุณรพี ม่วงนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายร่วมลงทุน 2 SME BANK ซึ่งดูแลงานดังกล่าวเวลานั้น ให้ความเห็นว่า เพราะ เพ็ทเทคฯ เป็นบริษัทที่ยึดหลักธรรมาภิบาล มีบัญชีเดียว จ่ายภาษีให้กับภาครัฐมาโดยตลอด ทำให้การพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อค่อนข้างจะไม่มีปัญหา
                   ประกอบกับธุรกิจอาหารสุนัขเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนเพราะตลาดโดยรวมมีการขยายตัวปีละกว่า 20-25% เฉพาะตลาดของเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ตลาดญี่ปุ่น 4,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนเวียดนาม 1,000 ล้านบาทต่อปี และยังเติบโตต่อเนื่องไม่หยุด ถ้าลองคิดเล่นๆ สุนัขที่คนทั่วไปนิยมเลี้ยงด้วยข้าวผสมเนื้อ ผสมตับ หันมานิยมเลี้ยงด้วยอาหารสุนัขกันหมด ตลาดจะโตขึ้นอีกเท่าไหร่ รวมทั้งตลาดส่งออก อย่างญี่ปุ่นหรือ เวียดนาม
       ขณะที่คุณภาพสินค้า Dogkin จัดอยู่ในเกรดสินค้าคุณภาพ ระดับพรีเมี่ยม ที่เน้นอาหารธรรมชาติ ไม่เติมสี ด้วยการใช้วัตถุดิบที่คัดพิเศษของคุณพิมล โดยเฉพาะการนำข้าวมาเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร ซึ่งแตกต่างจากอาหารสุนัขต่างประเทศที่นิยมใช้ข้าวโพดซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดเชื้อรามากขึ้น
      
ข้อสรุปทางวิชาการ
?   คุณภาพสินค้าดี มีตลาดรองรับ ขณะที่ตลาดโดยรวมมีโอกาสเติบโตไปได้อีกมาก เพ็ทเทคจึงเป็นบริษัทที่มีอนาคตไกล โดยเฉพาะเมื่อโรงงานก่อสร้างเสร็จ จากอาหารสุนัข อาหารแมว ก็จะขยับขยายไปสู่หารสัตว์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนก หนู กระต่าย กระรอก ฯลฯ ซึ่งคุณพิมลบอกว่าโรงงานนี้กำลังการผลิต 50% จะผลิตสินค้าของ Dogkin ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือยังสามารถรับจ้างผลิตอาหารสัตว์ให้กับยี่ห้ออื่นๆ ด้วย
?   หลักธรรมาภิบาล ทำให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนง่ายขึ้น หากคุณพิมล ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล การขยายกิจการ จนมีโรงงานของตัวเองวันนี้ก็คงเป็นเรื่องยาก การระดมทุนด้วยวิธีแปลกๆ ก็คงไม่มีใครเล่นด้วย หรือแม้แต่สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ก็คงคิดหนัก หากบัญชีที่ผ่านมาติดลบมาโดยตลอด นี่คือข้อดีของ ธรรมาภิบาล กับ SMEs
?   แหล่งเงินทุน มิได้มีเพียงเฉพาะสถาบันการเงิน หากยังมีจากเพื่อน ญาติ หรือแม้แต่คนทั่วไป บริษัทก็สามารถระดมทุนได้ หากเปิดโอกาสให้คนเหล่านั้นเข้ามาถือหุ้นในบริษัท เช่นเดียวกับที่เพ็ทเทคทำ