-->

ผู้เขียน หัวข้อ: งบกระแสเงินสด  (อ่าน 1999 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
งบกระแสเงินสด
« เมื่อ: 09 มกราคม 2008, 23:08:18 »

งบกระแสเงินสด

เรียบเรียงโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

งบกระแสเงินสด (Cash flow statement) เป็นรายงานการเงินซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงเงินสดของธุรกิจ (แหล่งที่รับมาของเงินสดรับและแหล่งที่ใช้ไปของเงินสดจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง)
รูปแบบของกิจกรรมจากระแสเงินสด (Types of cash flow activities) ประกอบด้วย 1) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 2) กระแสเงินสดจากการลงทุนของธุรกิจ 3) กระแสเงินสดจากรายการค้า เช่น การออกหุ้น การขอยืมเงิน หรือการจ่ายชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash folws from operations) เป็นกระแสเงินสดจากการรวบรวมเงินจากลูกค้า และการจ่ายเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ดอกเบี้ยและภาษี

เงินสดจ่ายในการดำเนินงาน (Other operating cash outfolows) ในการคำนวณเงินสดจ่ายที่แท้จริงเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นเงินสดจ่ายโดยไม่รวมค่าเสื่อมราคา เราจะปรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทีเพิ่มขึ้น และชี้ว่าค่าใช้จ่ายนั้นยังไม่ได้จ่ายจริง แต่เป็นหนี้สินที่ค้างจ่าย

การจ่ายเงินภาษีเงินสด (Cash tax paymetns) ค่าภาษีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน โดยทั่วไปไม่ได้จ่ายทันทีในขณะที่ค่าภาษีเกิดขึ้นภาษีในงบกำไตขาดทุนเป็นรายงาน แต่บริษัทจะต้องนำไปจ่ายเงิน การจ่ายเงินเท่ากับจำนวนภาษีที่รายงานในงบกำไรขาดทุน หัก (บวก) เพิ่ม (ลด) ในภาษีค้างจ่าย (Accrued taxes) หรือภาษีค้างรับ (Deferred taxes) ในงบดุลจากงบกำไรขาดทุน   

สรุปกระแสเงินสด  (Summary of cash flows) จากการพิจารณากระแสเงินสด 3 ประเภท คือ 1) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash flows from operations) 2) กระแสเงินสดจากกิจกรราการลงทุน (Cash flows from investment activities) 3) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการเงิน (Cash flows from financing activities) เราจะสามารถสรุปได้ดังนี้

การวัดกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
ที่ใช้วัดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมี 2 วิธี ดังนี้
1.   วิธีการทางตรง (Direct method) เป็นการวัดกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยเริ่มต้นที่ส่วนบนของงบกำไรขาดทุน ซึ่งเริ่มต้นด้วยกระแสเงินสดที่รวบรวมจากลูกคว้า แล้วลบผลต่างลบด้วยเงินสดจ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานปกติของธุรกิจ เช่น เงินที่จ่ายให้ผู้ขายสินค้าและเงินเดือนพนักงาน
2.   วิธีการทางอ้อม (Indirect method) เป็นการวัดกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยเริ่มต้นที่ส่วนล่างของงบกำไรขาดทุน ซึ่งจะให้คำตอบเท่ากันกับวิธีการทางตรง ซึ่งจะเห็นว่าวิธีการทางอ้อมเริ่มต้นด้วยรายได้สุทธิ แล้วพวกค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เป็นผลในเงินสดจ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ค่าเสื่อมราคา การปรับการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ ดังนั้นทั้ง 2 วิธีจะได้รับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานแตกต่างจากการเริ่มต้นที่ส่วนบน (วิธีการทางตรง) หรือส่วนล่าง ของงบกำไรขาดทุน ซึ่งทั้ง 2 วิธี จะเปลี่ยนแปลงงบรายได้สุทธิเป็นงบกระแสเงินสด

กระแสเงินสดและกำไร (Cash flows and profits) แนวคิดเกี่ยวกับการวัดกระแสเงินสด เป็นความเชื่อที่แพร่หลายที่ว่ารายได้บวกค่าเสื่อมราคา เป็นการวัดที่มีเหตุผลของกระแสเงินสดของบริษัท ตัวอย่าง กำไรสุทธิหลังจากหักภาษีของบริษัท 62,310 บาท และบวกด้วยค่าเสื่อมราคา 28,200 บาท รวมเป็น 90,510 บาท ตามความคิดแบบดั้งเดิมอาจจะใช้จำนวนนี้เพื่อพยากรณ์กระแสเงินสดของธุรกิจ แต่จากงบกระแสเงินสดจะพบว่ากระแสเงินสดสุทธิมีเพียง 5,000 บาทเท่านั้น ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าวิธีการหากระแสเงินสดจะมีความสับสนมากกว่าวิธีการใช้รายได้ บวกด้วยค่าเสื่อมราคา (Back depreciation) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์เป็นผลจากความเจริญเติบโต จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณากระแสเงินสดของธุรกิจเช่นเดียวกับกำไร และในบางครั้งมีความสำคัญมากกว่า ดังนั้นเจ้าของกิจการขนาดย่อมจะต้องคำนึงถึงทั้งกำไรและกระแสเงินสด

สรุปประเด็น
?   รูปแบบของกิจกรรมจากกระแสเงินสด
?   กระแสเงินสดจากการดำเนินการ       
?   กระแสเงินสดจากการลงทุนของธุรกิจ
?   กระแสเงินสดจากรายการค้า
?   การวัดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม
?   กระแสเงินสดและกำไร
?   กรณีศึกษา ตัวอย่าง
?   แสดงงบกระแสเงินสด



กรณีศึกษา

บริษัท เพ็ทเทค อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด

รวยได้เพราะทำดี!?   
ความเป็นมา
       พูดถึงหลักธรรมาภิบาล หรือ ความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้น ความเป็นธรรมกับคู่ค้า-ลูกค้า และ ความเป็นธรรมกับพนักงาน
    SMEs บ้านเราส่วนใหญ่ฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ!?
       ส่วนใหญ่ยังพยายามทำบัญชี 2 บัญชี เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เพราะเชื่อว่าจะทำให้บริษัทได้กำไรมากขึ้น
       ส่วนใหญ่ยังอยากเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เพราะเชื่อว่าถ้ามีคนอื่นมาร่วมหุ้นร่วมทุนด้วย จะยุ่งยากลำบากในการบริหารงาน
       ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการกดเงินเดือนพนักงานให้ต่ำ ๆ จะทำให้กำไรบริษัทเพิ่มมากขึ้น
      หลักธรรมาภิบาล เลวร้ายขนาดนั้นหรือ!?
      ไม่เสมอไปนัก เพราะสำหรับบริษัท เพ็ทเทค อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด  หลักธรรมาภิบาล ทำให้วันนี้บริษัทฯ สามารถขยายกิจการจากบริษัทขนาดเล็กๆ ขึ้นชั้นเป็นบริษัทขนาดกลาง ได้โดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากนัก
      เพ็ทเทคฯ ก่อตั้งขึ้นจากแนวความคิดของ นายสัตวแพทย์ พิมล ดุรงค์กินานนท์ ที่เห็นช่องว่างตลาดอาหารสุนัข บวกกับความรู้ด้านสัตว์เป็นอย่างดีทำให้คุณพิมลแทนที่จะไปเปิดคลินิกรักษาสัตว์ ก็ผันตัวเองสู่การเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสุนัขแทน โดยได้คิดค้นสูตรอาหารสุนัขและจ้างโรงงานเป็นผู้ผลิต พร้อมกับได้ตั้งบริษัท เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขึ้น เพื่อให้เป็นบริษัททำตลาด
   เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเปรียบเสมือนบริษัทที่ซื้อมาขายไป ไม่มีโรงงานของตัวเอง ไม่มีส่วนของการบรรจุ แพ็กกิ้งสินค้า ไม่มีโกดัง ทุกอย่างจ้างและเช่าหมด เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล ทำหน้าที่คือคิดค้นสูตรอาหารสุนัขที่มีคุณภาพ ควบคุมการผลิต และ ทำตลาด โดยการสร้างแบรนด์ Dogkin ให้เป็นที่รู้จักและติดตลาด

กิจกรรม เครื่องมือสำคัญการทำตลาด
   การทำตลาดของคุณพิมลเน้นไปที่การทำกิจกรรมเป็นหลัก ซึ่งตรงกลุ่มเป้าหมาย ไม่เหวี่ยงแห และไม่จำเป็นต้องลงสื่อแบบ Mass ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาล อีกอย่างงานกิจกรรมถือเป็นงานโปรด และถนัด เพราะทำมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปสนับสนุนการจัดประกวดสุนัข การจัดทัวร์ ตั้งแคมป์ แรลลี่ ให้กับสุนัขและผู้เลี้ยง
เป็นการสร้างแบรนด์ Dogkin ที่เลี่ยงตลาดที่จะชนกับยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็น เพ็ดดีกรี อัลโป หรือ ยักษ์ใหญ่เมืองไทยอย่างซีพี ที่มุ่งเน้นทำตลาดกับกลุ่มลูกค้ารายย่อยด้วยการโหมโฆษณาทางทีวี แต่ Dogkin กลับสร้างตลาดมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขประกวดที่ต้องการอาหารคุณภาพ หรือฟาร์มสุนัขเป็นหลัก ซึ่งก็ได้ผลและทำให้ Dogkin เติบโตขึ้น
    เพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเริ่มมีตัวแทนจำหน่ายในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้นๆ พร้อมๆ กับออร์เดอร์ที่คุณพิมลต้องสั่งผลิตอาหารสุนัขจากโรงงานที่ไปจ้างผลิตเพิ่มมากขึ้น ๆ เช่นกัน

จากจ้างผลิตสู่การก่อตั้งโรงงาน
   หากโรงงานที่คุณพิมลไปจ้างผลิตอาหารสุนัขสามารถผลิตสินค้าให้กับคุณพิมลได้ทันตามระยะเวลาและตามจำนวนออร์เดอร์ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไม่มีปัญหา คุณพิมลก็อาจยังคงพอใจกับการทำธุรกิจแบบนี้ต่อไป แต่เหตุการณ์มิได้เป็นเช่นนั้น เมื่อ Dogkin ยิ่งโตเท่าไหร่ ออร์เดอร์เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ โรงงานที่จ้างผลิตซึ่งมิได้มีลูกค้าเพียง Dogkin รายเดียวก็เริ่มมีปัญหา และไม่สามารถผลิตสินค้าให้กับคุณพิมลได้
   ออร์เดอร์มีเข้ามา 10 แต่โรงงานผลิตให้ได้แค่ 2 อีก 8 ต้องทิ้งเงินไปอย่างน่าเสียดาย
   เส้นทางธุรกิจของเพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มมาถึงทางตัน และต้องตัดสินใจหาทางออกอะไร สักอย่าง โดยเฉพาะเมื่อส่วนการผลิต หรือ โรงงานมีปัญหา ก็ต้องสร้างโรงงานขึ้นมาเป็นของตนเอง แต่จะเอาเงินมาจากไหน เพราะการสร้างโรงงานคงต้องใช้เม็ดเงินหลายสิบล้านบาท

ระดมทุนผ่าน เพื่อน และ ญาติๆ
   ความที่ทำธุรกิจแบบ Fair Trade มาโดยตลอด คุณพิมล จึงมีความคิดที่จะระดมทุนโดยวิธีแปลกๆ (แต่ได้ผล) คุณพิมลไปเช่าพื้นที่โรงแรมแห่งหนึ่ง และ จัดงานขึ้นมา โดยการเชิญบรรดาญาติสนิท มิตสหาย ตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าที่ค่อนข้างมีฐานะรวมถึงตัวแทนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บอย.) ปัจจุบันคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) มานั่งฟังสิ่งที่แกคิด
  เมื่อคุณพิมลพูดจบ ก็มาถึงแผนงานการขยายกิจการ และการรีเทิร์นเรื่องเม็ดเงินที่จะได้ รวมทั้งความเสี่ยงของธุรกิจเสร็จสรรพ แกก็เริ่มถามผู้ที่เข้ามาฟังร่วม 100 กว่ารายว่า ใครเห็นด้วยกับสิ่งที่แกพูด และเห็นด้วยอย่างเดียวไม่พอ ต้องวางเงินด้วย ปรากฏว่าจำนวนผู้เข้าฟัง 100 กว่าราย มีผู้เห็นด้วยและลงเงินกว่า 13 ราย ได้เงินมาล้านกว่าบาท
  จริงอยู่แม้จะเป็นเงินที่ไม่มาก แต่ก็เป็นเทรนด์ที่ดี โดยเฉพาะ SMEs BANK ที่คุณพิมลเริ่มสานต่อด้วยการขอกู้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเมื่อ SMEs BANK ตัดสินใจสนับสนุนสินเชื่อให้เพ็ทเทค เป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนให้คุณพิมล นำไปสร้างโรงงาน เท่านั้นไม่พอ SMEs BANK ยังตัดสินใจเข้าร่วมทุน ในบริษัทใหม่ที่คุณพิมลตั้งขึ้นใหม่ ในชื่อ บริษัทเพ็ทเทค อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ถึง 20% ของทุนจดทะเบียน หรือ เป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งคุณพิมลวางให้เป็บริษัทผู้ผลิต ส่วนบริษัทเพ็ทเทค อินเตอร์เนชั่นแนล เดิม ก็ให้เป็นบริษัทย่อยที่เป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่าย และทำตลาด
  ทั้งนี้ดร.สำราญ ภูอนันตานนท์ กรรมการผู้จัดการ SMEs BANK เวลานั้น พูดถึงบริการร่วมลงทุนดังกล่าวว่าเป็นอีกหนึ่งบริการของ SMsE BANK ที่จัดเตรียมไว้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี สามารถทำธุรกิจด้วยความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยต้นทุนการบริหารงานที่ต่ำ ไม่มีภาระด้านดอกเบี้ยเงินกู้ โดย SMEs BANK ได้จัดเตรียมวงเงินไว้รองรับโครงการนี้ถึง 1,000 ล้านบาท และในขณะนี้มีผู้ยื่นเสนอให้ SMEs BANK.เข้าร่วมทุนประมาณ 30?40 ราย วงเงินที่เสนอมาร่วมลงทุนถึง 400 ล้านบาท ซึ่ง SMEs BANK จะได้พิจารณาโครงการต่อไป โดยจะพิจารณาจากโครงการที่มีศักยภาพ หรือเป็นโครงการนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้เอสเอ็มอีเข็มแข็ง
     แต่ถ้าถามว่าเพ็ทเทคฯ ทำไมจึงผ่านการพิจารณาของ SME BANK มาได้ทั้งในส่วน การให้การสนับสนุนสินเชื่อ และ การร่วมลงทุน คุณรพี ม่วงนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายร่วมลงทุน 2 SMEs BANK ซึ่งดูแลงานดังกล่าวเวลานั้น ให้ความเห็นว่า เพราะ เพ็ทเทคฯ เป็นบริษัทที่ยึดหลักธรรมาภิบาล มีบัญชีเดียว จ่ายภาษีให้กับภาครัฐมาโดยตลอด ทำให้การพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อค่อนข้างจะไม่มีปัญหา
                   ประกอบกับธุรกิจอาหารสุนัขเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนเพราะตลาดโดยรวมมีการขยายตัวปีละกว่า 20-25% เฉพาะตลาดของเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ตลาดญี่ปุ่น 4,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนเวียดนาม 1,000 ล้านบาทต่อปี และยังเติบโตต่อเนื่องไม่หยุด ถ้าลองคิดเล่นๆ สุนัขที่คนทั่วไปนิยมเลี้ยงด้วยข้าวผสมเนื้อ ผสมตับ หันมานิยมเลี้ยงด้วยอาหารสุนัขกันหมด ตลาดจะโตขึ้นอีกเท่าไหร่ รวมทั้งตลาดส่งออก อย่างญี่ปุ่นหรือ เวียดนาม
       ขณะที่คุณภาพสินค้า Dogkin จัดอยู่ในเกรดสินค้าคุณภาพ ระดับพรีเมี่ยม ที่เน้นอาหารธรรมชาติ ไม่เติมสี ด้วยการใช้วัตถุดิบที่คัดพิเศษของคุณพิมล โดยเฉพาะการนำข้าวมาเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร ซึ่งแตกต่างจากอาหารสุนัขต่างประเทศที่นิยมใช้ข้าวโพดซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดเชื้อรามากขึ้น
      
ข้อสรุปทางวิชาการ
?   การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะบริษัทเพ็ทเท็ค ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสถาบันการเงินของรัฐเข้าร่วมทุน ตลอดจนมีการเปิดขายหุ้นให้กับญาติ และ เพื่อน การจัดทำงบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขายทุน รวมทั้งบกระแสเงินสด ซึ่งถูกต้องตามหลักสากล และตรวจสอบได้  เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ทราบถึงสถานะของบริษัท ซึ่งต้องนำส่งผู้ถือหุ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส
?   หลักธรรมาภิบาล ทำให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนง่ายขึ้น หากคุณพิมล ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล การขยายกิจการ จนมีโรงงานของตัวเองวันนี้ก็คงเป็นเรื่องยาก การระดมทุนด้วยวิธีแปลกๆ ก็คงไม่มีใครเล่นด้วย หรือแม้แต่สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ก็คงคิดหนัก หากบัญชีที่ผ่านมาติดลบมาโดยตลอด นี่คือข้อดีของ ธรรมาภิบาล กับ SMEs
?   การจัดทำงบกระแสเงินสด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเพ็ทเท็ค ในการทำให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการ ซึ่ง จะทำให้ง่ายต่อการบริหารงาน การผลิต และ การทำตลาด  นอกจากนั้นเนื่องจากบริษัทที่มีการร่วมทุนต้องมีการจ่ายปันผล และมีหนี้จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินซึ่งต้องชำระคืน การทราบถึงกระแสเงินสดนั้นเป็นสิ่งที่ต้อง