-->

ผู้เขียน หัวข้อ: 5 ขั้นเพื่อการเปลี่ยนแปลง  (อ่าน 510 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
5 ขั้นเพื่อการเปลี่ยนแปลง
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 04:51:03 »

ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงยังเป็น ?ยาขม? สำหรับคนส่วนใหญ่ การเติมน้ำตาลให้ยานั้นกินง่ายขึ้นก็เป็นเรื่องจำเป็นครับ ซึ่งใน ?บิสิเนสไทย? ฉบับที่แล้วผมเกริ่นไว้ 1 ข้อถึงการปรับตัวของบริษัทหรือธุรกิจด้วยการเริ่มปรับทีละน้อยๆ
 


เพราะถ้าปรับใหญ่ครั้งเดียวอย่างเด็ดขาดและรุนแรงแล้วละก็ เราอาจได้รับผลกระทบกลับมาอย่างรวดเร็ว จนอาจบานปลายกลายเป็นการต่อต้านอย่างที่เรานึกไม่ถึง ตรงกันข้ามกับการเปลี่ยนแปลงจากหน่วยเล็กๆ ที่รวมกันแล้วได้ผลที่ยิ่งใหญ่เหมือนๆกัน
 
วันนี้มาต่อกันอีก 4 ข้อที่เหลือนะครับ เริ่มจากข้อ 2 คือ การเฟ้นหา ?ผู้นำตัวจริง? ให้ได้เพราะมีส่วนสำคัญมากกับเปลี่ยนแปลงบริษัท เพราะผู้นำจะมีส่วนสำคัญในการโน้มน้าวใจคนอื่นๆให้เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดีที่สุด
 
ปัญหาก็คือผู้นำในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคนที่มีตำแหน่งใหญ่ที่สุด หรือผู้ที่มีอาวุโสสูงสุด แต่เป็นใครก็ได้ที่แอบแฝงอยู่ตามแผนกต่างๆ ที่แม้จะไม่มีตำแหน่งสำคัญอะไร แต่เขาก็ได้รับการยอมรับจากคนในแผนก หรือในหน่วยงานส่วนใหญ่
 
?ผู้นำตัวจริง? เหล่านี้แม้จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการชี้นิ้วสั่งใครๆ แต่ก็มีอิทธิพลทางความคิด และมีความสนิทสนมเป็นกันเองกับพนักงาน จนมีบทบาทเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ ในการนำการเปลี่ยนแปลงของบริษัท
 
บทบาทสำคัญของเขาที่เราต้องพึ่งพาก็คือการสร้างความเข้าใจให้คนส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นและประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง และโน้มนำความคิดให้ไปในทางเดียวกัน ที่สำคัญพวกเขาจะเป็นประตูในการสื่อสารความคิดเห็นต่างๆกับพนักงานได้อีกด้วย
 
ข้อ 3. ถึงผมจะให้ความสำคัญกับ ?ผู้นำตัวจริง? อยู่บ้าง แต่กับ ?สุดยอดผู้นำ? ที่เราเคยเห็นความสำเร็จของเขามาก่อนเช่น แจ็ค เวลช์ แห่งจีอี หรือคาร์ลอส โกส์น แห่งนิสสัน ที่เป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนบริษัทผ่าวิกฤต ผมกลับไม่คิดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญนักในทุกวันนี้
 
ผมคิดว่าเราน่าจะผ่านเลยยุคที่มี ?สุดยอดผู้นำ? เพียงคนเดียวที่ตะลุยเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในบริษัทไปแล้ว แต่เข้าสู่ยุคที่ต้องใช้พลังของพนักงานทุกคนเป็นแรงขับเคลื่อน เพราะไอเดียของผู้นำไม่กี่คนเทียบไม่ได้กับไอเดียของพนักงานทั้งหมดที่หลอมรวมกัน
 
ที่สำคัญไอเดียของ ?สุดยอดผู้นำ? แต่ละคนในเวลานี้อาจก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงได้ หากเป็นไอเดียที่ไม่ได้องการทำงานจริงจากพนักงานที่ทำงานในด่านหน้า ซึ่งเขาจะรู้ปัญหาและข้อเท็จจริงต่างๆอย่างลึกซึ้ง
 
ข้อ 4. อย่าปล่อยให้ ?ปัญหานำการเปลี่ยนแปลง? โดยปล่อยให้เกิดปัญหาขึ้นเสียก่อนแล้วค่อยคิดหาทางเปลี่ยนแปลงบริษัทเพื่อแก้ไข เพราะหากทำอย่างนั้นจริง ก็คงไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแน่นอน
 
ดูตัวอย่างง่ายๆ จากบริษัทพลังงานทั้งหลาย โดยเฉพาะปตท. ของบ้านเราที่ผมเชื่อว่าเขาคงไม่รอให้น้ำมันหมดโลกเสียก่อนแล้วค่อยมาปรับตัวหาธุรกิจใหม่แน่นอน เพราะทุกบริษัทล้วนมีแนวทางของตัวเองในการเสาะหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต
 
สำหรับธุรกิจทั่วไปก็ต้องหาทางคิดว่าจะทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้ได้อย่างไร เพราะหากปล่อยบริษัทให้เดินไปอย่างสบายๆ ก็คงต้องไปสะดุดกับวิกฤตต่างๆเข้าสักวันเพราะสบายจนเคยชิน แต่หากพนักงานปรับตัวอย่างต่อเนื่องก็ย่อมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกรูปแบบ
 
ข้อสุดท้าย ต้องรู้จักพึ่งพาพลังของ ?คนรุ่นใหม่? เพราะเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้เกิดมาพร้อมเครื่องไม้เครื่องมือสมัยใหม่ทั้ง IT ทั้ง Internet ที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการติดต่อสื่อสารได้มากมาย
 
เด็กรุ่นใหม่เหล่านี้เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติเพราะความรวดเร็วของเทคโนโลยีและข่าวสารรอบตัวเขาที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตร หลายๆคนจึงปรับตัวได้เร็วกว่าคนรุ่นเก่า เพราะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆได้เร็วกว่า
 
แต่ข้อเสียของเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้ก็คือความกล้าๆกลัวๆ เพราะแม้จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือได้คล่อง แต่ก็ยังไม่รู้เรื่องการรับมือกับลูกค้า หรือการบริการ ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่เราที่ต้องสอนให้เขาได้คุ้นเคยกับเรื่องเหล่านี้
 
ทั้ง 5 ข้อนี้น่าจะเป็นแนวทางให้เราได้หาทางปรับตัวได้บ้าง ไม่ว่าจะปรับเพื่อลูกค้าในวันหน้า หรือเพื่อตลาดอนาคตซึ่งการรีบปรับเสียแต่วันนี้ย่อมดีกว่าการจำเป็นต้องปรับเพราะเกิดวิกฤตเสียก่อน เพราะนั่นเท่ากับว่าเราจะเหลือแนวทางให้เลือกแค่ทางเดียวคือปรับเพื่ออยู่รอดเท่านั้น
 ujn