-->

ผู้เขียน หัวข้อ: คิดเพื่อชนะ  (อ่าน 466 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

don

  • บุคคลทั่วไป
คิดเพื่อชนะ
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2008, 05:06:46 »

การจะเป็นผู้แพ้ หรือผู้ชนะในโลกธุรกิจดูเหมือนจะมีแค่เส้นบางๆ เป็นตัวแบ่ง เพราะหลายๆ ครั้งเราจะเห็นผู้ชนะแตกต่างจากคู่แข่งก็แค่มุมมองหรือแค่ประเด็นเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่แค่นี้ก็มากพอแล้วที่จะยัดเยียดความพ่ายแพ้ให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง



ผู้อ่าน ?บิสิเนสไทย? ทุกท่านคงเห็นด้วยกับผมนะครับ ว่าบางครั้ง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้าม อาจเป็นความแตกต่างที่สร้างความสำเร็จให้กับตัวเราได้ ซึ่งผมรวบรวมประเด็นต่างๆ ไว้ได้ 5 ข้อเอามาฝากทุกท่านในวันนี้

1. มุมมองที่แตกต่าง ไม่ใช่แค่คิดไม่เหมือนคนอื่น แต่เป็นมุมมองแบบ Global Sense ที่รู้จักใช้กระแสโลกให้เป็นประโยชน์ ซึ่งมีตัวแปรใหญ่ๆ ที่เราต้องจับตาดูอยู่ไม่กี่ตัว เช่น เรื่องพลังงาน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม

2.ไวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยต้องฝึกตนเอง ให้เกิดความรู้สึกเหมือนมีปรอทติดตัวตลอดเวลา ต้องมีความสามารถจะวัดความแตกต่างของประเทศ ความแตกต่างของบริษัท และความแตกต่างระหว่างเรากับคนอื่น เพราะในวันนี้คู่แข่งของเรามาจากทั่วโลกและบางครั้งก็มองไม่เห็น

ในระดับบุคคล ต้องดูให้กว้างในสายอาชีพนั้นๆ ในประเทศว่าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จะชนะคนอื่นได้หรือไม่ ต้องมีความรู้อะไรจึงจะชนะ ส่วนในระดับบริษัท ต้องดูว่าตลาดโลกเปลี่ยนไปอย่างไร บริษัทที่ทำธุรกิจนั้นๆ มีกลยุทธ์การบริหารอย่างไร เราจะแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่

ผู้ชนะต้องมีปรอทวัดวัดความเปลี่ยนแปลงติดตัวตลอด มีการเปรียบเทียบตลอดว่าเราต่างกับคู่แข่งอย่างไร สามารถเสริมสร้างขึ้นมาได้หรือไม่ ถ้าเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน ขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน กลยุทธ์เราดีกว่าหรือไม่ ต้องสร้างความแตกต่างที่มีอยู่ให้มีความพร้อมเสมอ ซึ่งทุกคนต้องทำเหมือนกันเพื่อพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น

3.คิดได้หลายมิติ มีตรรกะที่ดีและเป็นไปได้ ไม่ใช่คิดแบบเพ้อฝันคือสวยหรูแต่ทำไม่ได้ เรื่องหลายมิตินี้อาจเห็นได้ชัดในรัฐบาลที่ต้องหาทางบาลานซ์ความสัมพันธ์กับทั่วโลกเช่น อเมริกากับเอเชียเป็นอย่างไร อเมริกากับยุโรปเป็นอย่างไร อเมริกากับตะวันออกกลางเป็นอย่างไร

ในการบริหารบริษัทก็เช่นเดียวกัน วันนี้เราค้าขายกับใคร ตลาดที่ใหญที่สุดในอดีต คือ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น แต่วันนี้มีเอเชีย ซึ่งต้องกระจายต่อไป
มีประเทศที่น่าค้าขายมากอีกหลายประเทศ เรามีความพร้อมที่จะเข้าไปหรือไม่

โดยสรุปคือ ไม่ว่าจะเป็นระดับไหน ทั้งเรื่องใหญ่ระดับประเทศ หรือบริหารบริษัท ไปจนถึงเรื่องส่วนตัว จะคิดหรือตัดสินใจโดยใช้ตัวแปรตัวเดียวไม่ได้ แต่ต้องคิดในหลายๆ มิติให้รอบคอบ ต้องคิดเป็น Multi Dimension และ Multi Factor จึงจะป้องกันตัวเราได้

4.ไม่หลงกับความสำเร็จเดิมๆ เพราะจะทำให้ไม่กล้าคิด ไม่กล้าปฏิวัติตัวเอง หรือไม่มองผลระยะยาว เช่นลองคิดนวัตกรรมมาทำตลาดสินค้าใหม่ แต่ให้เวลาแค่ 2-3 เดือน ถ้าไม่ได้ผลก็ยกเลิกเสีย สุดท้ายแล้วเราก็มีแต่ไอเดียดีๆ ที่ไม่มีผล และไม่มีอะไรสำเร็จ

เช่น มัตสุชิตะ เจ้าของบริษัท Panasonic ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ เคยพบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่เมื่อหลายปีมาแล้ว แต่สุดท้ายก็รอดได้เพราะแนวคิดที่ว่า ?นอกเหนือจากปรัชญาแล้ว ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงได้? จากขาดทุนจึงกลับมากำไรได้

หรือบริษัท IBM ที่เดิมเป็นบริษัทไอทีที่ผลิตทำการวิจัยในเรื่องการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ Mainframe ถึงเครื่อง PC แต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมากจึงผันตัวเองมาทำธุรกิจบริการ ซึ่งทำรายได้ถึงกว่า 50% ในทุกวันนี้

5.ต้องมีจิตวิญญานในการเป็นนักคิด และต้องรู้จักถ่อมตัว รักสิ่งที่ทำอยู่ รวมถึงต้องขอบคุณสิ่งที่มีอยู่ โดยอย่าลืมว่าเราได้มาเพราะคนอื่นให้ จึงต้องรักคนที่ทำให้เราเจริญ รักบริษัทที่เราทำอยู่ รักประเทศที่เราอยู่ด้วย ในที่สุด ส่วนบุคคล บริษัท และประเทศ ทุกคนคิดแบบเดียวกัน ทุกคนก็ย่อมเป็นผู้ชนะได้เหมือนๆ กัน