-->

ผู้เขียน หัวข้อ: ทองคำ (gold)  (อ่าน 1164 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

labk1200

  • บุคคลทั่วไป
ทองคำ (gold)
« เมื่อ: 08 มีนาคม 2009, 20:28:32 »

คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์    มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

เปอร์เซ็นต์ทอง
ในตลาดโลกมาตราฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ดีที่สุด    ในขณะนี้อยู่ที่      99.99 %  หมายความว่า      ในตลาดมาตราฐานโลกคิดว่า     สามารถทำความบริสุทธิ์ของโลหะได้สูงสุด คือมีสิ่งแปลกปลอม    1    ส่วนใน   10,000   ส่วน      นั่นคือ มีความบริสุทธิ์ที่    9999   ใน 10,000   ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ถือว่า     ดีมากที่สุดในขณะนี้       ถ้าเทียบกับใน 9995  ใน 10,000  คือ มีความบริสุทธิ์น้อยกว่าในปัจจุบัน 
สำหรับมาตราฐานเปอร์เซ็นต์ทองคำในประเทศไทย     เราใช้ทองคำ 96.5 %   โดยการใส่เม็ดเงินบริสุทธิ์เข้าไป    3.5 %   ในทองคำ   99.99

มาตรฐาน K
มาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ที่จะใช้ผลิตทองรูปพรรณ   ในแต่ละประเทศค่อนข้างจะต่างกัน  เช่น     ในมาเลเซีย    นิยมใช้ความบริสุทธิ์  18  K.  ,   ในยุโรปใช้ความบริสุทธิ์  14 K.   , ในส่วนอินโดบางส่วนก็นิยมความบริสุทธิ์ที่ 21 k. 
KARAT  GOLD     เป็นอีกหน่วยวัดหนึ่งแทนคำว่าเปอร์เซ็นต์    โดยที่ 24 k. จะมีความบริสุทธิ์เท่ากับทองคำ 99.99  %  ดังนั้น   ความบริสุทธิ์ที่  18 k.    จะเท่ากับความบริสุทธิ์ประมาณ 75 % 
นั้นคือ  1  KARAT   ประมาณเท่ากับ   4.166  %
ความต้องการใช้ทองคำ Demand of Gold
ความต้องการใช้ทองคำแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ ความต้องการใช้จริงๆในเชิงพาณิชย์ นั้นคือพวกเครื่องประดับ สร้อย แหวน หรือแม้แต่โถส้วมทองคำ ฯลฯ นั่นเอง และความต้องการในได้ทองมาเพื่อการลงทุน ลองมาดูตัวเลขกัน ก่อนจะเล่าต่อไป ข้อมูลปี 2002  ( จากหนังสือ คู่มือเล่นทอง)

เครื่องประดับ 2698   ตัน
เพื่อการลงทุน 803 ตันเพื่อการลงทุน จะเป็น ทองแท่ง, เหรียญ  เป็นต้น
อื่นๆ ( อิเล็กทรอนิค, อวกาศ, อุตสาหกรรม) 486 ตัน



แนะว่าอย่าเล่นตลาดล่วงหน้า น่ากลัวสุดๆ ;lkjn

ZOIDS

  • บุคคลทั่วไป
Re: ทองคำ (gold)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 10 มีนาคม 2009, 09:48:26 »

ความรู้ทั้งน้าน  ijn

จะลงเรื่อง เพชรด้วยมะครับ

อยากรู็เรื่องเกรดเพชรจังเลย  urhys

3p

  • บุคคลทั่วไป
Re: ทองคำ (gold)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 10 มีนาคม 2009, 13:08:20 »

ความรู้ทั้งน้าน  ijn

จะลงเรื่อง เพชรด้วยมะครับ

อยากรู็เรื่องเกรดเพชรจังเลย  urhys
จาเอาไปหมั้นนู๋เติ้ล หละสิ  ujn
รักจิงหวังแต่งนะเนี่ย

ZOIDS

  • บุคคลทั่วไป
Re: ทองคำ (gold)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 12 มีนาคม 2009, 08:12:32 »

ใครว่า เขิน

3p

  • บุคคลทั่วไป
Re: ทองคำ (gold)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 13 มีนาคม 2009, 13:37:52 »

ทองรูปพรรณไทยในตลาดโลก   
รายงานโดย :สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน): วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ทองคำมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยความที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่สำคัญ กล่าวคือ มีความสวยงามในการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ มีความเงางาม

คงทนต่อการมัวหมองและการแตกหัก มีความเหนียวและยืดหยุ่น นำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ง่าย และยังมีคุณค่าในตัวของมันเอง ซึ่งทำให้ทองคำได้รับบทบาทในการใช้เป็นสินทรัพย์ (Asset) รวมถึงทุนสำรองระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับบทบาทของการเป็นเครื่องประดับอีกด้วย 

ประเทศไทยเองก็มีประวัติของการผลิตทองคำเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับมายาวนาน โครงสร้างการผลิตเครื่องประดับทองคำในประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมรายย่อยภายในครัวเรือน ร่วมกับผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีโรงงานของตัวเอง หรืออาศัยการจ่ายงานให้กับผู้ผลิตรายย่อยเหล่านั้น โดยมีตลาดหลักที่รองรับอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ

หนึ่ง เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการผลิตในส่วนนี้จะเป็นภาคการผลิตตามคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตและรูปแบบของสินค้า ตลอดจนมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำ (Fineness) ตามเกณฑ์ของประเทศผู้สั่งซื้อ ซึ่งทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีมาตรฐานสูงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับในส่วนที่ 2 คือ ภาคการผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศ ซึ่งค่อนข้างที่จะมีเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ

ตลาดในประเทศจะนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีลักษณะเป็นทองคำล้วน หรือทองรูปพรรณความบริสุทธิ์ 96.5% หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า ?ทองตู้แดง? (ตั้งชื่อตามสีของตู้โชว์ในร้านจำหน่ายทอง) หรือ ?ทองเยาวราช? (ตั้งชื่อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งจำหน่ายทองรูปพรรณ 96.5% ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด)

ทองชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาจากช่างทองชาวจีน บนพื้นฐานของค่านิยมทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีสีเหลืองสุกสว่างสวยงาม คงทนแข็งแรงพอสมควร จึงมาลงตัวที่ 96.5% ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นระบบกะรัต หรือ K (เช่น 18 K = ทอง 75%) โครงสร้างการผลิตและจำหน่ายทองรูปพรรณในส่วนนี้จะมีลักษณะของการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือที่เรียกว่า ?ร้านค้าส่ง? จำนวนหนึ่ง นำเข้าทองคำความบริสุทธิ์สูง 99.99% จากต่างประเทศมาแปรรูปให้เป็นทอง 96.5% แล้วแจกจ่ายให้กับผู้ผลิตรายย่อยที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน

เมื่อผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปกระจายให้กับร้านค้าปลีกที่มีอยู่กว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป ลักษณะการผลิตทองรูปพรรณชนิดนี้ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นงาน Hand-Made ที่อาศัยฝีมือช่างเป็นหลัก จึงสามารถสร้างสรรค์ลวดลายให้มีความวิจิตรสวยงาม และมีรูปแบบหลากหลายได้มากกว่าการใช้เครื่องจักร ประกอบกับการมีกลไกการประกันราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่อยู่ในระดับสูง จึงทำให้ทองรูปพรรณชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงมากภายในประเทศ เพราะผู้บริโภคได้ประโยชน์ทั้ง 2 ด้าน คือ เป็นเครื่องประดับ และเป็นสินทรัพย์ไปพร้อมๆ กัน

ถึงแม้ทองรูปพรรณ 96.5% นี้จะมีความโดดเด่นที่เป็นข้อดีอยู่ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลายและยอมรับกันในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับนานาชาติ ประการแรกคือ เรื่องของระดับความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5% ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นระบบ K (96.5% เทียบเท่ากับ 23.16 K)

ประการต่อมาคือ การที่ทองรูปพรรณชนิดนี้ใช้ฝีมือคนทำเป็นหลักในการสร้างสรรค์ลวดลายและรูปแบบให้สวยงาม มีชิ้นส่วนปลีกย่อยและรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงทำให้ต้องมีการใช้น้ำประสานทอง (Solder) ที่มีความบริสุทธิ์ของทองคำต่ำกว่าเกณฑ์ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันค่อนข้างมาก ทำให้เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะพบว่า ค่าความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นไม่ได้เป็นไปตามค่า 96.5% ตามที่ระบุ ซึ่งในประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของทองต่ำกว่ามาตรฐานมากในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายการทำ Hallmark หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับทองคำโดยตรงเหมือนในประเทศอื่นๆ แต่ด้วยความร่วมมือของผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานทองรูปพรรณและแก้ปัญหาทองต่ำกว่ามาตรฐานมาได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว

ถ้าถามว่าในขณะนี้ทองคำไทยแข่งขันกับทองคำในตลาดโลกได้หรือไม่ ตอบได้ทันทีเลยว่า ในแง่ของรูปแบบ Design ความสวยงาม แข่งขันได้ไม่เป็นรองใคร แต่อาจยังต้องการปัจจัยการส่งเสริมด้านการผลิตและการควบคุมมาตรฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าระดับสากล โดยเฉพาะในแง่ของการนำระบบ Hallmark เข้ามาใช้ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความแตกต่าง ความสวยงาม และความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของทองคำไทยในระดับนานาชาติ
 kjhgf

ZOIDS

  • บุคคลทั่วไป
Re: ทองคำ (gold)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 15 มีนาคม 2009, 13:25:55 »

ขอบคุณพี่ 3p มากครับ สำหรับข้อมูล  urhys