-->

ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อนแท้  (อ่าน 1502 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mommamman

  • บุคคลทั่วไป
เพื่อนแท้
« เมื่อ: 05 กันยายน 2007, 17:03:26 »

เพื่อนทั่วไปไม่เคยเห็นคุณร้องไห้          เพื่อนแท้มีหัวไหล่ไว้คอยซับน้ำตาคุณ
 
เพื่อนทั่วไปจะไม่รู้ชื่อพ่อแม่ของคุณ           เพื่อนแท้จะมีเบอร์ของท่านไว้ในสมุดจดโทรศัพท์ของเขา

เพื่อนทั่วไปจะถือขวดไวน์ติดมือมางานปาร์ตี้ของคุณ          เพื่อนแท้จะมาแต่วันเพื่อช่วยเตรียมงาน

เพื่อนทั่วไปอยากคุยกับคุณถึงปัญ­หาของเขา          เพื่อนแท้อยากช่วยปัดเป่าปัญ­หาของคุณออกไป

เพื่อนทั่วไปจะพิศวงในเรื่องโรแมนติกเก่าๆ          เพื่อนแท้สามารถเอาเรื่องนี้มาอำคุณได้

เพื่อนทั่วไปเวลามาเยี่ยมคุณจะทำตัวเยี่ยงแขก          เพื่อนแท้จะตรงรี่ไปเปิดตู้เย็นและบริการตนเอง

เพื่อนทั่วไปคิดว่ามิตรภาพจบลงเมื่อเกิดการทะเลาะถกเถียง          เพื่อนแท้รู้ดีว่านั่นจะมิใช่มิตรภาพ จนกว่าคุณได้เคยวิวาทกัน

เพื่อนทั่วไปคาดหวังให้คุณอยู่เคียงข้างเขาเสมอ          เพื่อนแท้คาดหวังที่จะอยู่เคียงคุณตลอดไป

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 05 กันยายน 2007, 17:37:18 »

มิตรแท้
องค์สมเด็จพระชินศรีทรงแนะนำว่า มิตรที่แท้จริงมี ๔ จำพวกคือ
๑.   มิตรที่มีอุปการะ
๒.   มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓.   มิตรแนะนำประโยชน์
๔.   มิตรที่มีความรักใคร่
สำหรับมิตร ๔  อย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านอธิบายไว้ชัด ท่านอธิบายไว้เลยว่า

มิตรที่มีอุปการะ
มิตรที่มีอุปการระมีลักษณะ 4 อย่าง คือ
(๑)   ป้องกันเพื่อน ผู้ประมาทแล้ว
หมายความว่า  เขาเห็นเราจะเพลี่ยงพล้ำหรือขาดทุนพลาดท่าในลักษณะใดก็ตาม เห็นท่าไม่ดี พยายามป้องกันตักเตือนทุกอย่าง ใครจะเข้ามาประหัตประหารทำร้าย เขาจะเข้ามาป้องกันด้วยชีวิต ถ้าเรายากจนเข็ญใจ จะพลาดพลั้งประการใด เขาจะเข้ามาประคับประคอง อันนี้เป็นมิตรดี
(๒)   ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อน ผู้ประมาทแล้ว
นั้นป้องกันกันตัวนะ อันนี้ป้องกันทรัพย์ เวลานอนหลับ ขโมยขโจรจะเข้ามาปล้นจะเข้ามาลัก ถ้าเขาทราบเขาจะป้องกันทันที
(๓)   เมื่อมีภัยมา เป็นที่พึ่งพากันได้
หมายความว่า ถ้าจะมีภัยอะไรก็ตาม เขาจะยอมพลีตัวเขาทุกอย่างเพื่อเรา
(๔)   เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
หมายความว่า เพื่อนเอ๋ย...ฉันขาดเงินอยู่บาท  เจ้าหนี้เขามาทวง ถ้าเขามีมาก เอาไปเพื่อน ๑๐ บาทก็แล้วกันนะ ไอ้ ๑ บาทเอ้าไปใช้หนี้ อีก ๙ บาทเอาไปซื้อกินซื้อใช้ จนกว่าจะหามาได้ก็ค่อยมาให้กัน หรือว่าไม่มีก็ไม่เป็นไร ของเท่านี้เราช่วยกันได้ แม้แต่ชีวิตเรายังสละได้ นี้อาการอย่างนี้เขาเรียกว่ามิตรที่มีอุปการะ
 
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านบอกว่ามีลักษณะ ๔ อย่างคือ
(๑)   ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
หมายความว่าเขาเป็นมิตรจริงๆ แม้จะมีอะไรลึกลับอยู่ไม่มีการปิดบัง  บอกกันตรงไปตรองมาเสมอ
(๒)   ปกปิดความลับของเพื่อน ไม่ให้แพร่งพรายออกไป
หมายความว่า สิ่งใดที่เพื่อนมีความลับไม่ควรจะเปิดเผย เขาจะปกปิด ใครจะถามจะมาจ้าง จะมาวาน จะมาเข่นจะมาฆ่า เขาจะไม่ยอมเปิด
เรื่องนี้ถ้าเราถอยหลังไปถึงประวัติศาสตร์ เราจะทราบชัดว่าคนไทยสมัยก่อน ๆ นี้ ที่ทรงชาติได้ดีก็เพราะลักษณะ อย่างนี้เป็นสำคัญ
(๓)   ไม่ละทิ้งกันในยามวิบัติ
หมายความว่า ถ้าเราเกิดความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น อย่างมีอุทกภัยน้ำท่วม วาตภัยพัดบ้านพัง สมบัติพัง ไฟไหม้บ้าน โจรปล้น ความวิบัติเกิดขึ้น ทรัพย์สินมันไม่มี เขายอมพลีเสียสละช่วยเหลือเสมอ
(๔)   แม้แต่ชีวิตก็อาจสละแทนได้
เขาอาจจะยอมตายแทนเราเมื่อภัยใหญ่มาถึง มิตรอย่างนี้เรียกว่ามิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ควรจะคบหาคบไว้ เรามีน้อยก็ยังดีกว่ามีเพื่อนที่ไม่ใช่มิตร เรามีมิตรแท้คนเดียวดีว่ามีมิตรเทียม ๆ หลายแสนคน ไอ้มิตรเทียม ๆ หลายแสนคนนั้นแต่ละคนมันก็ให้ความทุกข์ มี ๑๐ คนก็ให้ความทุกข์ ๑๐ คน มี ๑๐๐ คนมันก็ให้ความทุกข์ ๑๐๐ คน ถ้าเรามีมิตรที่ดี ๑ คนเราจะมีความสุขตลอดชีวิต  ฉะนั้นจงเลือกคบแต่มิตรที่ดี
 
มิตรที่แนะนำประโยชน์
ท่านบอกมีลักษณะ ๔ คือ
(๑)   ห้ามทำความชั่ว  ความชั่วนี้เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าอะไรมันชั่ว
(๒)   แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
(๓)   ให้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง
(๔)    บอกทางสวรรค์  คือทางของความสุขให้
ทางสวรรค์หมายความทางใดที่เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข ความร่ำรวย ความปลอดภัย ความเป็นที่รักแก่คนทั้งหลาย เราเรียกกันว่าเป็นทางสวรรค์
นี้มิตรแนะนำประโยชน์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระทรงแนะนำว่าควรคบหาเข้าไว้ อย่าละทิ้ง
 
มิตรที่มีความรักใคร่
มี ๔ ลักษณะเหมือนกันคือ
(๑)         เวลานี้เราทุกข์ เขาก็ยอมจะทุกด้วย  คือไม่ทิ้งเรา
(๒)         เวลาเรามีความสุขเขาก็สุขด้วย
หมายความว่ารื่นเริงหรรษาเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
(๓)         โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน
หมายความว่า ถ้าเรานี่ถูกใครเขาติเตียนไม่ตรงกับความเป็นจริง เขาจะโต้ตอบทันที
(๔)         รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน

หมายความว่า ถ้ามิตรที่ดีเขาจะป้องกันเราไว้เสมอ
 
เป็นอันว่ามิตร ๔ ประการนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงแนะนำว่า ต้องควรคบแสวงหาไว้
ถ้าหากว่าเขาถามว่า เราเลือกคนดีประเภทนี้ไม่ได้ เราจะทำอย่างไร  ก็ควรจะตัดสินใจว่า ไม่คบใครเสียเลยดีกว่า ถ้าไปคบคนชั่วก็ไปสร้างความทุกข์ให้เรา ถ้าคบคนดีมีความสุข ถ้าหาคนดีไม่ได้มีแต่คนชั่ว  เราไม่คบเสียเลยอยู่ตัวคนเดียวดีกว่า เมื่อมันจะทุกข์ก็ทุกข์เฉพาะตัวของเราเอง ไม่ใช่คนอื่นมาสร้างความทุกข์ให้.

จากหนังสือ"ธรรมปฏิบัติ" เล่ม ๑๐
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร)
วัดจันทาราม (ท่าซุง) ต.น้ำซึม จ.อุทัยธานี

JuNeO

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 05 กันยายน 2007, 17:42:44 »

ได้อ่าน อัตตชีวประวัติของท่าน (หลวงพ่อ ฤาษี ลิงดำ) ตอนอยู่ที่วัด อุโมงค์ เสียดายจริงๆ ที่ไม่ได้มีโอกาศไปนมัสการท่านขณะยังมีชีวิต

ตา โนบอดี้ล่ะ ไปนมัสการท่านมาละยังคับ อยากเห็นจัง กะ วิหาร 100 เมตร  :(

mommamman

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 05 กันยายน 2007, 18:08:42 »

ได้อ่าน อัตตชีวประวัติของท่าน (หลวงพ่อ ฤาษี ลิงดำ) ตอนอยู่ที่วัด อุโมงค์ เสียดายจริงๆ ที่ไม่ได้มีโอกาศไปนมัสการท่านขณะยังมีชีวิต

ตา โนบอดี้ล่ะ ไปนมัสการท่านมาละยังคับ อยากเห็นจัง กะ วิหาร 100 เมตร  :(

อุทัยธานี ใช่ไหมท่านจูน

JuNeO

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 05 กันยายน 2007, 18:16:50 »

อุทัยธานี ใช่ไหมท่านจูน


ครับ ป๋ามอมแมม

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 05 กันยายน 2007, 22:28:53 »

หลวงพ่อท่านมรณภาพไปตั้งแต่ปี ๓๕ แล้วครับ
เท่าที่จำความได้ ผมก็ไม่ทันท่านเหมือนกันครับพี่จุน

แต่ถ้านำธรรมะที่ท่านสอนไว้ ไปปฏิบัติ
ผมคิดว่าท่านน่าจะพอใจมากกว่าที่เราไปกราบท่าน แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมนะครับ

หากพี่มีเวลาและสนใจ ลองไปหาธรรมะของท่านได้ที่นี่ครับ
http://thaisquare.com/Dhamma/
http://praruttanatri.com/
http://luangpor.com/

แต่สังขารของท่านก็ยังอยู่ที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรนั่นแหละครับพี่

JuNeO

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 06 กันยายน 2007, 05:26:17 »

หลวงพ่อท่านมรณภาพไปตั้งแต่ปี ๓๕ แล้วครับ
เท่าที่จำความได้ ผมก็ไม่ทันท่านเหมือนกันครับพี่จุน

แต่ถ้านำธรรมะที่ท่านสอนไว้ ไปปฏิบัติ
ผมคิดว่าท่านน่าจะพอใจมากกว่าที่เราไปกราบท่าน แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมนะครับ

หากพี่มีเวลาและสนใจ ลองไปหาธรรมะของท่านได้ที่นี่ครับ
http://thaisquare.com/Dhamma/
http://praruttanatri.com/
http://luangpor.com/

แต่สังขารของท่านก็ยังอยู่ที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรนั่นแหละครับพี่


น่าขนลุกนะ ตาโนบอดี้ ผมอ่านชีวประวัติท่าน ตอนนั้น รู้ได้เลยว่า ท่านได้อรหันต์จริงๆ

ธรรมะของท่านเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เรื่องราวของท่านเป็นที่อัศจรรย์ใจ

สักวันผมต้องไป กราบท่านให้ได้ครับ :(

Wunsen

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 06 กันยายน 2007, 14:15:20 »

อามิดตาพุด  workz

seawjang

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 06 กันยายน 2007, 15:21:10 »

 pp7  โห กลายเป็นกระทู้ ธรรมะ ซะแล้ววว



 zuy ท่านจูน ครับ วันหลังถ้าท่านจะไป หรือ มีอะไร ธรรมะ ธัมโม อย่างนี้ ชวนผมด้วยนะครับ เรื่องอย่างนี้ ผมถนัดครับ  pp

JuNeO

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 06 กันยายน 2007, 15:32:37 »

คนเราถึงที่สุด ก้อต้องเข้าวัดครับ วันเกิด วันตาย วันที่เสียใจ ปลงชีวิตทางโลก ธรรมะ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวครับ

แม้สำหรับเราๆท่านๆที่เที่ยวๆกัน อย่างน้อยในจิตใจก็ยังเป็นชาวพุทธอยู่ แต่อย่างว่าครับ เป็นระยะๆที่คิดได้ อิ อิ  :-X

Nobody

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 07 กันยายน 2007, 17:02:05 »

น่าขนลุกนะ ตาโนบอดี้ ผมอ่านชีวประวัติท่าน ตอนนั้น รู้ได้เลยว่า ท่านได้อรหันต์จริงๆ

ธรรมะของท่านเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เรื่องราวของท่านเป็นที่อัศจรรย์ใจ

สักวันผมต้องไป กราบท่านให้ได้ครับ :(

ถ้าพี่จุนอยากฟังอะไรง่าย ๆ
ผมแนะนำ"ประวัติหลวงปู่ปาน"ครับ
ฟังง่าย สนุกดีครับ
(หรือจะไปอ่านที่นี่ก็ได้ครับ
http://putthapoom.com/history_pupan/history_pupan1.html )

แม้ว่า หลวงพ่อจะไม่อยู่แล้ว
แต่ผมก็ได้พบลูกศิษย์ของหลวงพ่ออยู่ ๒ ท่าน ที่ยังมีชีวิตอยู่
และสอนให้ผมเข้าใจได้ง่าย คล้าย ๆ กับที่หลวงพ่อท่านสอนครับ
(หาฟังธรรมะบางส่วนของท่านได้จาก luangpor.com ด้านขวามือครับ)

ท่านนึงจะมีหนังสือ"กระโถนข้างธรรมาสน์"อยู่ที่นี่ครับ
http://grathonbook.net/book/

ส่วนอีกท่าน เอาไว้ถ้าพี่จุนชอบฟังไฟล์ที่อยู่ใน luangpor.com
ผมจะให้ลิ้งค์เพิ่มเติมครับ

mammos69

  • บุคคลทั่วไป
Re: เพื่อนแท้
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 10 กันยายน 2007, 10:25:38 »

ทำไมท่านจู มี2บุคลิกที่ผสมผสานกันจนลงตัวอย่างนี้