-->

ผู้เขียน หัวข้อ: อสังหาวิพากษ์ภาษีมรดก กฎหมายนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด  (อ่าน 681 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

  • Administrator
  • เทพเจ้าราตรี
  • *
  • กระทู้: 18150
  • Country: th
  • คะแนนจิตพิสัย +9/-0
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • cmxseed

อสังหาวิพากษ์ภาษีมรดก กฎหมายนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ประเด็นร้อนที่สุดในวงการอสังหาฯตอนนี้คงไม่พ้นเรื่อง "ร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดก" และ "พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"
ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หยิบมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบ
ธุรกิจอสังหาฯ


ล่าสุดสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยจัดเวทีเสวนาสร้างความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อม
โดยมี "เสิศมงคล วราเวณุชย์" อุปนายกและเลขาธิการสมาคมฯ

ทองคำ-เพชรไม่เสียภาษี

เปิดประเด็นด้วยการให้ข้อมูลภาษีมรดก ที่เรียกเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกสุทธิเกินกว่า 50 ล้านบาท ในอัตราเดียว คือ 10%
โดยเก็บจากทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนหรือมีหลักฐานทางราชการที่พิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้ ได้แก่ เงินสด ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ส่วนทรัพย์สินที่เข้าข่ายไม่ต้องเสียภาษี เช่น เครื่องประดับ ทองคำ เพชร รูปภาพ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การเสียภาษียังนับ
รวมถึงการโอนทรัพย์สินให้ทายาทหรือผู้ได้รับมรดกก่อนเสียชีวิต 5 ปี

"เลิศมงคล" ให้มุมมอง ภาษีมรดกเป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บในเชิงสัญลักษณ์ของการลดความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายรายได้
เพราะไม่ได้มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก แต่อาจกระทบต่อแรงจูงใจการสะสมทรัพย์สินเพื่อสร้างความมั่งคั่งอยู่บ้าง

หวั่นเศรษฐีย้ายสินทรัพย์ไป ตปท.

เพราะโดยทั่วไปแล้ว การเก็บภาษีมรดกในอัตราสูง จะไม่จูงใจให้เกิดการออมทรัพย์สินและการลงทุน ทั้งอาจก่อให้เกิดการ
เคลื่อนย้ายทรัพย์สินบางอย่างไปไว้ในประเทศที่ไม่มีกฎหมายภาษีมรดก เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สวีเดน ฯลฯ เป็นต้น
เคยมีกรณีตัวอย่างที่ประเทศสิงคโปร์ยกเลิกการเก็บภาษีมรดก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินจากประเทศจีนและมาเลเซีย
เข้าสู่สิงคโปร์จำนวนมาก

นอกจากนี้ ภาษีมรดกอาจผลักดันให้บุคคลขายทรัพย์สินในกองมรดกที่มีมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาท ให้กับบริษัท
หรือนิติบุคคลที่มีลูกหลานถือหุ้นอยู่ แทนที่จะโอนให้เป็นมรดกโดยตรง เพื่อให้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแทนทายาท
และจะไม่ถูกนำมาคิดรวมเป็นกองมรดก


หวั่นเกิดปัญหาไม่มีเงินจ่ายภาษี

อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่าร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดกในปัจจุบันยังมีความคลุมเครือ อาทิ กรณีที่ได้รับมรดกเป็น "ที่ดิน"
แต่ผู้รับไม่มีเงินชำระภาษีได้ทั้งหมด ทางภาครัฐจะมีวิธีจัดเก็บภาษีอย่างไร หากจะต้องนำที่ดินแปลงนั้นมาขายทอดตลอด
เพื่อนำเงินมาจ่ายภาษี และระหว่างรอขายทอดตลาดจะต้องเสียภาษีที่ดินฯด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดกเป็นสัญญาณที่ดีว่าประเทศไทยจะมีระบบกระจายรายได้ที่ดีขึ้น อาจช่วย
ลดความเหลื่อมล้ำคนจน-คนรวย ภาครัฐจะมีรายได้มาพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนการหลีกเลี่ยงภาษีไม่เกิดผลดีในระยะยาว
เพราะหากมีการตรวจพบ ย่อมจะต้องจ่ายภาษีย้อนหลังและมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับ

credit :: prachachat.net
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่